ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

ประวัติ ‘วันศิลป์ พีระศรี’ 15 กันยายน 2565 บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยไทย

15 กันยายน 2565 ประวัติวันศิลป์ พีระศรี ศิลปินชายชาวอิตาเลียน ผู้กลายมาเป็นบิดาแห่งมหาวิทยาลัยศิลปากร และศิลปะร่วมสมัยไทย และสร้างลูกศิษย์หลายคนจนกลายเป็นศิลปินชาวไทยที่มีชื่อเสียงในวงการศิลปะ

เปิดประวัติ ศิลป์ พีระศรี หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยของไทย ร่วมระลึกวันที่ 15 กันยายน 2565 ศิลปินชาวอิตาเลียนสัญชาติไทยผู้ถูกยกย่องว่าเป็นบุคคลสำคัญในการวางรากฐานให้วงการศิลปะของไทยมีความเข็มแข็ง และยังถือเป็นผู้ให้กำเนิดมหาวิทยาลัยศิลปากร มหาวิทยาชั้นนำด้านศิลปะของไทยที่ทุกคนรู้จักกันดีอีกด้วย อีกทั้งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ยังเป็นหนึ่งในบุคลากรของวงการศิลปะที่สร้างลูกศิษย์ที่มีชื่อเสียงเป็นจำนวนมากทั้ง เทพศิริ สุขโสภา, ช่วง มูลพินิจ, กำจร สุนพงษ์ศรี และศิลปินอีกหลายท่าน

เนื่องในคุณความดีที่ได้สร้างไว้ให้แก่แวดวงศิลปะไทย วันที่ 15 กันยายน 2565 ของทุกปี จึงถูกกำหนดให้เป็น วันศิลป์ พีระศรี มีความสำคัญเพื่อระลึกถึงบุคคลสำคัญ ซึ่งเป็นทั้งครูและผู้ขับเคลื่อนรากฐานศิลปะของไทย

ประวัติ ศิลป์ พีระศรี บิดาแห่งศิลปะไทย

ประวัติศาสตราจารย์ ศิลป์ พีระศรี มีชื่อเดิมว่า คอร์ราโด เฟโรชี (Corrado Feroci) เกิดเมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2435 ที่เขตซานโจวันนี (San Giovanni) เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เป็นบุตรของสามีภรรยาผู้ประกอบอาชีพะธุรกิจการค้า ด้วยความสนใจในศิลปะตั้งแต่เด็ก จึงได้สมัครเข้าเป็นลูกมือศิลปินมีชื่อตามสตูดิโอต่าง ๆ ในเมืองฟลอเรนซ์ และมีความแน่วแน่ที่จะเข้าเรียนโรงเรียนศิลปะเรื่อยมา แม้จะถูกคัดค้านจากพ่อแม่

ในปี 2451 คอร์ราโดก็สามารถเข้าเรียนที่สถาบันศิลปแห่งนครฟลอเรนซ์ (Accademia di Belle Arti di Firenze) ก่อนจะสำเร็จการศึกษาในปี 2458 ขณะอายุ 23 ปี ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 1 ได้รับประกาศนียบัตรช่างปั้นช่างเขียน ต่อมาได้สอบคัดเลือกและได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์ประจำราชวิทยาลัย

13 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี
ภาพจาก : เฟสบุ๊ก สำนักวิจัยศิลป์ พีระศรี

ในปี 2466 ศาสตราจารย์คอร์ราโด (ศิลป์ พีระศรี) มีประวัติชนะการประกวดการออกแบบเหรียญเงินตราสยามที่จัดขึ้นในยุโรป และได้รับการคัดเลือกจาก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ให้มาปฎิบัติงานในสยาม

ด้วยเหตุนี้จึงได้เดินทางเข้าสู่สยามพร้อมกับภรรยาและบุตรสาว ในฐานะข้าราชการช่างปั้นประจำกรมศิลปากร กระทรวงวัง เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2466 ขณะมีอายุได้ 32 ปี และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอาจารย์สอนวิชาช่างปั้นหล่อ แผนกศิลปากรสถานแห่งราชบัณฑิตยสภา ในปี 2469

13 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี
ภาพจาก : เว็บไซต์ วิกิพีเดีย

เมื่อแรกเริ่มการรับราชการ ท่านได้แสดงฝีมือจนเป็นที่ยอมรับของคนในกระทรวง ศาสตราจารย์คอร์ราโดได้วางหลักสูตรอบรมให้แก่ผู้ที่สนใจในวิชาประติมากรรมโดยไม่เก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งบุคคลที่ผ่านการอบรมก็ได้เป็นหนึ่งในกำลังสำคัญของกิจการงานปั้นหล่อของกรมศิลปากร

ทำให้ทางราชการได้ขอให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดวางหลักสูตรการศึกษารูปแบบเดียวกันกับสถาบันศิลปะในยุโรป ต่อมาท่านได้วางหลักสูตรวิชาจิตรกรรมและประติมากรรมขึ้น เพื่อใช้ใน โรงเรียนประณีตศิลปกรรม สังกัดกรมศิลปากรและพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อยมา

13 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี
ภาพจาก : เว็บไซต์ วิกิพีเดีย

การได้รับสัญชาติไทยของ นายศิลป์ พีระศรี

ในปี 2485 สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอิตาลียอมจำนนต่อฝ่ายสัมพันธมิตร ชาวอิตาลี ในประเทศไทยจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมตัวของญี่ปุ่น ทำให้ศาสตราจารย์คอร์ราโดเองก็ถูกควบคุมตัวไว้เช่นกัน แต่รัฐบาลไทยได้เจรจาให้ปล่อยตัว

หลวงวิจิตรวาทการ ได้ดำเนินการทำเรื่องราวขอโอนสัญชาติจากสัญชาติอิตาลีมาเป็นสัญชาติไทย โดยเปลี่ยนชื่อของท่านจากนายคอร์ราโด เฟโรจีให้มาเป็น นายศิลป์ พีระศรี นับแต่นั้นมา

13 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี
ภาพจาก : เว็บไซต์ วิกิพีเดีย

การจัดตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากร

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2486 มีคำสั่งให้ พระยาอนุมานราชธน อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น ดำเนินการปรับปรุงหลักสูตร และตราพระราชบัญญัติยกฐานะโรงเรียนศิลปากรขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยจัดตั้ง คณะจิตรกรรมและประติมากรรม ขึ้นเป็นคณะวิชาแรก ซึ่งศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ก็ได้ดำรงตำแหน่งคณบดีคนแรกของคณะจิตรกรรมควบคู่ไปกับตำแหน่งอาจารย์ผู้สอน

13 กันยายน วันศิลป์ พีระศรี
ภาพจาก : เฟสบุ๊ก สำนักวิจัยศิลป์ พีระศรี

ประวัติผลงานศิลปะของ “ศิลป์ พีระศรี”

สำหรับประวัติผลงานศิลปะของศิลป พีระศรี หรือ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี มีมากหมายหลายชิ้นที่โดยส่วนใหญ่เป็นรูปแบบงานประติมากรรมขนาเท่าคนจริง ทีมงานเดอะไทยเกอร์จึงจะขอยกตัวอย่างผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ให้ได้รูจักกันทั้งหมด 5 ชิ้นดังนี้

ประวัติ วันศิลป์ พีระศรี พระบรมราชานุสาวรีย์_รัชกาลที่_1
ภาพจาก : วิกิพีเดีย ศิลป พีระศรี

1. พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงจักรี

พระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงจักรี สร้างในปี ปี 2472 ประดิษฐานอยูที่ประดิษฐานที่เชิงสพานพระพุทธยอดฟ้า กรุงเทพมหานครฯ มีขนาดเท่าคนจริง โดยงานประติมากรรมพระบรมราชานุสาวรีย์ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงจักรี เป็นหนึ่งในผลงานที่ศิลป์ พีระศรี เดินทางไปควบคุมดูแลกระบวนการหล่อที่ปะรเทศอิตาลี

ประวัติ วันศิลป์ พีระศรี อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

2. อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี

มาต่อกันที่ผลงานประติมากรรมชิ้นนี้ อนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี ตั้งอยูที่จังหวัดนครราชสีมา สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2477 ถัดจากงานชิ้นแรกนาน 5 ปี เป็นผลงานอนุเสาวรีย์วีรสตรีไทยอันเป็นจุดท่องเที่ยวสำคัญและศูนย์รวมจิตใจของชาวจังหวัดโคราชอีกด้วย

ประวัติ วันศิลป์ พีระศรี อนุสาวรีประชาธิปไตย

3. อนุสาวรีประชาธิปไตย

เรียกว่าเป็นผลงานที่รู้จักกันทั้งประเทศสำหรับ “อนุสาวรีประชาธิปไตย” ตั้งอยูที่ถนนราชดำเนิน กรุงเทพมหานคร โดยสร้างขึ้นในปี 2482 อีกทั้งยังเป็นผลงานที่ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ลงมือปั้นแบบและควบคุมงานประติมากรรมก่อสร้างทั้งหมดด้วยตัวเอง

ประวัติ วันศิลป์ พีระศรีพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

4. พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

ผลงานประติมากรรม พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2493 มีความโดดเด่นด้วยลักษณะที่สวยงามสมจริง ถูกต้องตามหลักสัดส่วนกายวิภาคศาสตร์สมบูรณ์แบบ

พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ วันศิลป์ พีระศรี

5. พระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์

ลำดับถัดมาคือผลงานประติมากรรม “พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระนเรศวรมหาราช” หรือพระบรมราชานุสรณ์ดอนเจดีย์ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2497 แลนด์มาร์กสำคัญของชาวสุพรรณบุรี ตั้งอยู่ใน ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3038 อำเภอดอนเจดีย์ จังหวัดสุพรรณบุรี โดยเป็นรูปปั้นแสดงการยุทธหัตถี สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ศิลปะยืนยาว ชีวิตสั้น” เป็นคำกล่าวของศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี ซึ่งได้ให้แรงบันดาลใจกับใครหลาย ๆ คน จวบจนปัจจุบัน ท่านได้ทุ่มเทชีวิตเพื่อสอนและวางรากฐานให้วงการศิลปะไทยจวบจนบั้นปลายชีวิต ในวันที่ 13 กันยายน ของทุกปี งานวันศิลป์ พีระศรีจะถูกจัดขึ้นเพื่อเป็นการระลึกถึงท่านนั่นเอง.

อ้างอิง : 1, 2, 3.

mintzz

นักเขียน นักเล่าสารพัดเรื่อง เปิดกว้างในประเด็นต่างๆ ตั้งแต่เรื่องเล็กไปจนถึงเรื่องใหญ่ โดยหวังให้ผู้อ่านได้รับทั้งความรู้และความบันเทิงควบคู่กัน เพราะไม่ว่าข่าวสารประเภทไหนก็สามารถเขียนและเล่าให้สนุกได้!

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button