ตอบสงสัย ‘เงินบำเหน็จตกทอด’ ของข้าราชการ คืออะไร? เปิดเงื่อนไขทายาทรับเงิน แบ่งเป็นกี่กรณี วิธียื่นเรื่อง เพื่อกำหนดผู้รับบำเหน็จ
บรรดาครอบครัวข้าราชการคงเคยได้ยินคำว่า “เงินบำเหน็จตกทอด” กันมาบ้าง ซึ่งเป็นเงินที่เมื่อข้าราชการหรือผู้รับบำนาญเสียชีวิตลง ทายาทของพวกเขาจะมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือพิเศษในส่วนนี้ แต่ในขณะเดียวกันก็อาจจะยังมีใครอีกหลายคนที่ไม่รู้ว่ามีสิทธิประโยชน์ในส่วนนี้อยู่ โดยล่าสุด กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ได้ออกมาโพสต์ตอบทุกข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินบำเหน็จตกทอดของข้าราชการ
‘เงินบำเหน็จตกทอด’ คืออะไร
ความหมายของเงินบำเหน็จตกทอด คือ เงินที่รัฐจ่ายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ทายาทของข้าราชการหรือผู้รับบำนาญเมื่อถึงแก่ความตาย ซึ่งการเสียชีวิตหรือถึงแก่กรรมนั้นมีได้เกิดจากการประพฤติชั่วร้ายแรงของตนเอง เช่น ฆ่าตัวตายหนีความผิดย่างร้ายแรง โทษทาง อาญาจำคุก เป็นต้น
การรับเงินบำเหน็จตกทอด
เงื่อนไขการรับเงินแบ่งออกเป็น 2 กรณี ได้แก่
1. กรณีข้าราชการเสียชีวิตระหว่างประจำการ ทายาทจะได้รับบำเหน็จตกทอด เท่ากับ เวลาราชการคูณ เงินเดือน ๆ สุดท้าย
2. กรณีผู้รับบำนาญเสียชีวิต ทายาทจะได้รับบำเหน็จตกทอด เท่ากับ 30 เท่าของเงินบำนาญ
ผู้มีสิทธิขอรับบำเหน็จตกทอด
สำหรับผู้ที่จะมีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตกทอด คือ ทายาทที่ถูกต้องตามกฎหมายตามเกณฑ์ ได้แก่
1. บุตร
2. สามีหรือภรรยา
3. บิดา มารดา หรือบิดาหรือมารดาที่มีชีวิตอยู่
4. กรณีทายาท 1-3 ได้เสียแล้ว ให้แบ่งระหว่างทายาทผู้มีสิทธิที่เหลืออยู่ตามสัดส่วนสิทธิ
- บุตร 1 – 2 คน ให้ได้รับ 2 ส่วน และหากมีบุตร 3 คนขึ้นไป ให้ได้รับ 3 ส่วน
- คู่สมรส ให้ได้รับ 1 ส่วน
- บิดา – มารดา ให้ได้รับ 1 ส่วน
5. ในกรณีที่ไม่มีทายาท 1-3 ให้จ่ายแก่บุคคลซึ่งผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้
นอกจากนั้น ทางกรมบัญชียังได้รวมรวมเหล่าคำถามยอดฮิต เพื่อมาตอบสงสัยให้ทุกคนทราบ โดยมีดังนี้
1. ถ้าไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาจะยุติลงจริงหรือไม่
คำตอบคือ หากไม่ได้ทำหนังสือแสดงเจตนาให้ผู้ใดหรือแสดงเจตนาไว้ แต่คนถูกระบุนั้นตายไปก่อน ให้สิทธิในบำเหน็จตกทอดนั้นเป็นอัน “ยุติลง”
2. หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอดจะต้องทำอย่างไรบ้าง
การทำหนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด ข้าราชการหรือผู้รับบำเหน็จสามารถแจ้งกับนายทะเบียนตันสังกัดของตัวเองได้ โดยกรอกข้อมูลตามแบบฟอร์มที่กำหนด และสามารถระบุจำนวนผู้รับสิทธิได้รับบำเน็จตตกทอดได้
กรณีที่ระบุผู้รับบำเน็จตกทอดไว้มากกว่า 1 คน ให้กำหนดส่วนที่จะได้รับสิทธิให้ชัดเจน เช่น นาย ก. ให้ได้รับ 1 ส่วน เด็กหญิง ค. ให้ได้รับ 2 ส่วน เป็นต้น
กรณีไม่ได้กำหนดส่วนที่จะได้รับสิทสิทธิรับบำเน็จตกทอด ให้ถือว่าผู้รับบำเหน็จตตกทอดทุกคนที่ระบุไว้นั้นมีสิทธิได้รับเท่ากัน อ้างอิงตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 และประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การแสดงเจตนา ระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด
ทั้งนี้ หนังสือแสดงเจตนาระบุตัวผู้รับบำเหน็จตกทอด สามารถดาวน์โหลดได้ที่นี่ คลิก
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง
- เงินเดือนข้าราชการ กันยายน 2567 เข้าวันไหน ลูกจ้าง-เงินบำนาญ
- ลูกจ้างอย่าเสียสิทธิ ลาออก ถูกเลิกจ้าง ได้เงินชดเชยประกันสังคม ระหว่างหางานใหม่
- ไขข้อสงสัย บำเหน็จ บำนาญ ต่างกันอย่างไร ข้าราชการเกษียณเลือกแบบไหนดี