ข่าวการเมือง

#saveวันเฉลิม ผู้ลี้ภัยการเมือง หลังถูกอุ้มหายหน้าที่พักในกัมพูชา

#saveวันเฉลิม (วันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์) ผู้ลี้ภัยการเมือง หลังถูกอุ้มหายหน้าที่พักในกัมพูชา

#saveวันเฉลิม – วานนี้ สำนักข่าว ประชาไท รายงานเหตุอุกอาจ นายวันเฉลิม สัตย์ศักดิ์สิทธิ์ อายุ 37 ปี ผู้ลี้ภัยทางการเมืองชาวไทยซึ่งปัจจุบันอาศัยอยู่ประเทศกัมพูชา ถูกอุ้มหายตัวไปจากหน้าคอนโด ที่กรุงพนมเปญ เมื่อช่วงเย็น โดยมีหลักฐานเป็นภาพจากกล้องวงจรปิด และพยานผู้คุยกับนายวันเฉลิม ก่อนจู่ ๆ จะถูกจับตัวไป

ประโยคสุดท้ายที่นายวันเฉลิมพูดคือ หายใจไม่ออก

ด้าน เพจ Poetry of Bitch ระบุเหตุของการที่นายวันเฉลิมกลายเป็นผู้ลี้ภัยทางการเมืองว่า เมื่อครั้งรัฐประหารปี 2557 นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายวันเฉลิมถูกคำสั่ง คสช. ให้ไปปรับทัศนคติ แต่นายวันเฉลิมไม่ได้ไปรายงานตัว จึงถูกออกหมายจับ หลังจากนั้นนายวันเฉลิมจึงได้ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ สำนักข่าวอิศรา ได้เปิดเผยเมื่อปี 2558 ว่ามีีชื่อว่านายวันเฉลิมโดนข้อหามาตรา 112 อีกด้วย

เมื่อช่วงปี 2561 ศาลออกหมายจับวันเฉลิม แอดมินเพจ กูต้องได้ 100 ล้านจากทักษิณแน่ ๆ ในข้อหา “นำสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน” จากการโพสต์วิจารณ์ คสช.

ล่าสุดกระแสของการถูกอุ้มหายของนายวันเฉลิมถูกพูดคุยอย่างมากในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะในทวิตเตอร์ ทำให้กระแสแฮชแทก #saveวันเฉลิม ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ โดยหลายความเห็น เช่น อาจารย์ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ระบุว่า “การอุ้มหาย (Forced disappearances) = ความรุนแรง ละเมิดกฎหมาย ผิดศีลธรรม ละเมิดสิทธิมนุษยชน ละเมิดคุณค่าความเป็นมนุษย์ เป็นการใช้อำนาจที่ป่าเถื่อนโหดร้าย”

ด้าน สหภาพนักเรียน นิสิต นักศึกษาแห่งประเทศไทย – Student Union of Thailand ได้ออกมาเคลื่อนไหวหลังเหตุการณ์อุ้มหายของนายวันเฉลิมว่า

“ทวงความเป็นธรรมให้วันเฉลิมและผู้ลี้ภัยทุกคน #saveวันเฉลิม วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน เวลา 17.00-18.00 ณ บริเวณ Skywalk หอศิลป์

ปรดเตรียมดอกไม้เพื่อร่วมทวงความเป็นธรรมให้ผู้ลี้ภัยทางการเมืองทุกคน (มีมาตรการความปลอดภัยรองรับภายใต้โรคระบาดโควิด-19)”

Aindravudh

นักเล่าเรื่อง จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ ผู้สนใจประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง ผนวกกับการเริ่มต้นเส้นทางด้วยการเขียนงานวรรณกรรม ก่อนผันตัวมาเจาะประเด็นข่าวทางสังคม ออนไลน์ ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button