ข่าวข่าวภูมิภาค

สั่งไอโฟนได้เพาเวอร์แบงค์ ลูกค้าโวยขอเงินคืน พนง.ส่งของวอนเห็นใจแกะกล่องไปแล้ว

ดราม่า สั่งไอโฟนได้เพาเวอร์แบงค์ เจอแบบนี้ต้องทำไง ลูกค้าโวยขอเงินคืน แต่แกะกล่องไปแล้ว ยื้อยุดฉุดกระชากกันจนเสื้อขาด

ไฟแห่งดราม่านี้เกิดขึ้นยังโลกของผู้ใช้บัญชี TikTok โดยผู้ใช้งานที่ชื่อ @balaliw0ii0 ระบุแคปชั่นว่า “ทำไมผมต้องหนีผมจะหนีทำไม ผมไม่ใช่คนผิด แจ้งความได้นะ ทำร้ายร่างกาย กักขังหน่วงเหนี่ยวเห็นใจกันบ้างผมคนหาเข้ากินค่ำ ผมทำตามหน้าที่ผม #เห็นใจกันหน่อย”

จากในคลิปจะได้ยินเสียงของคนสั่งสินค้าออนไลน์ กับพนักงานส่งของกำลังโต้เถียงกัน ประมาณว่า “พี่โทรไปคุยกับร้ายที่สั่งก่อน อยู่ดีๆ จะมากระชาดฃกผมไม่ได้นะ เสื้อก็ขาด”

ส่วนฝั่งคนสั่งสินค้าในชุดเสื้อสีเลือดหมูก็พยายามจะกดเบอร์โทรติดต่อร้านค้าที่ได้สั่งซื้อมือถิอไอโฟนไป แต่ปรากฏว่าทางร้านปิดเฟซบุ๊กหนีไปแล้ว โดยตลอดในคลิปพนักงานก็พยายามจะอธิบายว่า ถ้าไม่รับสินค้าก็กดยกเลิกก่อน แต่ถ้าแกะกล่องพัสดุแล้ว คนส่งของจะต้องเป็นคนรับผิดชอบ เจ้าตัวเป็นแค่คนกลางที่นำสินค้ามาให้ ยอมรับว่าเหตุการณ์สั่งซื้สินค้าทางออนไลน์แล้วได้ไม่ตรงกับที่สั่งซื้อแบบนี้เจอเป็นประจำ

ต่อมาทราบว่าชายคนดังกล่าวสั่งโทรศัพท์ไอโฟนไปใน ราคา 1,699 บาท แต่เมื่อแกะกล่องดูกลับได้พาวเวอร์แบงค์มาแทน ซึ่งถึงตอนนี้ก็ไม่แน่ใจว่าพี่ผู้ชายเสื้อสีเลือดหมูได้รับการช่วยเหลือหรือแก้ปัญหาดังกล่วแล้วหรือยัง แต่ในทีนี้เราขอแยนะนำวิธีแก้ปัญหาเบื้องต้น กรณีที่สั่งซื้อสินค้าออนไลน์แล้วได้รับสินค้าไม่ตรงปก ดังนี้

– ติดต่อร้านค้าหรือแพลตฟอร์มที่สั่งซื้อ เพื่อเจรจาเปลี่ยนสินค้า หรือ ขอคืนเงิน แต่หากไม่สามารถตกลงกับคนขายได้ ให้รวบรวมหลักฐานดังต่อไปนี้

  • ใบสั่งซื้อสินค้าหรือคำสั่งซื้อสินค้า
  • ข้อความสนทนาการซื้อสินค้าระหว่างผู้ซื้อผู้ขาย
  • ข้อมูลร้านค้า
  • หลักฐานการชำระเงิน
  • ถ่ายรูปสินค้าและเก็บสินค้าไว้เป็นหลักฐาน
  • นำหลักฐานทั้งหมดแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษที่สถานีตำรวจท้องที่ เพื่อเป็นหลักฐาน

ขณะเดียวกันยังสามารถ โทรสายด่วน 1212 ซึ่งเป็นเบอร์ติดต่อของศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาออนไลน์ อีเมล : 1212@mdes.go.th โดย ETDA ให้คำแนะนำ คำปรึกษาปัญหาที่เกิดจากการซื้อสินค้าและบริการ ออนไลน์ เป็นศูนย์กลางประสานความร่วมมือในการรับ-ส่ง การแจ้งเบาะแส หรือเรื่องร้องเรียนออนไลน์ ระหว่างหน่วยงานความร่วมมือ โดยครอบคลุม 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ การกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงการกระทำความผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศ, การซื้อขายทางออนไลน์, ภัยคุกคามทางไซเบอร์ และ เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

หรืออีกช่องทาง ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.)โดยเน้นการคุ้มครองให้ผู้ประกอบธุรกิจโฆษณาเกินจริงต้องติดฉลากสินค้าอันตรายและสัญญาที่ทำกับผู้บริโภคที่ไม่เป็นธรรม และอยู่ในอำนาจที่ สคบ. เข้าไปดูแลได้ ติดต่อได้ที่สายด่วน 1166 อีเมล : consumer@ocpb.go.th

https://www.tiktok.com/@balaliw0ii0/video/7026683667900583194?is_copy_url=0&is_from_webapp=v1&q=%40balaliw0ii0%20&t=1636087533212&lang=en&sender_device=pc&sender_web_id=6969015586878293506

 

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button