การเงิน

รายได้หลังเกษียณ – เกษียณแล้วหาเงินได้จากทางไหน, มีอะไรกันบ้าง

ในวันนี้ ทาง The Thaiger จะพาไปดูกันกับประเด็นในส่วนของ รายได้หลังเกษียณ สำหรับผู้ที่ใกล้ถึงเวลา หรือเข้าสู่ช่วงเกษียณ ให้ได้ทราบว่าจะมีช่องทางไหนบ้าง

(24 พ.ค. 2565) The Thaiger จะมานำเสนอข้อมูลภายในประเด็นของ รายได้หลังเกษียณ ที่ถือว่าเป็นหัวข้อที่สำคัญสำหรับผู้ที่ใกล้เข้าสู่ช่วงวัยเกษียณอายุ เพื่อที่จะเตรียมตัวกับช่วงเวลาที่จะมาถึง และสำหรับผู้ที่เข้าสู่ช่วงวัยดังกล่าวแล้ว เพื่อที่จะได้หารายได้เพิ่มเติมภายในช่วงเวลาที่ว่านี้

ช่องทางในการสร้างรายได้หลังช่วงเวลาเกษียณอายุนั้น ก็ด้วยกันหลากหลายรูปแบบ โดยตัวอย่างที่น่าสนใจก็ดังต่อไปนี้

1. การออมเงินไว้ในธนาคาร

วิธีการพื้นฐานสำหรับผู้ที่เตรียมพร้อมสำหรับการเกษียณ โดยวิธีการดังกล่าวถือว่ามีความเสี่ยงที่ต่ำที่สุด เพราะเป็นการฝากเงินทิ้งไว้ในบัญชีธนาคารเพื่อเก็บสะสมดอกเบี้ย – ดอกเบี้ยทบต้น และสามารถดำเนินการได้อย่างหลากหลาย แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือการจัดสรรเงินออมไว้ก่อน ที่จะดำเนินการใช้จ่ายต่าง ๆ เพื่อกันไม่ให้เงินออมที่วางไว้สูญหายระหว่างทาง

2. การทำประกันชีวิต

เป็นอีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่น่าสนใจ ซึ่งประกันชีวิตนั้น ถือว่าเป็นสินทรัพย์ที่มีความแน่นอนในการให้ผลตอบแทนต่อปี สามารถทำการวางแผนทางการเงินได้ และให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมไปการคุ้มครองชีวิตด้วย ทำให้การเลือกทำประกันชีวิตแบบคุ้มครองระยะยาว ถือว่าทางเลือกที่มีความปลอดภัยต่อทั้งทางการเงิน และชีวิตของเราด้วย

3. เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

ถือว่าเป็น Passive Income จากรัฐบาลสำหรับผู้ที่เกษียณอายุก็ว่าได้ โดยเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุนั้นถือว่าเป็นสิทธิที่ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และอยู่ในวัยเกษียณจะได้รับแบบต่อเนื่องไปจนกระทั้งเสียชีวิต แต่ทั้งนี้แล้วจะต้องไม่มีการได้รับสิทธิประโยชน์จากหน่วยงานของรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ เช่น เงินบำนาญ เบี้ยหวัด บำนาญพิเศษ ซึ่งจำนวนเงินที่ได้รับจะแบ่งไปตามช่วงวัยดังนี้

  • อายุ 60 – 69 ปี รับเงิน 600 บาทต่อเดือน
  • อายุ 70 – 79 ปี รับเงิน 700 บาทต่อเดือน
  • อายุ 80 – 89 ปี รับเงิน 800 บาทต่อเดือน
  • อายุ 90 ปีขึ้นไป รับเงิน 1,000 บาทต่อเดือน

4. กองทุนบำเหน็จบำนาญ

ในกรณีสำหรับผู้ที่เป็นข้าราชการนั้น จะมีโครงการกองทุนบำเหน็จบำนาญที่จะกองทุนสำหรับข้าราชการที่เข้าสู่เกษียณอายุงานแล้ว โดยกองทุนดังกล่าวมีสิทธิในการรับด้วยกัน 3 แบบ

  • เงินบำเหน็จ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) / กรณีเป็นสมาชิก กบข.(ตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
  • เงินบำนาญ = เงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) หารด้วย 50 ผลลัพธ์คือเงินรายเดือนที่จะได้รับจนกระทั่งเสียชีวิต / กรณีไม่เป็นสมาชิก กบข.(ตาม พรบ.กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ)
  • เงินบำนาญ = เงินเดือนเดือนสุดท้าย x อายุราชการ (ปี) หารด้วย 50 ผลลัพธ์คือเงินรายเดือนที่จะได้รับจนกระทั่งเสียชีวิต

โดยข้าราชการสามารถเลือกวางแผนลงทุนได้ 1 จากใน 4 แผนการลงทุนในกองทุนบำเหน็จบำนาญ ซึ่งเลือกลงทุนได้ด้วยตัวเอง และสมาชิกสามารถเปลี่ยนแบบแผนได้ 2 ครั้งในแต่ละปี

  • แผนหลัก คือ การลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความมั่นคงประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ ถือการลงทุนที่ในความเสี่ยงปานกลาง
  • แผนตลาดเงิน คือ การลงทุนในตราสารหนี้ที่มีกำหนดอายุไม่เกิน 1 ปี เป็นการลงทุนในแผนความเสี่ยงต่ำ มีการรักษาเงินต้น แต่อาจจะได้ผลตอบแทนน้อย
  • แผนตราสารหนี้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการลงทุนในแบบระยะสั้นและระยะยาว
  • แผนผสมหุ้นทวี เป็นการลงทุนในสินทรัพย์เช่นเดียวกันกับแผนหลัก แต่จะมีการลงทุนในสินทรัพย์ที่ความเสี่ยงสูงมากขึ้นจากความผันผวนของตลาดทุน เหมาะกับผู้ที่สามารถรับความเสี่ยงได้

5. Provident Fund กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

สำหรับผู้ที่ทำงานอยู่ภายใต้องค์กรเอกชนนั้น ก็จะมีโครงการ Provident Fund กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ที่เป็นกองทุนที่ดำเนินการหักเปอร์เซนต์จากเงินเดือนของพนักงานในอัตรา 3% 5% หรือ 10% รวมเข้ากับเงินสมทบของนายจ้าง (ในอัตราที่ไม่ต่ำกว่าเงินสะสมของลูกจ้าง)

6. ประกันสังคม

สำหรับผู้ที่อยู่ในระบบประกันสังคมนั้น ในมาตราต่าง ๆ จะมีการให้การคุ้มครองที่ครอบคลุมไปถึงในส่วนของการเกษียณอายุ โดยต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาไม่น้อยกว่า 180 เดือน (15 ปี) จะมีสิทธิได้รับเงินบำนาญชราภาพเป็นรายเดือนในอัตราร้อยละ 20 ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายที่ใช้เป็นมาตราฐานในการคำนวณเงินสมทบก่อนความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง (ค่าจ้างที่ใช้คำนวณเงินสมทบไม่น้อยกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท)

7. การลงทุน

ในส่วนนี้นั้น จะเป็นถึงการดำเนินการใช้จ่ายเงินเพื่อหวังผลตอบแทนภายในอนาคต ซึ่งการลงทุนก็จะมีความแตกต่าง และหลากหลายกันไป โดยที่มีความเหมาะสมกับการรองรับช่วงวัยเกษียณนั้นก็ได้แก่

  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (Retirement Mutual Fund: RMF) ที่สนับสนุนให้ลงทุนต่อเนื่องไปจนถึงอายุ 55 ปี
  • กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (Long-term Equity Fund: LTF) ที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นอย่างน้อย 65% ของมูลค่าเงินลงทุน อีกประเภทที่น่าสนใจสำหรับคนที่คาดหวังผลตอบแทนสูง

**การลงทุนใน RMF และ LTF มีสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้กับผู้ถือกองทุน

นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึงการลงทุนบนสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้ เช่น อสังหาริมทรัพย์, หุ้นระยะยาว, ตราสาร, พันธบัตร และอื่น ๆ

ทั้งนี้แล้วนั้น การดำเนินการในรูปนี้ต้องอาศัยการศึกษาข้อมูลอย่างถี่ถ้วน และต่อเนื่อง เพื่อให้ได้มาซึ่งกำไรจากการลงทุนต่าง ๆ

8. อาชีพเสริม

ถือว่าเป็นช่องทางสำหรับผู้ที่ความสามารถอื่น ๆ นอกเหนือไปจากงานที่ทำ หรือสำหรับผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ และความเฉพาะทางมากพอที่จะนำเอาองค์ความรู้ไปแปรเปลี่ยนเป็นเงินได้เช่นกัน

 

แหล่งที่มาของข้อมูล : ธนาคารกรุงศรีอยุธยา

สามารถติดตามข่าวการเงินเพิ่มเติมได้ที่นี่ : ข่าวการเงิน

 

 

N. Siripariyasak

นักเขียนคอนเทนต์ จับประเด็นด้านเศรษฐกิจ-การเงิน, เทคโนโลยี, ไอที และเกมส์ อัปเดตข่าวทั้งจากในประเทศไทย และต่างประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button