สุขภาพและการแพทย์ไลฟ์สไตล์

เผยปัจจัยเสี่ยง “สาเหตุโรคใหลตาย” ภัยเงียบใกล้ตัว ไม่ดื่ม-ไม่สูบ ก็เสียชีวิตได้

แพทย์ยกตัวอย่าง หนุ่มวัยกลางคน อายุ 39 ปี สุขภาพแข็งแรง เหล้าไม่แตะ บุหรี่ไม่สูบ เคยมีภาวะ โรคใหลตาย ปั๊มหัวใจ 8 ครั้ง จนเกือบเอาชีวิตไม่รอด

สิ่งที่น่ากลัวกว่าอาการป่วย คือการไม่รู้ว่าคืนหนึ่งที่เราหลับไปจะมีโอกาสได้ตื่นขึ้นมาใช้ชีวิตอีกครั้งไหม? ดังเช่นกรณีของผู้ป่วยหนุ่มที่เคยเป็น โรคใหลตาย หรือ Brugada Syndrome / Sudden Unexplained Death Syndrome ตัวย่อ SUNDS ซึ่งมีภาวะของการเสียชีวิตเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุ มักเกิดขึ้นในขณะนอนหลับ สามารถพบได้บ่อยในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยไม่มีอาการเตือนล่วงหน้า ในประเทศไทยพบมากในคนภาคอีสานและภาคเหนือ

ย้อนเคสผู้ป่วยชาย สุยภาพดี ป่วยเป็นโรคใหลตาย

แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีใครทราบ สาเหตุที่แน่ชัด แต่จากการศึกษา พบว่าอาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยต่าง ๆ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก เพจเฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ซึ่งได้ยกตัวอย่างเคสผู้ป่วยที่เคยโรคใหลตายได้อย่างน่าสนใจเอาไว้ว่า

ผู้ป่วยชายท่านนี้เป็นชายหนุ่มอายุ 39 ปี สุขภาพปกติแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัว ไม่ดื่มสุราและของมึนเมา ไม่เคยสูบบุหรี่มาก่อน แต่เคยมีอาการใหลตายเมื่อครั้งอายุ 35 ปี ขณะนอนหลับในช่วงเวลา 02.00 น. จนภรรยาได้ยินเสียงหายใจเฮื้อกใหญ่ เรียกปลุกไม่ตื่น ก่อนจะฟื้นตัวรอดตายหวุดหวิดที่โรงพยาบาล

ในขณะที่ฝ่ายชายมีอาการใหลตาย ภรรยาสาวได้เล่าว่า ตนกับน้องช่วยกันปั๊มหัวใจ พร้อมทั้งเรียกรถพยาบาลฉุกเฉินหามส่งเพื่อรักษาตัวทันที โดยทีมแพทย์ได้ช็อตไฟฟ้าทั้งหมด 8 ครั้ง จนกระทั่งหนุ่มคนไข้ฟื้นขึ้นมาราวปาฏิหาริย์

ทีมหมอได้ทำการฉีดสีตรวจเส้นเลือดโคโรนารีย์หัวใจ ไม่พบเส้นเลือดตีบตัน ทั้งยังพบว่าหนุ่มคนนี้ไม่มีประวัติญาติพี่น้องหรือคนในครอบครัว ที่มีอาการหัวใจหยุดเต้นกระทันหัน หรือเป็นโรคใหลตายมาก่อน

ปัจจัยเสี่ยง โรคใหลตาย ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

หมอเจ้าของเรื่องราวบนเฟซบุ๊กดังกล่าว ได้เสริมขึ้นว่า หนุ่มรายนี้ได้รับการวินิฉัย โรคใหลตาย หลังเข้านอนใน รพ. 2 สัปดาห์ วันที่ 11 มกราคม 2564 ได้ใส่เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ (Automatic Implantable Cardioverter Defibrillator – AICD) เอาไว้ใต้ผิวหนัง พร้อมกับสอดสายไปยังหัวใจ เพื่อติดตามข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

หมายเหตุ : เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจอัตโนมัติ จะทำการปล่อยกระแสไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจอีกครั้ง หากตรวจพบว่าหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างรุนแรงนั่นเอง

สำหรับความคืบหน้าอาการล่าสุดของผู้ป่วยชายท่านนี้ มีการตรวจพบอาการ Ventricular fibrillation หรือการที่หัวใจห้องล่างเต้นพลิ้วผิดปกติ จำนวน 1 ครั้ง ในช่วงที่นอนหลับ โดยเครื่อง เอไอซีดี ได้ทำการกระตุกด้วยไฟฟ้าเพื่อให้หัวใจกลับมาเต้นตรงจังหวะดังเดิม อาการในเดือนมีนาคม 2567 ผู้ป่วยมีอาการแข็งแรงดี ยังไม่มีแนวโน้มของอาการใหลตายอีกเลยนับแต่นั้นเป็นต้นมา

สาหตุที่ทำให้เกิดอาการ โรคใหลตาย

สำหรับโรคใหลตายเกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ พันธุกรรมและสาเหตุที่ไม่ใช่พันธุกรรม โดยมีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้

4 ปัจจัยเสี่ยงหัวใจเต้นผิดจังหวะ อาจเกิดอาการใหลตาย

1. หลีกเลี่ยงกลุ่มยาที่มีกลไกการออกฤิทธิ์ลดการทำงานของ Sodium channel

2. หลีกเลี่ยงการมีไข้สูง

3. หลีกเลี่ยงแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มมึนเมาหรือสารเสพติดทุกชนิด เช่น กัญชา โคเคน เป็นต้น

4. หลีกเลี่ยงอาหารมื้อหนักที่มีคาร์โบไฮเดรถและให้พลังงานสูง

โรคใหลตาย แม้สุขภาพดีก็เสี่ยงเสียชีวิตได้ เผย 4 ปัจจัยเสี่ยงเกิดโรค แนะนำให้งด ละ เลิก

สาเหตุจากพันธุกรรมบางอย่าง

1. การกลายพันธ์ุใน SCN5A

2. สาเหตุจากโพลีจีนิกจากการเปลี่ยนแปลงที่พบบ่อยใน SCN5A-SCN10A, HEY2

3. การกลายพันธุ์ SCN5A p.R965C ในคนไทย ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงเพิ่มจึ้น 10 เท่า

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง : เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเซวงวงศ์ FC

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button