ผู้ชายผู้หญิงไลฟ์สไตล์

มาดู ‘วัยรุ่นเทสดี’ ศัพท์ใหม่ 2022 ไวรัลจาก TIKTOK อยากเป็นคนเทสดี ต้องทำยังไง

เกิดเป็นกระแสขึ้นมาสำหรับคำว่า “วัยรุ่นเทสดี” แพร่หลายไปในหลาย ๆ แพลตฟอร์มบนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะชาวโซเชียลวัยรุ่น ที่นำมาทำเป็นคอนเทนต์จำนวนมาก จนคนสงสัยกันว่า คำว่าวัยรุ่นเทสดี ที่ฮิตมาก ในTOKTOK คืออะไร และต้องทำยังไงถึงจะเป็นวัยรุ่นเทสดีบ้าง มารู้จักศัพท์นี้กันว่าสื่อถึง เรื่องเทส หรือ รสนิยม เป็นสิ่งที่วัดกันได้จริงหรือไม่ มาดูกัน

วันนี้ Thaiger ขอมาอัปเดตนิยสมศัพท์ของปี 2565 มาครึ่งปีแล้ว วัยรุ่นเทสดีเป็นอย่างไรบ้าง

จุดเริ่มต้นของกระแส “วัยรุ่นเทสดี”

วัยรุ่นเทสดีคืออะไร?

คำว่า วัยรุ่นเทสดี เริ่มมาจากผู้ใช้ TikTok รายหนึ่ง ลงคลิปภาพถ่ายขณะเดินชมหอศิลป์ ด้วยการแต่งกายแบบขาวดำ สไตล์มินิมอล เสื้อเชิ้ตโคร่ง ๆ ผมยาวปิดตา ใส่แมสก์สีดำ ดูเผิน ๆ ก็ไม่น่าจะเป็นประเด็นได้ เพราะคนในคลิปก็แต่งตัวดูดี แต่เนื่องจากมีคนเข้าไปคอมเมนต์ชมว่าคุณคนนี้เทสดี จากนั้นก็เริ่มมีคอมเมนต์แซะตามมามากมาย ไม่ว่าจะเป็น “นี่หรอเรียกเทสดี”, “หมดยุคใส่แมสเตรียมขิต” ฯลฯ จนกลายเป็นประเด็นถกเถียงขึ้นมาว่า เทสดี หมายถึงอะไร?

เทสดี แบบกระแสนิยมเป็นแบบไหน

เทส มาจากคำว่า taste หมายถึง รสชาติ หรือ รสนิยม นอกจากใช้บ่งบอกรสชาติของอาหารแล้ว ก็ยังมีการนำมาใช้ในสื่อถึงความชอบ สไตล์อีกด้วย

หากจะพูดถึงคำว่า เทสดี หรือ รสนิยมดี บอกเลยค่ะว่าสิ่งนี้ไม่สามารถเอามาตัดสินกันได้ เพราะการแต่งตัวหรือความชอบของแต่ละคนก็ดีในแบบของเขา แต่ที่เห็นจะเกี่ยวข้องกับคำว่าวัยรุ่นเทสดีมากที่สุดในตอนนี้ เห็นจะเป็นการแต่งตัวในลุคสไตล์เกาหลีเกาใจแบบโอป้า แล้วอะไรบ้างที่บ่งบอกความเป็นวัยรุ่นเทสดี ตามความเห็นของชาวเน็ตบางกลุ่ม The Thaiger มีคำอธิบายให้ ดังนี้ค่ะ

  • แต่งตัวด้วยเสื้อผ้าโอเวอร์ไซส์ สไตล์มินิมอล โทนขาว-ดำ
  • ทรงผม ทูบล็อก (Two Block) แบบที่มีผมลงมาปรกหน้าเล็กน้อย
  • สวมแมสก์สีดำ
  • ใส่เครื่องประดับสีเงิน เช่น สร้อยคอรูปกางเขน เลสข้อมือ
  • ดัดฟัน
  • สะพายกระเป๋าผ้า
  • ชอบไปหอศิลป์ พิพิธภัณฑ์
  • ชอบเสพงานศิลปะ
  • โพสต์ท่าถ่ายภาพแบบไม่เห็นหน้า ไม่มองกล้อง ดูเป็นธรรมชาติ
  • ฟังเพลงของวง The Weekend
  • พูดอ้อนแฟนด้วยคำน่ารัก ๆ เช่น อุนแฟน เธอขา
  • ฯลฯ

วัยรุ่นเทสดีเป็นคำชมหรือคำแซะกันแน่?

จริง ๆ แล้วการชมใครว่ามีรสนิยมดีหรือมีเทสดี เป็นเรื่องที่ทำให้สังคมน่าอยู่ ผู้ได้รับคำชมก็รู้สึกดี ผู้ชมก็ได้ส่งความรู้สึกดี ๆ ให้กับผู้อื่น แต่หากนำคำนี้มาใช้เพื่อชมคนที่มีรสนิยมแบบหนึ่ง แล้วกดคนที่ไม่ได้ทีความชอบประเภทเดียวกัน นั่นคือสิ่งที่ไม่น่าทำค่ะ เพราะการเหยียดหรือกดทับใคร ไม่ใช่การทำให้เราดูดีขึ้นมาได้ คุณเห็นด้วยหรือไม่คะ

ความมั่นใจเป็นสิ่งที่สร้างได้ แต่อาจจะยากสำหรับบางคน ดังนั้นแล้วเราไม่ควรไปพูดจาถากถางใคร หากลักษณะหรือสไตล์นั้นไม่ใช่สิ่งที่เราชอบ การไม่เข้าไปพูดแซะหรือดูถูกให้เขาเสียความมั่นใจ โฟกัสกับความชอบของตัวเอง น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคนนะคะ

Lalita C.

นักเขียนคอนเทนต์ SEO แห่งทีมไทยเกอร์ไทย คลุกคลีกับการเขียนตั้งแต่สมัยเรียน ชอบการใช้ความคิดสร้างสรรค์ ติดตามข่าวสารจากโลกออนไลน์ นำมาสรุป เล่าเรื่องให้เข้าใจง่าย ผ่านมุมมองน่าสนใจที่คนมักจะมองข้าม ทั้งข่าวบันเทิง บทความ งานเขียนแนวไลฟ์สไตล์ รวมถึงทุกอย่างที่อยากให้นักอ่านได้รู้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button