ข่าวข่าวภูมิภาค

เตือนคนไทย 5-6 มีนาคมนี้ เตรียมร้อนตับแตก อุณหภูมิแตะ 51 องศา

เตรียมรับความร้อน กรมอุตุฯ เตือนคนไทย 5-6 มีนาคม 2567 อากาศร้อนมาก กรุงเทพอุณหภูมิพุ่งสูง 48 องศา คาดสูงสุด 51 องศาที่ชลบุรี

กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกมาเปิดเผย พยากรณ์ดัชนีความร้อนสูงสุดรายวัน ประจำวันที่ 5-6 มีนาคม 2567 เผยให้เห็นความร้อนทั่วประเทศที่อยู่ในระดับเตือนภัยและอันตราย ซึ่งต้องเฝ้าระวังสุขภาพร่างกาย จากความร้อน ที่อาจส่งผลให้เกิดเป็นโรคเพลียแดด ฮีทสโตรกได้

ความร้อนในวันที่ 5 มีนาคม 2567

สำหรับในวันที่ 5 มี.ค. 67 พยากรณ์อากาศด้านดัชนีความร้อน พบว่าอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่จังหวัดตราด โดยมีรายละเอียดจังหวัดที่มีความร้อนสูงสุดของแต่ละภาค ดังต่อไปนี้

  • ตาก 39.9 องศา อยู่ในระดับเตือนภัย
  • นครราชสีมา 38.7 องศา อยู่ในระดับเตือนภัย
  • กรุงเทพมหานคร 48.1 องศา อยู่ในระดับอันตราย
  • ตราด 50.6 องศา อยู่ในระดับอันตราย
  • กระบี่ 42.5 องศา อยู่ในระดับอันตราย

ความร้อนในวันที่ 6 มีนาคม 2567

สำหรับในวันที่ 6 มี.ค. 67 พยากรณ์อากาศด้านดัชนีความร้อน พบว่าอุณหภูมิสูงสุดอยู่ที่จังหวัดชลบุรี โดยมีรายละเอียดจังหวัดที่มีความร้อนสูงสุดของแต่ละภาค ดังต่อไปนี้

  • ตาก 39.6 องศา อยู่ในระดับเตือนภัย
  • บุรีรัมย์ 39.4 องศา อยู่ในระดับเตือนภัย
  • กรุงเทพมหานคร 48.1 องศา อยู่ในระดับอันตราย
  • ชลบุรี 51.4 องศา อยู่ในระดับอันตราย
  • ภูเก็ต 48.3 องศา อยู่ในระดับอันตราย

5-6 มีนาคมนี้ เตรียมร้อนตับแตก

การแบ่งระดับความร้อนและการผลกระทบสุขภาพ

ระดับความร้อนในประเทศไทย ได้ถูกแบ่งออกเป็นทั้งหมด 4 ระดับ โดยพิจารณาจากอุณหภูมิ นำไปสู่การเฝ้าระวังโรคต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน ดังนี้

1. ระดับเฝ้าระวัง 27.0-32.9 องศา

ผลกระทบต่อสุขภาพ : เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน อาจทำให้เกิดอาการ เช่น อ่อนเพลีย ปวดศีรษะ ผื่นความร้อน บวมเพราะร้อน ปวดเมื่อยร่างกาย และเป็นตะคริว

2. ระดับเตือนภัย 33.0 – 41.9 องศา

ผลกระทบต่อสุขภาพ : เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน อาจทำให้เสี่ยงเป็นโรคเพลียแดดและเป็นตะคริวจากความร้อย ตลอดจนเกิดโรคลมร้อนหรือฮีทสโตรก

3. ระดับอันตราย 42.0-51.9 องศา

ผลกระทบต่อสุขภาพ : เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน อาจทำให้เป็นตะคริวจากความร้อย โรคเพลียแดด และเสี่ยงเป็นฮีทโตรก

4. ระดับเตือนภัย มากกว่า 52.0 องศา

ผลกระทบต่อสุขภาพ : เมื่อสัมผัสความร้อนและทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน อาจทำให้มีความเสี่ยงสูงมากที่จะเกิดโรคลมร้อยหรือฮีทสโตรก ซึ่งเป็นอันตรายต่อชีวิต.

ทั้งนี้ดัชนีความร้อน คือความร้อนที่ร่างกายมนุษย์รู้สึกได้ ณ ขณะนั้น ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิอากาศและความชื้นสัมพัทธ์ที่ตรวจวัดได้ ณ เวลานั้น ๆ ซึ่งค่าดัชนีความร้อน มักจะมีค่าสูงกว่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้เสมอ.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button