ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

หา! ว่ายังไงนะค้า ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ เขียนอย่างนี้ถึงจะถูก?

งานนี้คอกาแฟและชาวคาเฟ่มีอึ้ง เมื่อ ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ ที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ราชบัณฑิตออกมา ซึ่งก่อนหน้านี้เกิดกระแสที่ราชบัณฑิตเปลี่ยนชื่อเมืองหลวงภาษาอังกฤษเป็น Bangkok และ Krung​Thep​ Maha​ Nakhon​ คราวนี้ถึงคิวของเครื่องดื่มอย่างกาแฟและคาเฟ่กันแล้ว คาปูชิโน่ มอคคา ลาเต้ คาเฟ่ หลบไป มาเรียนรู้ชุดคำทับศัพท์ใหม่จากราชบัณฑิตกัน ทำไมถึงเขียนแบบนี้ The Thaiger จะอธิบายให้ฟังทีละคำไปเลย

ราชบัณฑิต สร้างเรื่อง สร้างคำ บัญญัติ ‘คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ’ แบบนี้อิงจากหลักอะไร ไปดู

  • Cappuccino

เริ่มกันที่คำทับศัพท์คำแรก “คาปูชิโน่” ซึ่งเป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Cappuccino

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : คาปูชิโน่

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : คัปปุชชีโน

โดยหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว u แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอุ
  • ตัว i แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอิ
  • ตัว o แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น โอ

ดังนั้นคำว่า Cappuccino จึงทับศัพท์ว่า คัปปุชชีโน นั่นเอง

  • Latte

ต่อกันที่คำทับศัพท์คำต่อมา “ลาเต้” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Latte

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : ลาเต้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : ลัตเต

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว e ถอดเสียงได้เป็น สระเอ

ดังนั้นคำว่า Latte จึงทับศัพท์ว่า ลัตเต นั่นเอง

  • Mocha

ส่วนคำทับศัพท์ว่า “มอคค่า” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Mocha

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มอคค่า

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มอคา

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว o แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น ออ
  • ตัว a แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอา

ดังนั้นคำว่า Mocha จึงทับศัพท์ว่า มอคา นั่นเอง

  • Macchiato

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มัคคิอาโต” เป็นคำในภาษาอิตาลี สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Macchiato

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มัคคิอาโต, มัคคิอาโต้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มัคคียาโต

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอิตาลี มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว c ที่ใช้เป็นตัวสะกด จะต้องมีเสียงตามที่เป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ถัดไป จึงถอดเสียงได้เป็น คี
  • ตัว ia ที่มีสระอื่นนำหน้าหรืออยู่ต้นพยางค์ (ch) ถอดเสียงได้เป็น ยา
  • ตัว a แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอา
  • ตัว o แบบไม่มีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น โอ

ดังนั้นคำว่า Macchiato จึงทับศัพท์ว่า มัคคียาโต นั่นเอง

  • Matcha

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มัจฉะ” เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Matcha

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มัจฉะ

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มัตจะ

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาญี่ปุ่น มีดังนี้

  • ตัว a แบบมีตัวสะกด ถอดเสียงได้เป็น สระอะ, ไม้หันอากาศ
  • ตัว t ในตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ต้นคำ ถอดเสียงได้เป็น ต
  • ตัว ch ในตำแหน่งอื่นที่ไม่ใช่ต้นคำ ถอดเสียงได้เป็น จ

ดังนั้นคำว่า Matcha จึงทับศัพท์ว่า มัตจะ นั่นเอง

  • Cafe

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “คาเฟ่” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Cafe

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : คาเฟ่

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : คาเฟ, แคเฟ

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว a ถอดเสียงได้เป็น สระอา, สระแอ
  • ตัว e ถอดเสียงได้เป็น สระเอ

ดังนั้นคำว่า Cafe จึงทับศัพท์ว่า คาเฟ, แคเฟ นั่นเอง

  • Milk

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “มิลค์” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Milk

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : มิลค์

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : มิลก์

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว i ถอดเสียงได้เป็น สระอิ
  • ตัว k ถอดเสียงได้เป็น พยัญชนะ ก

ดังนั้นคำว่า Milk จึงทับศัพท์ว่า มิลก์ นั่นเอง

  • Smoothie

สำหรับคำทับศัพท์ว่า “สมูทตี้” เป็นคำในภาษาอังกฤษ สะกดเป็นภาษาอังกฤษว่า Smoothie

เดิมคนไทยเขียนคำทับศัพท์ : สมูทตี้

ราชบัณฑิตบัญญัติคำทับศัพท์ว่า : สมูทที

ซึ่งหลักในการทับศัพท์คำภาษาอังกฤษ มีดังนี้

  • ตัว th ถอดเสียงได้เป็น พยัญชนะ ท
  • ตัว ie ถอดเสียงได้เป็น สระอี

ดังนั้นคำว่า Smoothie จึงทับศัพท์ว่า สมูทที นั่นเอง

เป็นอย่างไรบ้างคะ พอเห็นหลักเกณฑ์ในราชบัณฑิตยสถานกำหนดไว้แล้ว คิดว่าควรเขียนคำตามหลักที่สำนักราชบัณฑิตกำหนดขึ้น หรือควรเขียนแบบเดิมอย่างที่คุ้นเคยต่อไปดี ยังไงก็ลองนำประเด็นนี้ไปแชร์กับคนรอบตัวดูนะคะว่าเห็นด้วยหรือไม่ที่เราจะต้องเขียนว่า “จะไปแคเฟมีใครฝากซื้อคัปปุชชีโน ลัตเต มัคคียาโตไหม” อ่านแล้วแปลกตาไม่น้อยเลยนะเนี่ย

ราชบัณฑิต บัญญัติ คำทับศัพท์ชื่อกาแฟ

อ้างอิงจาก (1) (2)

 

ติดตาม The Thaiger บน Google News:

0 0 โหวต
Article Rating
สมัครรับข้อมูล
แจ้งเตือนเกี่ยวกับ
0 Comments
เก่าแก่ที่สุด
ใหม่ล่าสุด ถูกโหวตมากที่สุด
Inline Feedbacks
ดูความคิดเห็นทั้งหมด

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button
0
เราอยากทราบความคิดเห็นของคุณ โปรดแสดงความคิดเห็นx