การเงิน

ปรับขึ้นค่าไฟ 2566 สาเหตุค่าไฟแพงยังไม่จบ พ.ค. เดือนหน้า คนใช้เตรียมอ่วมต่อ

ค่าไฟแพง 2566 ปัญหาที่ประชาชนกำลังถกเดือด หลัง สาเหตุค่าไฟแพง มีข่าวไม่ทันไร่ เดือนหน้า กกพ. จ่อ ปรับขึ้นค่าไฟ งวด พ.ค.-ส.ค. เป็น 4.77 บาทต่อหน่วย ทำคนแห่ถามค่าไฟบ้านหน่วยละกี่บาทหลังประกาศขึ้นค่าไฟรอบใหม่

กลายเป็นแฮชแท็กที่ครองอันดับบนเทรนด์ทวิตเตอร์มาติดต่อกันหลายวัน สำหรับ #ค่าไฟ ที่เวลานี้บนโลกออนไลน์ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันหลังจากได้เห็นบิลค่าไฟบ้านในเดือนนี้พุ่งสูงขึ้นกว่าปกติ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของประชาชนคนใช้ไฟฟ้าที่พากันกลุ้มอกกลุ้มใจกับการต้องทุ่มเทแรงกายและหยาดเหงื่อในการหาเงินมาจ่ายค่าไฟรอบล่าสุด ที่ต้องยอมรับตามตรงหลังเกิดกระแสวิจารณ์ประเด็นค่าไฟขึ้นผิดปกตินั้น ก็ว่าน่าเห็นใจหนักมาแล้ว ปรากฏจากการรายงานข้อมูลล่าสุด โดย สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ซึ่งเคยออกมาประกาศปรับขึ้นค่าไฟฟ้า ในงวดเดือนพ.ค. – ส.ค.2566 โดยได้มีการแจ้งให้ประชาชนรับทราบโดยทั่วกันไปแล้วหนหนึ่ง

มาวันนี้ กกพ. ก็ได้ชี้แจงผลมติในที่ประชุมภายหลังเห็นชอบค่าเอฟทีเป็นอัตราเดียวกันสำหรับบ้านที่อยู่อาศัย และผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่นๆ เท่ากับ 98.27 สตางค์ต่อหน่วย ทำให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 4.77 บาทต่อหน่วย

โดย กกพ. ได้พิจารณาหนังสือยืนยันจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ถึงความเหมาะสมของอัตราค่าไฟฟ้า 4.77 บาทต่อหน่วยแล้ว

ทั้งนี้ ค่าเอฟที งวด ม.ค.-เม.ย. 66 สำหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยอยู่ในระดับ 93.43 สตางค์ต่อหน่วย หรือเฉลี่ยรวมที่อัตรา 4.72 บาทต่อหน่วย

ส่วนผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทอื่น (ได้แก่ประเภทธุรกิจ อุตสาหกรรม บริการ) อยู่ที่ 154.92 สตางค์ต่อหน่วยหรือเฉลี่ยที่ 5.33 บาทต่อหน่วย

ขณะที่ บิลค่าไฟในงวดใหม่ (พ.ค.-ส.ค. 66) จะเป็นอัตราเดียว ทำให้ค่าไฟประเภทบ้านที่อยู่อาศัยปรับขึ้นเล็กน้อยเพียง 0.05 บาทต่อหน่วย ขณะที่ภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม ฯลฯ จะปรับลดลง 0.56 บาทต่อหน่วย

ตรงนี้ แม้มีเสียงความเห็นเรื่องค่าไฟในรอบบิลหน้าอาจไม่เพิ่มขึ้นมากเท่าใดนัก หากเทียบกับเดือนเมษายนี้ที่ปัจจัยทำค่าไฟแพงเพราะอากาศร้อนอบอ้าวอย่างหนัก ทว่าผู้ใช้ไฟส่วนใหญ่ก็ไม่มีใครวางใจเมื่อสังเกตุจากการสำรวจความเห็นในแฮชแท็ก #ค่าไฟ ที่จนถึงตอนนี้ก็ยังมีผู้คนเข้ามาวิภาควิจารณ์ในหลายๆ ประเด็นที่ส่งผลให้ประชาชนต้องมานั่งวิตกกับค่าพลังงานที่นำไปใช้ในระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีหน่วยวัดเป็นวัตต์ชั่วโมง (Wh) หรือยูนิต.

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button