ข่าวภูมิภาค

สตช.จับมือ กรมประมง เพิ่มความรู้กฎหมาย ตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ ฝั่งอันดามัน

กรมประมง ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดอบรมเชิงปฎิบัติการ “เพิ่มศักยภาพการทำงานของท่าเทียบเรือประมงในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ” ให้กับผู้ประกอบการท่าเทียบเรือประมง ผู้ประกอบการเรือประมงฝั่งอันดามัน เพื่อทำประมงถูกต้องตามกฎหมาย

เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (6 มิ.ย.) ที่โรงแรม โนโวเทล ภูเก็ต โภคีธรา จ.ภูเก็ต กรมประมง ร่วมกับ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการทำงานของท่าเทียบเรือประมงในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ” รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 5 – 7 มิ.ย.2562 ณ โรงแรมโนโวเทล ภูเก็ต โภคีธรา โดยมี พล.ต.ท.จารุวัฒน์ ไวศยะ ผู้บัญชาการสำนักงานกฎหมายและคดี ในฐานะประธานอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย ศูนย์บัญชาการการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (ศปมผ.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วย นางเพราลัย นุชหมอน ผู้เชี่ยวชาญด้านประมงทะเล กรมประมง โดยมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ สมาคมประมง ผู้ประกอบการท่าเทียบเรือประมง จาก 6 จังหวัดฝั่งทะเลอันดามัน ประกอบด้วย ระนอง พังงา ภูเก็ต สตูล กระบี่ และตรัง เข้าร่วมประมาณ 200 คน

พล.ต.ท.จารุวัฒน์ เปิดเผยว่า กรมประมงได้ร่วมกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติจัดอบรมโครงการเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การเพิ่มศักยภาพการทำงานของท่าเทียบเรือประมงในการตรวจสอบย้อนกลับสัตว์น้ำ” ขึ้นในพื้นที่ที่มีการทำประมงทะเลทั่งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน 4 ครั้ง โดยครั้งแรกได้จัดไปแล้วที่พัทยา ตามมาด้วย ภูเก็ต ประจวบศีรีขันธ์ และสงขลา เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ทำประมงทะเลทั่วทั้งประเทศ

เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมตระหนักถึงการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการไร้รายและการไร้ควบคุม (IUU) ให้ความรู้ความเข้าใจในแนวทางการปฏิบัติตามระบบตรวจสอบย้อนกลับของท่าเทียบเรือประมงภายใต้พระราชกำหนดการประมง พ.ศ.2558 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.2560 รวมถึงการรายงานอิเล็กทรอนิกส์อของกรมประมง (Thai Flagged Catch Certification System) ในการตรวจสอบย้อนหลังอย่างมีประสิทธิภาพ และเพื่อแลกเปลี่ยนและระดมความคิดเห็นผู้ใช้งานระบบ

สำหรับท่าเทียบเรือประมงที่ได้ขึ้นทะเบียนกับกรมประมงและจะต้องดำเนินการที่กฎหมายประมงกำหนดมีทั้งหมด 800 กว่าแห่ง ในฝั่งอันดามัน 200 แห่ง ส่วนเรือประพาณิชย์ที่ได้รับอนุญาตจับสัตว์น้ำถูกต้องตามกฎหมายมี 10,533 ลำ เรือประมงพื้นบ้าน 25,000 ลำ

พล.ต.ท.จารุวัฒน์ กล่าวเพิ่มว่า การอบรมในครั้งนี้จะเน้นการให้ความรู้ตามกฎหมายประมงที่มุ่งเน้นเรื่องการช่างน้ำหนักปลาแต่ละชนิดของเรือประมงและท่าเทียบเรือประมงที่ให้เรือประมงนำสัตว์น้ำขึ้นฝั่ง เนื่องจากในขณะนี้ยังมีท่าเทียบเรือประมงร้อยละ 20 – 30 ไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ช่างน้ำหนักปลาแต่ละชนิด ยึดน้ำหนักตามที่เหลือประมงแจ้ง ซึ่งผิดกฎหมายประมง ท่าเทียบเรือประมงทุกแห่งจะต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดเพื่อให้สามารถประเมินปริมาณสัตว์น้ำในท้องทะเลได้ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าทำให้ท้องทะเลมีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ขึ้น โดยเมื่อปีที่แล้ว เรือประมงพาณิชย์สามารถจับสัตว์น้ำได้เพิ่มขึ้นกว่า 250,000 ตัน เรือประมงพื้นบ้านจับได้เพิ่มกว่า 15,000 ตัน รวมไปถึงการขนส่งสัตว์น้ำจากหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง และการรายงานการช่างปริมาณสัตว์น้ำไปยังระบบของกรมประมง ทั้งที่เป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์และระบบธรรมดาทั่วไป

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button