พิพิธภัณฑ์ “อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา” ครบรอบ 49 ปี รำลึกวีรชนประชาธีปไตย
ย้อนเหตุการณ์ วันมหาวิปโยค ผ่านพิพิธภัณฑ์ “อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516” ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรำลึกถึงผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 การนองเลือดที่เป็นรากฐานสู่ประชาธิปไตยในปัจจุบัน
แนะนำที่เที่ยวประวัติศาสตร์กรุงเทพ พิพิธภัณฑ์ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ชวนคนไทยรำลึกโศกนาฏกรรมการนองเลือดจากเหตุการณ์เคลื่อนไหวทางการเมืองประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นระหว่างวันที่ 14-16 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ส่งผลให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตหลายราย
ทั้งนี้อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา มีลักษณะที่โดดเด่นคือ สถูปวีรชน 14 ตุลา ที่ออกแบบเป็นรูปกรวยคว่ำ สูง 14 เมตร สำหรับความหมายของกรวยคว่ำ คือสัญลักษณ์ของจิตวิญญาณการมนุษย์ ส่วนปลายยอดกรวยสื่อความหมายถึงการต่อสู้เพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย สิทธิ และเสรีภาพ
นอกจากนี้ที่อนุสรณ์ 14 ตุลา ยังมีรายชื่อผู้เสียชีวิตทั้งหมด 72 คน พร้อมบทกวีสำคัญของเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ นักการเมืองและศิลปินชาวไทยผู้ถ่ายทอดเรื่องราวเหตุการณ์ 14 ตุลา ผ่านผลงานหนังสือหลายเล่ม
ภายในอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ประกอบด้วย ห้องสมุด สำนักงาน ห้องประชุม ลานกิจกรรม สวนสาธารณะ ประติมากรรม และรูปภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ 14 ตุลา พร้อมรายชื่อผู้มีส่วนร่วมและเสียชีวิตในช่วงเวลานั้น
พิกัดของอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516 ตั้งอยู่เลขที่ 14/16 ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร บริเวณสี่แยกคอกวัว เริ่มสร้างครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ. 2541 และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 รวมระยะเวลา 3 ปี
ทีมงานไทยเกอร์จะพาผู้อ่านย้อนรอยความเป็นมาการก่อสร้างอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา กว่าจะมาเป็นอนุเสาวรีย์วีรชนแก่ผู้เรียกร้องประชาธิปไตยต้องผ่านอะไรมาบ้าง
ประวัติ “อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516”
ย้อนกลับไปในยุคของรัฐบาล นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เมื่อปี พ.ศ. 2517 มีการเสนอให้สร้างอนุสาวรีย์สำหรับผู้ที่เสียชีวิตในเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 พร้อมทำการวางศิลาฤกษ์แล้วในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2518 แต่ก็ประสบปัญหาหลายอย่างเนื่องด้วยในครั้งแรก เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ถูกกองทัพไทยตีความว่าเป็นเหตุกก่อความวุ่นวายและความไม่สงบในประเทศไทย
กระทั่งผ่านไปในปี พ.ศ. 2532 ยุคของรัฐบาลชาติชาย ได้ตกลงอนุญาตให้สร้างอนุสาวรีย์ 14 ตุลา แต่ก็ไม่ได้เริ่มแผนการสร้าง จนในปี พ.ศ. 2541 นายธีรยุทธ บุญมีได้เจรจากับอานันท์ ปันยารชุน เพื่อทำสัญญาส่วนตัวจนท้ายที่สุด มีการสร้างอนุสาวรีย์ที่มีขึ้นเพื่อ อุทิศให้แก่วีรชน 14 ตุลา 2516 เท่านั้น และสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2544 โดยได้รับแรงผลักดันและสนับสนุนจาก ขบวนการนิสิตนักศึกษา อดีตนักศึกษาในสมัย 14 ตุลา นักวิชาการ สื่อมวลชน องค์กรพัฒนาเอกชน หรือแม้แต่ประชาชนที่เรียกร้องประชาธิปไตย
การเดินทางไปยัง อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516
ผู้ที่สนใจเดินทางไปเยี่ยมชมอนุสรณ์สถาน 14 ตุลา 2516 สามารถเดินทางไปด้วยรถยนต์ส่วนตัวเข้ามาที่ถนนราชดำเนินกลาง แขวงบวรนิเวศ บริเวณ 4 แยกคอกวัว หรือนั่งรถเมลหมายเลข 30, 32, 556 ปอ., 59, 9 ปอ. ได้เลยครับ
- แผนที่ : https://goo.gl/maps/C2FiGAj8yxvPpvvo8
- เวลาทำการ : 08.00 – 19.00 น.
- 14 ตุลาคม 2565 หยุดไหม เช็กวันหยุดยาว วันหยุดราชการหรือต้องกดลาเอง.
- 14 ตุลาคม 2516 ครบรอบ 49 ปี สรุปเหตุการณ์ ที่มายุคประชาธิปไตยเบ่งบาน.