เทคโนโลยี

เผยภาพ ‘หลุมดำ’ ใจกลางทางช้างเผือก ครั้งแรกในประวัติศาสตร์

วินาทีประวัติศาสตร์! เผย ภาพ ‘หลุมดำ’ ใจกลางทางช้างเผือก โดยทีมนักดาราศาสตร์ European Southern Observatory (ESO) ซึ่งใช้เครือข่าย กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Event Horizon Telescope (EHT) ยืนยัน คำทำนาย ทฤษฎีสัมพัทธภาพของไอน์สไตน์

อัปเดต ข่าวดาราศาสตร์ เมื่อวันพฤหสบดีที่ 12 พฤษภาคม 2565 เวลา 20.00 น. ตามเวลาประเทศไทย บนเฟสบุ๊ก สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ NARIT ได้รายงานการค้นพบ ภาพ หลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า Sgr A* ภาพแรก ณ ใจกลางทางช้างเผือก โดยทีมนักดาราศาสตร์ European Southern Observatory (ESO) ซึ่งใช้เครือข่าย กล้องโทรทรรศน์วิทยุ Event Horizon Telescope (EHT) ซึ่งเป็นหลุมดำมวลยิ่งยวด ใจกลางทางช้างเผือก ตามคำทำนายของ ไอน์สไตน์ เกี่ยวกับ ทฤษฎีสัมพัทธภาพ

ภาพ หลุมดำ

ย้อนกลับไปเมื่อปี ค.ศ. 1933 นักดาราศาสตร์ได้ค้นพบแหล่งกำเนิดคลื่นวิทยุปริศนา จากบริเวณใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ในตำแหน่งของกลุ่มดาวคนยิงธนู ซึ่งปัจจุบันก็คือ ภาพ หลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) และได้เจอกับหลักฐานชิ้นสำคัญ ที่บ่งชี้ว่า ดาวฤกษ์และแก๊สร้อนที่โคจรรอบวัตถุนี้ มีความเร็วสูงมากจนวัตถุนี้จะต้องมีแรงโน้มถ่วงมหาศาล ที่อยู่ภายในปริมาตรที่น้อยมาก ซึ่งตรงกับคุณสมบัติของหลุมดำมวลยิ่งยวด

ในปี ค.ศ. 2020 นักดาราศาสตร์อย่าง Reinhard Genzel และ Andrea M. Ghez ได้รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับ Roger Penrose ในการค้นพบหลักฐานที่บ่งชี้ถึงการมีอยู่ของหลุมดำที่ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ซึ่งนับว่าเป็นการค้นพบครั้งยิ่งใหญ่ของวงการดาราศาสตร์ ในรอบหลายทศวรรษ

เพราะก่อนหน้านี้ยังไม่เคยมีหลักฐานเกี่ยวกับหลุมดำ “Sagittarius A*” (แซจิแทเรียส เอ สตาร์) มาก่อน อีกทั้งภาพหลุมดำ ที่ค้นพบนี้ก็เป็นภาพหลุมดำจริง ๆ ภาพแรกบนโลกอีกด้วย

หลุมดำ
ภาพจาก : eventhorizontelescope

ซึ่ง ภาพ หลุมดำ ที่ได้รับชมกันอยู่ มาจากเทคโนโลยีเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ ที่ใช้เวลาพัฒนามากถึง 5 ปี ซึ่งภาพแรกของ หลุมดำ มวลยิ่งยวด Sgr A* ณ ใจกลางกาแล็กซีทางช้างเผือก ภาพนี้ได้รับการเชื่อมต่อข้อมูลจาก หอสังเกตุการณ์ดาราศาสตร์วิทยุกว่า 8 แห่งทั่วโลก ภายใต้เครือข่าย EHT เพื่อประกอบเป็นข้อมูล เปรียบได้กับกล้องโทรทรรศน์ ที่มีขนาดใหญ่เท่าโลก

โดย “หลุมดำ” คือ วัตถุปริศนาที่มีแรงโน้มถ่วงสูงมาก ที่แม้กระทั่งแสงก็ไม่อาจเล็ดลอดออกไปได้ ซึ่งเราสามารถสังเกตแก๊สร้อนที่สว่าง รอบ ๆ หลุมดำ จนเกิดเป็นภาพวงแหวน ล้อมรอบเงาดำ ซึ่งเป็นบริเวณที่เรียกว่า ขอบฟ้าเหตุการณ์ ของหลุมดำ (Event Horizon)

อ้างอิง : Event Horizon Telescope, iopscience

ภาพ หลุมดำ

Thaiger deals

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button