อาหาร

แพ้กุ้ง ต้องอ่าน ! สาวแชร์ประสบการณ์แพ้อาหาร อ้วกจนล้มฟุบคาโต๊ะ

แชร์ประสบการ์ แพ้กุ้ง ภาวะแพ้อาหารในผู้ใหญ่ หญิงสาวรายหนึ่งมีอาการ แพ้อาหาร สั่ง สปาเก็ตตี้แซลมอนรมควัน แต่มารู้ทีหลังมีหางกุ้งผสมเข้ามาในเมนู

สาวแชร์ประสบการณ์ แพ้กุ้ง เผยแพร่โดยผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งซึ่งลงเรื่องราวบอกเล่าไว้ เมื่อวันที่ 18 เม.ย.ที่ผ่านมา กับเหตุการณ์วันที่ตัวเธอนั้นไปรับประทานอาหารยังร้านหนึ่งในห้างสรรพสินค้าดัง ก่อนต้องพบกับช่วงเวลาระทึก แน่นหน้าอก หูลั่น คอด้านในบวม กลืนน้ำลำบาก สุดท้ายล้มฟุบคาโต๊ะที่ร้านจนถูกหามส่งโรงพยาบาลเป็นการเร่งด่วน

“แชร์ปสก #แพ้กุ้ง ระดับ IgE4 ระดับความแพ้มี 6 lev เราอยู่ที่ระดับ4 ซึ่งตั้งแต่ lev3 ต้องระวังให้มาก เราไปกินสปาเก็ตตี้ร้านนึงใน #central #พระราม9 Central ”

“ด้วยข้อจำกัดด้านอาหารทำให้เราเลือก 1. ร้านที่มีมาตรฐาน 2. เมนูที่ปลอดภัย 3. แจ้งพนงถึงอาหารที่เราแพ้ แต่ร้านสะเพร่า มีหางกุ้งปน”

“เมนูที่สั่งคือ สปาเก็ตตี้แซลมอนรมควัน ระหว่างที่กินรู้สึกถึง texture บางอย่างที่กรอบ เราเคี้ยวโดนแล้ว รีบคายออกมา แล้วเจอหางกุ้ง เราคิดเลยว่า ชหแล้ว รีบรวบรวมสติ กินน้ำเยอะที่สุด เพื่อนรีบไปซื้อยาแก้แพ้และสอบถาม รพ. ที่ใกล้สุด”

“จากนั้น5 นาที สิ่งที่กลัวก็เกิดขึ้น หูลั่น คอด้านในบวม รู้สึกกลืนน้ำลำบาก แน่นหน้าอก เราบอกตัวเองว่าห้ามอ้วก เพราะถ้าอ้วก game over ยอมรับว่า panic มาก เพราะเริ่มแน่นหน้าอก และสุดท้ายเราก็อ้วก อ้วกในร้านนั่นแหละ อ้วกจนล้มฟุบไปบนโต๊ะที่ร้าน ร่างกายฉลาดมากแบบจะเค้นเอาพิษออกหมด”

“ตอนนั้นทางร้าน take action ได้ไม่ดีมากๆ เสนอไม่คิดราคาซึ่งเรารู้สึกว่าเค้าห่วงใยชีวิตลูกค้าน้อยเกินไป จนcs ของ central เข้ามาดูแลรีบเอาเราส่ง รพ. นั่งรถไปกับเรา เฝ้าเราที่ ER รอส่งเราไปแอตมิตอีกที่ เราประทับใจมาก และยังคงติดต่อถามอาการเสมอๆ”

“การรักษา ระยะเวลาที่ต้องเฝ้าระวังคือ 72 ชม. หลังได้รับเชื้อ เพราะอาการจะกำเริบ อาการของเราต่างจากคนอื่น เราเป็นที่ข้างในทั้งหมด ไม่โชว์ข้างนอก ไม่มีผื่นใดๆ เราอ้วก จุกอก หายใจลำบาก เหนื่อย คลื่นไส้ กินข้าวไม่ได้เลย อ้วกหมดเป็นไป 3 วัน ท้องเริ่มรับอาหารในวันที่ 4 เดินไปห้องน้ำแทบไม่ไหว เหนื่อยมาก พยาบาลต้องมาช่วย และทุกวันนี้เรายังมีปัญหาระบบขับถ่ายอยู่เลย ”

“การป้องกัน ภายใน 1 ปี ห้ามได้รับเชื้ออีกเพราะจะรุนแรงขึ้น หมอจ่ายยาอะดรีนาลีให้พกไว้ฉีดที่ต้นขาเวลามีอาการจะได้ไม่รุนแรงมากและรีบนำส่ง รพ. ซึ่งยามีอายุได้ 3 ด. ต้องเอาไปเปลี่ยน”

“จากเหตุการณ์นี้ทำให้เรารู้ว่าต่อให้เราระวังแค่ไหน ก็อาจได้รับอาหารที่ปนเปื้อนได้ ต้องพกยาไว้ และมีสติ เพราะถ้าตกใจเราจะหายใจเร็ว อาการจะแย่”

“อยากจะฝากร้านอาหารให้ concern เรื่องการปนเปื้อน เพราะในน้ำลวกมีเชื้ออยู่ เราคาดหวังร้านที่มีมาตรฐานจะทำได้ดีกว่านี้ ซึ่งเหตุผลที่ทางร้านให้ คือใช้หม้อลวกเดียวกัน แล้วหางกุ้งติดตะแกรงมา นั่นถือว่าคุณโชคดีน่ะ ที่คุณเจอลูกค้าที่แพ้อย่างเราเป็นรายแรก คุณโชคดีมากที่ผ่านมาคุณรอดมาได้ถึงทุกวันนี้”

“ทางร้านแจ้งว่าจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล เราเลยส่งรายการค่าใช้จ่ายในการรักษา แต่แอบเสียใจนะ ทางร้านถามว่าต้องจ่ายยอดไหน เพราะเรามีใช้ benefits ของประกันสุขภาพของเราเอง เค้าน่าจะแสดงการใส่ใจลูกค้ามากกว่านี้น่ะ เพราะนี่เราหยุดงานไป 6 วัน ไม่ได้ไปเที่ยวไหนตอนสงกรานต์อยู่พักฟื้นที่บ้าน รวมถึงความเสี่ยงใน 1 ปีนับจากนี้ ไม่รวมcovid เพราะเราถอดmask อ้วกตั้งแต่ที่ร้านจนถึงรพ.”

แพ้กุ้ง

แพ้อาหาร

แพ้กุ้ง

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button