ข่าวต่างประเทศ

นักวิทย์ฯ พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่คิดว่าสูญพันธุ์แล้วกว่า 60 ปี ในป่าอินโดนีเซีย

วงการวิทยาศาสตร์แห่ยินดี กล้องดักสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าฝนอินโดฯ บันทึกภาพ “ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาว” สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมยุคโบราณที่หายสาบสูญกว่า 60 ปี

นับเป็นอีกข่าวดีที่ฮือฮาไปทั่วโลก หลังสัตว์ป่าที่หลาย ๆ คนเชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 60 ปีอย่าง ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาว ถูกพบว่ายังหลงเหลืออยู่ในพื้นที่ป่าฝน ประเทศอินโดนีเซีย

สำนักข่าว channelnewsasia รายงานว่า นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมสายพันธุ์ที่สูญหายไปนานอย่าง แอตเทนบะระ อิคิดนา หรือตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ ในพื้นที่เทือกเขาไซคล็อปส์ของอินโดนีเซีย หลังจากพบครั้งล่าสุดเมื่อ 60 ปีที่ก่อน สัตว์ชนิดนี้จึงถูกสันนิษฐานว่าสูญพันธุ์ไปแล้ว

ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในยุคโบราณ เป็นสัตว์ทีมีลักษณะขนแหลมคล้ายเม่น ที่มีจมูกแบบตัวกินมด และเท้าของตัวตุ่น ตัวกินมดชนิดนี้ถูกพบครั้งแรกโดยเซอร์ เดวิด แอตเทนบะระ นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด ซึ่งจากหลักฐานล่าสุดข้อสันนิษฐานในอดีตได้ถูกลบล้างไป เพราะสัตว์สายพันธุ์นี้ไม่ได้สูญพันธุ์อย่างที่หลายคนวิตกกัน

เรื่องน่ายินดีเกิดขึ้นจากความทุ่มเทของ ดร.เจมส์ เคมป์ตัน นักชีววิทยา ผู้นำทีมวิจัยลงสำรวจพื้นที่ในเทือกเขาไซคลอปส์ ซึ่งเป็นป่าฝนที่อยู่สูง 2,000 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลของอินโดนีเซีย เขาได้พบภาพของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่กำลังเดินผ่านป่าพงบนการ์ดหน่วยความจำใบสุดท้ายที่ดึงมาจากกล้องระยะไกลมากกว่า 80 ตัว

จากความสำเร็จในครั้งนี้ เขากล่าวว่า “รู้สึกอิ่มเอมใจอย่างมาก และยังโล่งใจที่ได้ใช้เวลาอยู่ในทุ่งนามายาวนานโดยไม่มีรางวัลใด ๆ จนกระทั่งวันสุดท้าย วินาทีที่ฉันได้เห็นภาพนี้ครั้งแรกร่วมกับผู้ร่วมมือจากกลุ่มอนุรักษ์ YAPPENDA ของอินโดนีเซียฉันตะโกนบอกเพื่อนร่วมงานที่ยังเหลืออยู่ และบอกว่า เราเจอแล้ว เราเจอแล้ว”

ซึ่งความพิเศษของการพบสัตว์ชนิดนี้คือ ตัวกินมดหนามจะงอยปากยาวแอตเทนบะระเป็นสมาชิกของกลุ่มโมโนทรีม ในยุค 200 ล้านปีก่อน

ข้อมูลจาก channelnewsasia

Danita S.

นักเขียนบทความไลฟ์สไตล์ บันเทิง ประจำ Thaiger ติดตามทุกกระแส K-Pop และเท่าทันทุกเรื่องราวความบันเทิง ด้วยประสบการณ์มากกว่า 3 ปี จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ช่องทางติดต่อ bell@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button