ข่าว

รู้หรือไม่ สีดาวตก มีที่มา NARIT เฉลยเกิดจากอะไร

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ อธิบายที่มาของสีของดาวตก หลังมีคลิปไวรัล ถ่ายพบลูกไฟสีเขียวกลางฟากฟ้าเมืองไทย แต่ละสีประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ได้โพสต์บนเฟซบุ๊กบัญชี NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ จากกรณีเมื่อคืนวันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลาประมาณ 21.00 น. โลกอินเทอร์เน็ตได้แชร์คลิปและภาพถ่ายของ ลูกไฟสีเขียว ที่พาดผ่านท้องฟ้า มีผู้พบเห็นในหลายจังหวัดบริเวณภาคกลาง และภาคตะวันออกของประเทศไทย ซึ่งเบื้องต้นคาดการณ์ว่าเป็นดาวตกชนิดลูกไฟ (Fireball) พร้อมเผยที่มาสีของดาวตก ว่าเกิดจากส่วนประกอบใดบ้าง

จุดกำเนิดของดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย พุ่งชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูง จึงเกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่างแสงออกมาในช่วงคลื่นต่าง ๆ เราจึงสามารถมองเห็นสีของดาวตก ปรากฎในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี และโมเลกุลของอากาศโดยรอบ ซึ่งชนกับตัวดาวตกอย่างรุนแรงจนเกิดความร้อนสูง

ที่มาสีของดาวตก

ด้านสีของดาวตก มาจากแสงที่เปล่งออกมาจากอะตอมโลหะของดาวตก โดยจะแตกต่างออกไปตามองค์ประกอบทางเคมี ดังนี้

  • อะตอมแคลเซียม (Ca) แสงเป็น สีม่วง
  • อะตอมแมกนีเซียม (Mg) และนิกเกิล (Ni) แสงเป็น สีฟ้าเขียว
  • อะตอมโซเดียม (Na) แสงเป็น สีส้มเหลือง
  • โมเลกุลในชั้นบรรยากาศโลก มีอะตอมออกซิเจน (O) และไนโตรเจน (N) แสงเป็น สีแดง

ดังนั้นแล้ว สีของดาวตก จึงขึ้นอยู่กับการเปล่งแสงขององค์ประกอบแต่ละชนิด และการเปล่งแสงขององค์ประกอบแต่ละชนิด และการเปล่งแสงของอากาศโดยรอบตัวดาวตกที่ร้อนจัด ซึ่งมักจะให้แสงสีแดงและสีเขียวเป็นหลัก ขึ้นอยู่กับความสูงจากพื้นโลก

ที่มาสีของดาวตก 2
ภาพจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

Best Writer

นักเขียนบทความประจำ Thaiger จบการศึกษาจากคณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาภาษาไทย มีความเชียวชาญด้านวงการเพลงไทย ภาพยนตร์ อนิเมะ ชื่นชมติดตามข่าวสารสังคม กีฬา เทคโนโลยี แตกประเด็น สรุปเรื่องราวมาร้อยเรียงผ่านข้อความสู่สายตาผู้อ่าน ช่องทางติดต่อ best.t@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button