อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

‘วันไหว้บะจ่าง’ 22 มิถุนายน 2566 ประวัติและวิธีไหว้ ไขข้อสงสัยพิธีโบราณ

วันที่ 22 มิถุนายน 2566 วันไหว้บะจ่าง เปิดที่มา ประวัติ และวิธีไหว้ที่ถูกต้อง ตามพิธีโบราณ เพื่อรำลึกถึง ชีหยวน ขุนนางผู้รักชาติแห่งแคว้นฉู่

วันนี้แล้ว 22 มิถุนายน พ.ศ.2566 ตรงกับวัน เทศกาลไว้บะจ่าง อีกหนึ่งประเภณีที่สำคัญของคนไทยเชื้อสายจีน และเป็นเทศกาลที่ไดรับการจดทะเบียนขึ้นเป็น มรดกทางวัฒนธรรมโลกเมื่อปี 2009 อีกด้วย เห็นอย่างนี้แล้ว Thaiger จึงจะพาทุกคนมาเจาะลึกถึง วันไหว้บ๊ะจ่าง ทั้งประวัติ และวิธีการไหว้ที่ถูกต้องกัน.

รู้จัก วันไหว้บะจ่าง 2566 เทศกาลสำคัญ ระลึกถึงนักกวีผู้รักชาติ

ประวัติ วันไหว้บะจ่าง

เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า เทศกาลตวนอู่ อีกหนึ่งเทศกาลสำคัญของชาวไทยเชื้อสายจีน จะไหว้กันในเดือน 5 วันที่ 5 ตามปฏิทินทางจันทรคติของจีน ส่วนปฏิทินสากลตรงกับ วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เป็นการระลึกถึงวันที่ ชีหยวน กวีผู้รักชาติแห่งรัฐฉู่ กระโดดน้ำเสียชีวิต

ชีหยวน เป็นขุนนางผู้ที่มีความรอบรู้ และความสามารถรอบด้าน รวมถึงรู้จักหลักการบริหารการปกครองเป็นอย่างดี มีความซื่อสัตย์ เป็นเหตุให้การทำงานของชีหยวนไปขัดขวางการโกงกิน พวกเขาจึงรวมตัวกันใส่ความชีหยวน ต่อหน้าฮ่องเต้ จนฮ่องเต้เกิดไม่ชอบในตัวเขาจริง ๆ

ทางด้าน ชีหยวน ที่ทุกข์ใจมากจึงได้แต่งกลอน หลีเซา เพื่อคลายความทุกข์มีเนื้อหาเกี่ยวกับการห่วงใยราษฎร ต่อมาฮ่องเต้ ถูกกลลวงของแคว้นฉิน ทำให้สวรรคต และได้มีรัชทายาทขึ้นครองบัลลังก์แทน ซึ่งพระองค์ก็ได้เชื่อคำยุยงของเหล่าขุนนางที่กังฉิน จึงได้สั่งเนรเทศไป

วันไหว้บะจ่าง 2566

หลังจาก ซีหยวน เดินทางรอนแรมมาถึงแม่น้ำเปาะล่อกัง (บางตำราว่าเป็นแม่น้ำแยงซีเกียง) ชีหยวนจึงได้ตัดสินใจกระโดดน้ำ เสียชีวิต เพื่อแสดงออกถึงความรู้สึกจงรักภักดีแก่ประเทศชาติและความคับแค้นใจที่มีต่อสังคม ในวันขึ้น 5 ค่ำ เดือน 5

ชาวบ้านทราบข่าวการเสียชีวิต ด้วยความรักและอาลัย จึงได้ออกตามหาศพของชีหยวน ซึ่งขณะที่ตามหา ก็ได้โปรยข้าวลงแม่น้ำด้วย และอธิษฐานขออย่าให้เหล่าสัตว์น้ำมากัดกินศพของชีหยวน ให้กินแค่ข้าวที่โปรยไว้ก็พอ จากนั้นทุก ๆ ปี ที่เป็นวันครบรอบการเสียชีวิต ชาวบ้านก็จะนำข้าวเอาข้าวไปโปรย

ต่อมามีชาวบ้านผู้หนึ่งฝันเห็นชีหยวน โดยได้มากล่าวขอบคุณชาวบ้านที่ได้มาโปรยข้าวเพื่อการเซ่นไหว้ และได้แนะนำให้นำอาหารเหล่านั้นห่อด้วยใบไผ่ หรือใบจากก่อนที่จะโยนลงน้ำ ชาวบ้านต่างก็ทำตามที่ชีหยวนแนะนำ และได้มีการตกแต่งเรือให้เป็นรูปมังกรด้วย เป็นทีมาของอาหาร บะจ่าง นั่นเอง

วันไหว้บะจ่าง 2566

ประเพณีไหว้บะจ่าง และ ประเพณีแข่งเรือมังกร

ทางความเชื่อของชาวไต้หวัน เทศกาลไหว้บ๊ะจ่าง เรียกว่า เทศกาลแข่งเรือมังกรไต้หวัน งเป็นหนึ่งในกิจกรรมตามปฏิทินการท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงที่สุดทั้งในและต่างประเทศ โดยเรือที่นำมาแข่งจะตกแต่งเป็นลวดลายมังกรอย่างสวยงามตลอดทั้งลำ เพื่อเป็นการลำลึกถึงเรือที่ชาวบ้าน ใช้ออกไปลอยข้าว ขณะที่ตามหาร่างของ ชีหยวนนั่นเอง

ความหมายของ ขนมบะจ่าง

ขนมบ๊ะจ่าง ตามควมเชื่อของชาวไทยเชื้อสายจีน ขนมหน้าร้อนที่เชื่อว่าทำให้มีความอยู่ดี ในช่วงเดือน 5 ของจีน ยังตรงกับฤดูร้อน เมื่อไหว้เสร็จคนจีนจะเอาไปชุบน้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายแดงเพื่อนำมารับประทาน อันถือว่าจะทำให้เกิดสิ่งมงคลต่าง ๆ ดลบรรดาลให้คนบ้าน มีแต่ความเจริญ

วันไหว้บะจ่าง 2566

วิธีจัดโต๊ะ วันไหว้บะจ่าง 2566 ที่ถูกต้อง

การจัดโต๊ะไหว้ วันไหว้บ๊ะจ่าง 2566 ส่วนมากจะนิยมจัดไหว้เป็นคู่ บะจ่าง เป็นคู่ 2 ห่อ หรือ 4 ห่อ เพราะเชื่อว่าเป็นเลขสิริมงคล โดยจะจัดเป็นบะจ่างคู่กับกีจ่าง หรือบะจ่างล้วนก็ได้ และจัดเซ็ตไหว้พร้อมกับผลไม้ น้ำชา ธูป ส่วนช่วงเวลาไหว้จะทำในเวลาเช้า

ชุดวันไหว้บะจ่าง 2566

ประกอบไปด้วย ชุดไหว้เจ้าที่ตี่จูเอี๊ยะ (เจ้าที่เจ้าทางในบ้าน) ,ชุดไหว้เทพเจ้า (ไหว้เฉพาะกีจ่างหรือบะจ่างเจ)และ ชุดไหว้บรรพบุรุษ

  • กระถางธูป
  • เทียนแดง 1 คู่
  • แจกันดอกไม้ 1 คู่
  • ข้าว 5 ถ้วย
  • ซาแซ 1 ชุด (หมู เป็ด ไก่)
  • บะจ่าง หรือกีจ่าง จำนวนไหว้เป็นเลขคู่
  • น้ำชา 5 ถ้วย
  • ผลไม้ 3-5 อย่าง
  • หงิ่งเตี๋ย 1 ชุด
  • กระทงไหน่ฮวย / กระทงบัวทอง 1 อัน
  • ใช้ธูปทั้งหมด 7 ดอก (ไหว้ตี่จู่เอี๊ยะ 5 ดอก ไหว้เจ้าหมึ่งซิ้งที่ประตูเสาทั้งสองข้าง ข้างละ 1 ดอก)

วันไหว้บะจ่าง 2566

ขอบคุณข้อมูล กองคลัง มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ, หนังสือจีนนานมี

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button