ข่าวภูมิภาค

“พลเอกประยุทธ์” ยังไม่ฟันธง แรงจูงใจระเบิดป่วนกรุงเทพ ขออย่าโยงที่พรรคเคยหาเสียง

“พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี” ยังไม่ฟันธง แรงจูงใจระเบิดป่วนกรุงเทพ ขอให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างละเอีดยก่อน ขออย่าโยงที่พรรคเคยหาเสียง “ความสงบจบที่ลุงตู่” ไม่เกี่ยวข้องกัน : ระเบิดกรุงเทพ

ระเบิดกรุงเทพ – จากกรณีการวางระเบิดหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติเมื่อวันที่ 1 ส.ค. และระเบิดหลายจุดในวันที่ 2 ส.ค. รวมถึงเหตุไฟไหม้ร้านขายเสื้อผ้าย่านประตูน้ำ 3 จุดไล่เลี่ยกัน และเหตุลอบวางระเบิดในร้านขายของกลางห้างดัง

ทั้งนี้ มีการจับกุมตัวผู้ต้องสงสัยได้ 2 ราย ซึ่งมีกระแสข่าวว่ายอมรับสารภาพ อ้างว่าทำไปเพราะแค้นกองทัพภาค 4 จากการคุมตัวแนวร่วมไปสอบสวนแล้วเกิดอาการช็อกหมดสติในค่ายทหาร ต่อมาทางรัฐบาลได้ออกมาโต้ว่าการรายงานข่าวดังกล่าวคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง

อ่านข่าวก่อนหน้า

คืบหน้าล่าสุดวันนี้ (5 ส.ค.) พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กล่าวถึงการวางระเบิดป่วนกรุงเทพว่า ยังไม่ตัดประเด็นแรงจูงใจใดทิ้ง แม้แต่ความเชื่อมโยงถึง 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่วนกรณีที่ พลเอกอภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก ระบุว่าเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ปี 2549 เป็นแค่เพียงการเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในอดีต ยังไม่สรุปฟันธงใด ๆ ทั้งสิ้น

ขณะนี้กำลังสืบสวนเพื่อตามจับผู้ร่วมขบวนการอีก 10 กว่าคน อาศัยการบูรณาการด้านการข่าว การดำเนินงาน การพิสูจน์หลักฐาน ได้มีการให้เจ้าหน้าที่ประจำไว้ทุกจุดทุกพื้นที่ และความปลอดภัยเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการท่องเที่ยวหรือพื้นที่ทางธุรกิจหรือจัดประชุมต่างๆ ถือเป็นหน้าตาของประเทศไม่ว่าใครจะทำก็ตามที่ดำเนินการ ถือว่าเป็นคนที่ใช้ไม่ได้

ส่วนประเด็นที่คนมองว่ารัฐบาลสร้างสถานการณ์เอง อย่าไปมองแบบนั้น ตนจะทำทำไม อยู่เฉย ๆ ไม่มีเหตุการณ์เกิดขึ้นไม่ดีกว่าหรือ อยากให้คิดให้มีตรรกะ การให้ข้อมูลข่าวสารใดก็ตามที่จะทำให้เกิดการเข้าใจผิด หรือทำให้เกิดความไม่พอใจส่วนตัว ก็ขอให้เบาๆกันไว้บ้าง

เมื่อถูกถามว่าเหตุการณ์ระเบิดป่วนกรุงจะเกี่ยวข้องกับที่พลเอกประยุทธ์ คุมทั้งตำรวจทหาร หรือไม่ และมีคนโยงกับนโยบายพรรคพลังประชารัฐที่เคยหาเสียงก่อนหน้านี้ว่า “เลือกความสงบจบที่ลุงตู่” นายกรัฐมนตรีระบุว่าไม่เกี่ยวข้องกัน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : khaosod.co.th

 

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button