ข่าวข่าวอาชญากรรม

แจง 4 ข้อ เข้าใจผิด กฎหมาย PDPA ถ่ายภาพติดบุคคลอื่น กล้องวงจรปิด ข้อมูลส่วนบุคคล

พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล 2562 หรือ กฎหมาย PDPA เปิดข้อมูล 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เตรียมมีผล เริ่มใช้จริง 1 มิ.ย.นี้

จากกรณีที่ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) แจ้งพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (พ.ศ.2562) หรือ PDPA จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มิถุนายน 2565 หลังจากเลื่อนการประกาศใช้มาแล้ว 2 ปี

แม้หลักสำคัญ ของกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล PDPA ล่าสุดนี้ คือ การสร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชน เกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล ในการถูกนำไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และได้รับการดูแลมิให้มีการนำข้อมูลไปใช้งานในทางที่ผิด

อย่างไรก็ตามด้วยความที่เป็นกฏหมายที่จะเริ่มทีผลบังคับใช้ ทำให้ยังมีคนจำนวนมกาที่ยังเข้าใจผิดเกี่ยวกับ กฏหมายคุ้รครองข้อมูลส่วนบุคคลฉบับนี้ ทำให้ ล่าสุดเฟซบุ๊กแฟนเพจ เฟซบุ๊กแฟนเพจ PDPC Thailand ได้ออกมาโพสต์อัปเดต ข้อมูล 4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA เพื่อกันข้อผิดพลาดกรณีเกิดความสับสนกับกฎหมายใหม่นี้ขึ้น

4 เรื่องไม่จริงเกี่ยวกับ PDPA มีดังนี้

1. การถ่ายรูป-ถ่ายคลิป ติดภาพคนอื่นโดยเจ้าตัวไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ : กรณีการถ่ายรูป-ถ่ายคลิปโดยติดบุคคลอื่นโดยผู้ถ่ายรูป-ถ่ายคลิปไม่เจตนา และการถ่ายรูปถ่ายคลิปดังกล่าวไม่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายกับผู้ถูกถ่าย สามารถทำได้ หากเป็นการใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว

2. ถ้านำคลิปหรือรูปถ่ายที่ติดคนอื่นไปโพสต์ในโซเชียลมีเดียโดยบุคคลอื่นไม่ยินยอมจะผิด PDPA

ตอบ : สามารถโพสท์ได้ หากใช้เพื่อวัตถุประสงค์ส่วนตัว ไม่ใช้แสวงหากำไรทางการค้าและไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล

3. ติดกล้องวงจรปิดแล้วไม่มีป้ายแจ้งเตือนผิด PDPA

ตอบ : การติดกล้องวงจรปิด ภายในบ้าน ไม่จำเป็นต้องมีป้ายแจ้งเตือน หากเพื่อป้องกันอาชญากรรม และรักษาความปลอดภัยกับตัวเจ้าของบ้าน

4. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องให้ความยินยอมทุกครั้งก่อนนำข้อมูลไปใช้

ตอบ : ไม่จำเป็น ต้องขอความยินยอม หากการใช้ข้อมูลดังกล่าว

(1) เป็นการทำตามสัญญา
(2) เป็นการใช้ที่มีกฎหมายให้อำนาจ
(3) เป็นการใช้เพื่อรักษาชีวิตและ/หรือ ร่างกายของบุคคล
(4) เป็นการใช้เพื่อการค้นคว้าวิจัยทางสถิติ
(5) เป็นการใช้เพื่อประโยชน์สาธารณะ
(6) เป็นการใช้เพื่อปกป้องผลประโยชน์ หรือสิทธิของตนเอง

ทั้งนี้ หลักการข้างต้น อาจเปลี่ยนแปลงตามข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นเป็นกรณีๆไป โดย PDPA ย่อมาจาก Personal Data Protection Act B.E. 2562 (2019) คือ “พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562” เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิ์กับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล สร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอมที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต

ขอบคุณข้อมูล : PDPC Thailand

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button