สุขภาพและการแพทย์

แนวทางจ่ายค่าดูแลผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว รับบริการสถานพยาบาลอื่น เช็กเลยที่นี่

แนวทางจ่ายค่าดูแลผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว รับบริการสถานพยาบาลอื่น เช็คเลยที่นี่ สิทธิบัตรทอง 30 บาท การเข้ารับสถานพยาบาลอื่น หรือโรงพยาบาลเอกชน มีอะไรที่ควรรู้บ้าง

ล่าสุด บอร์ด สปสช. เห็นชอบแนวทางการจ่ายชดเชยค่าบริการผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว สิทธิบัตรทอง 30 บาทที่เข้ารับบริการสถานพยาบาลอื่นหรือโรงพยาบาลเอกชนที่ทำข้อตกลงเข้าร่วมให้บริการกับ สปสช.

บอร์ด สปสช. หรือ ที่ประชุมคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 4/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 4 เม.ย. 2565 ซึ่งมี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เป็นประธาน

มีมติรับรองแนวทางการจ่ายค่าใช้จ่ายกรณีการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มผู้ป่วยสีเขียว ที่รับบริการยังสถานบริการอื่น (ไม่ได้เข้าร่วมเป็นหน่วยบริการในระบบบัตรทอง) ภายหลังคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการปรับหลักเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติโควิด-19 UCEP Plus เมื่อวันที่ 8 มี.ค. 2565 ไม่ครอบคลุมในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มสีเขียว ไม่มีอาการ และมีอาการเล็กน้อย

เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากประกาศของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) ที่มีผลเมื่อวันที่ 16 มี.ค. 2565 กำหนดให้ผู้ป่วยโควิด-19 ระดับความรุนแรงกลุ่มสีเหลืองและสีแดงที่เข้าเกณฑ์ UCEP Plus ประกอบด้วย ผู้ที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ ใช้เครื่องควบคุมการให้ออกซิเจนอัตราการไหลสูง (O2 High flow)

ใช้สายหรือท่อให้ออกซิเจนทางจมูก (O2 Canular) กลุ่ม 608 หายใจเหนื่อยหอบ และหญิงตั้งครรภ์ ทั้งนี้ด้วยหลักเกณฑ์ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติโควิด-19 UCEP Plus นี้ กำหนดการใช้สิทธิ UCEP Plus เฉพาะผู้ป่วยโควิด-19 กลุ่มฉุกเฉินวิกฤตเท่านั้น โดยค่าบริการกำหนดให้เป็นการจ่ายชดเชยแบบ Fee schedule เริ่มตั้งแต่เข้ารับบริการจนออกจากโรงพยาบาล

แนวทางจ่ายค่าดูแลผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว 2565

แนวทางจ่ายค่าดูแลผู้ป่วยโควิด กลุ่มสีเขียว | สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มอาการสีเขียว

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ทำข้อตกลงกับสถานพยาบาลในการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ โดยแบ่งเป็นผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในเหมือนกับหน่วยบริการในระบบ โดยผู้ป่วยนอกจะจ่ายแบบแยกกักตัวที่บ้าน (OP Self Isolation) โดยเหมาจ่าย 1,000 บาทต่อราย ประกอบด้วย ค่าให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวในการแยกกักตัวที่บ้าน การให้ยาตามอาการ ฟ้าทะลายโจร หรือยาฟาวิพิราเวียร์ (Favipiravir) (ที่เบิกจากกระทรวงสาธารณสุข) รวมค่าจัดส่ง

การประสานติดตามอาการเมื่อครบ 48 ชั่วโมง และการจัดระบบส่งต่อเมื่อผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงจำเป็นต้องส่งต่อเข้ารับบริการในโรงพยาบาล กับอีกส่วนหนึ่งคือกรณีพ้น 48 ชั่วโมงไปแล้วผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงแล้วโทรมาปรึกษาสถานบริการอื่น โดยส่วนนี้ถ้ามีการจัดระบบ สปสช. จะจ่ายให้อีก 300 บาทต่อราย

ในส่วนของบริการแบบผู้ป่วยใน เช่น การดูแลแบบ Home Isoaltion: HI/Community Isolation:CI, Hotel Isolation โรงพยาบาลสนาม และ Hospitel ฯลฯ

จะต้องทำการจ่ายแบบเหมาจ่ายโดยครอบคลุมค่าดูแลรวมอาหาร 3 มื้อ พร้อมคำปรึกษา ค่ายาฟ้าทะลายโจร ค่าอุปกรณ์ติดตามสัญญาณชีพ และค่าเอกซเรย์ปอด (Chest X-ray) กรณีที่มีความจำเป็น โดยในกลุ่มนี้ สปสช. จะเหมาจ่ายกรณีรักษาตั้งแต่ 1-6 วัน อยู่ที่ 6,000 บาท สำหรับการรักษา 7 วันขึ้นไป จะเหมาจ่ายอยู่ที่ 12,000 บาท

สำหรับรายชื่อโรงพยาบาลเอกชนที่แจ้งความประสงค์เข้าร่วมให้บริการผู้ป่วยโควิด-19 สีเขียวนั้น สามารถตรวจสอบรายชื่อได้ที่เว็บไซต์ สปสช. >> คลิก

? สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่


Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button