การเงินเศรษฐกิจ

ต้องจ่ายเพิ่ม เงินสมทบประกันสังคม 2567 มาตรา 33 ปรับขึ้นเป็น 875 บาท

เงินสมทบประกันสังคม 2567 มาตรา 33 ต้องจ่ายเพิ่มเป็น 875 บาท จากเดิม 750 บาท สำนักงานประกันสังคม ชูสวัสดิการล่อใจ ได้เงินชดเชยว่างงานเพิ่มขึ้น

เงินสมทบประกันสังคม 2567 จ่ายเพิ่มกี่บาท

เข้าสู่เดือนสุดท้ายของปีเก่า ปีหน้าผู้ประกันตนมาตรา 33 (ม.33) ในระบบประกันสังคมทั้งลูกจ้างและนายจ้าง เตรียมรับภาระเพิ่ม เมื่อสำนักงานประสังคมเตรียมปรับเพดานจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นเป็นสูงสุด 875 บาทต่อเดือน สำหรับผู้จ้างที่มีเงินเดือนค่ามากกว่า 17,500 บาทต่อเดือน

การปรับขึ้นนี้วางแผนเป็นแบบขั้นบันได 3 ระยะดังนี้

  • ระยะที่ 1 : ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567-31 ธันวาคม 2569 เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 875 บาท/เดือน
  • ระยะที่ 2 : ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2570-31 ธันวาคม 2572 เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 1,000 บาท/เดือน
  • ระยะที่ 3 : ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2573 เป็นต้นไป เพดานเงินสมทบอยู่ที่ 1,150 บาท/เดือน

การปรับเพดานเงินสมทบครั้งนี้ เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2565 ซึ่งกำหนดให้ปรับเพดานเงินสมทบทุก 3 ปี เพื่อให้สอดคล้องกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น และเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกองทุนประกันสังคมรองรับรายจ่ายค่ารักษาพยาบาลที่สูงขึ้น

สิทธิประโยชน์ ได้สวัสดิการเพิ่มขึ้นเมื่อปรับเงินสมทบ

ผู้ประกันตนจะได้รับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคมเพิ่มขึ้นด้วย เพราะฐานที่ใช้ในการคำนวณเพื่อรับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะคำนวณจากค่าจ้างที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคม ดังนี้

1. กรณีเจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้ 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตามวันที่แพทย์สั่งให้หยุดงาน

2. กรณีคลอดบุตร เงินสงเคราะห์หยุดงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 90 วัน

3. กรณีทุพพลภาพ เงินทดแทนการขาดรายได้

  • 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาตลอดชีวิต กรณีทุพพลภาพรุนแรง
  • 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลา 180 เดือน กรณีทุพพลภาพไม่รุนแร

4. กรณีเสียชีวิต เงินสงเคราะห์ตายจ่ายให้ทายาท 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบเป็นระยะเวลา 4 หรือ 12 เดือน แล้วแต่กรณี

5. กรณีว่างงาน เงินทดแทนการขาดรายได้

  • เนื่องจากถูกเลิกจ้าง 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
  • เนื่องจากสมัครใจลาออก 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง 30% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน
  • เนื่องจากเหตุสุดวิสัย 50% ของค่าจ้างที่นำส่งเงินสมทบ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 90 วัน

6. เงินบำนาญชราภาพ ไม่ต่ำกว่า 20% ของค่าจ้าง ตั้งแต่เกษียณจากการทำงานไปจนตลอดชีวิต โดยผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบ 15 ปี จะได้รับบำนาญ 20% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย ส่วนผู้ประกันตนที่ส่งเงินสมทบมากกว่า 15 ปี จะได้รับบำนาญเพิ่มขึ้น 1.5% ต่อปี ที่ส่งเงินสมทบเพิ่มเติม เช่น หากส่งเงินสมทบ 25 ปี จะได้รับบำนาญ 20% + (1.5% x 10) = 35% ของค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้าย

7. เงินบำเหน็จชราภาพ กรณีส่งเงินสมทบไม่ครบ 15 ปี ผู้ประกันตนจะได้รับบำเหน็จตามจำนวนเงินสมทบที่นำส่ง รวมผลตอบแทนการลงทุน

สิทธิประโยชน์ที่เพิ่มขึ้นเมื่อปรับเพิ่มเพดานค่าจ้าง

สิทธิประโยชน์เงินทดแทน เงินทดแทนที่ได้รับ
ปัจจุบัน ปี 2567-2569 ปี 2570-2572 ปี 2573 เป็นต้นไป
(15,000 บาท) (17,500 บาท) (20,000 บาท) (23,000 บาท)
เจ็บป่วย 250 ต่อวัน 292 ต่อวัน 333 ต่อวัน 383 ต่อวัน
คลอดบุตร 22,500 ต่อครั้ง 26,250 ต่อครั้ง 30,000 ต่อครั้ง 34,500 ต่อครั้ง
ทุพพลภาพรุนแรง 7,500 ต่อเดือน 8,750 ต่อเดือน 10,000 ต่อเดือน 11,500 ต่อเดือน
เสียชีวิต 30,000 บาท 35,000 บาท 40,000 บาท 46,000 บาท
ถูกเลิกจ้าง 7,500 ต่อเดือน 8,750 ต่อเดือน 10,000 ต่อเดือน 11,500 ต่อเดือน
บำนาญ (ส่งเงิน 15 ปี)* 3,000 ต่อเดือน 3,500 ต่อเดือน 4,000 ต่อเดือน 4,500 ต่อเดือน
บำนาญ (ส่งเงิน 25 ปี)* 5,250 ต่อเดือน 6,125 ต่อเดือน 7,000 ต่อเดือน 8,050 ต่อเดือน

*คำนวณบนสมมติฐานค่าจ้างเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายเมื่อเกษียณอายุเท่ากับเพดานค่าจ้างตามตาราง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button