ข่าว

อุทาหรณ์พ่อแม่ คลิปนาทีชีวิต “หนูน้อยจมน้ำทั้งที่มีห่วงยาง” นอนไอซียู 1 คืน ตอนนี้ปลอดภัยแล้ว

อุทาหรณ์ผู้ปกครอง คลิปนาทีหนูน้อยเล่นน้ำในสระกับเพื่อน ใส่ห่วงยางแต่เผลอจมลงก้นสระไม่รู้ตัว ท่ามกลางเด็ก ๆ ลงเล่นน้ำด้วยกัน เคราะด์ดีมีคนเห็นก่อนตะโกน รุด CPR ส่งรักษานอนไอซียู 1 คืน จนอาการปลอดภัย

วันที่ 24 เม.ย.2567 บัญชีเอ็กซ์ (X.) Red Skull ได้ลงคลิปอุทาหรณ์เด็กจมน้ำทั้ง ๆ ที่ใส่ห่วงยาง ข้อความจากในโพสต์ดังกล่าว ระบุ “วินาทีชีวิตเลยน้องหลุดจากห่วงยางแล้วจมน้ำในสระ โดยในสระมีพี่กับเพื่อนที่เล่นอยู่ โดยตอนน้องจมไปไม่มีใครสังเกตเลย กว่าจะรู้ว่าน้องจมคือมีน้องอีกคนที่เล่นด้วยกันตะโกนบอก ตอนนี้อาการปลอดภัยแล้ว”

เหตุการณ์ดังกล่าว แอคเคาต์ต้นเรื่องได้อธิบายข้อมูลเพิ่มเติมที่บอกเล่าจากผู้ปกครองของเด็กในคลิปว่า #อุทาหรณ์เตือนใจ กับ เด็กเล่นน้ำ เคยคิดว่ามีห่วงยางปลอดภัย

นั่งเฝ้าริมสระถ้าเกิดอะไรลูกเรียกคงช่วยทัน สรุปเผลอแค่ไม่ถึงนาที มาร์เวลจมน้ำแล้ว ทั้งพี่ทั้งเพื่อนอยู่ในสระด้วยกัน

ดีที่ “มาเก๊าตะ” โกนมาร์เวลเป็นอะไร ! โชกุนเลยหันมาดูน้องจมอยู่ก้นสระน้ำแล้ว โชกุนรีบดำลงไปอุ้มน้องขึ้นมา โชคดีที่มาร์เวลขึ้นมาแล้วคุณอ้วนเจเจช่วยกดน้ำออกมา 3-4ร อบ มาร์เวลฟื้นสติคืนมาได้ รู้สึกตัวพูดได้ แต่หายใจแล้วเจ็บ รีบส่ง รพ. หัวหิน หมอและพยาบาลดูแลรักษาอย่างดี เครื่องมือพร้อมมาก 7 นาทีถึงโรงพยาบาล

เอ็กซเรย์น้ำเต็มปอด หมอให้นอนไอซียู 1 คืน หลังจากนั้นฟื้นตัวดีขึ้นเรื่อยๆไม่มีอาการแทรกซ้อน รักษาตัวอยู่3วัน ตอนนี้หายปกติแล้วครับ #ขอบคุณ คุณหมอ พยาบาล รพ.หัวหิน คุณอ้วนเจเจ น้องมาเก๊าลูกผู้ใหญ่จืด พี่โชกุนที่ช่วยน้อง ทำให้มาร์เวลกลับมาได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย.

ข่าวเด็กจมน้ำ

หลังคลิปถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีคนเข้าให้ความเห็นว่า ห่วงยางกลม ถือว่ายังอันตรายมาก ดังนั้นทางที่ดีจึงคงวรจะต้องมีที่พยุงตัวที่แขนหรือชูชีพจะดีที่สุดด้วย.

วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น กรณีเด็กจมน้ำ ต้องทำอย่างไรบ้าง

อ้างอิงข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก โดย สสส. การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่รู้สึกตัว หากเด็กรู้สึกตัวหายใจได้เองการปฐมพยาบาลคือการเช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าแห้งให้แก่เด็ก และนำส่งโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบอาการแม้เด็กจะหายใจได้ดีในระยะแรกแต่อาจมีอาการหายใจลำบากได้ในภายหลังสาเหตุจากถุงลมในปอดถูกทำลายจากการสำลักน้ำ

เด็กจมน้ำทั้งที่มีห่วงยาง

การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ไม่หายใจและ/หรือ หัวใจไม่เต้น

  1. เรียกผู้อยู่ข้างเคียงให้มาช่วยเหลือ และให้ผู้ช่วยโทรขอความช่วยเหลือหน่วยฉุกเฉินที่ 1669
  2. เปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบกดหน้าผากลงและเชยคางขึ้นเบา ๆ
  3. ตรวจการหายใจในเวลา 3-5 วินาที โดยมองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่ ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่ สัมผัส โดยแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของเด็กเพื่อสัมผัสลมหายใจ
  4. ช่วยการหายใจ เมื่อพบว่าเด็กไม่หายใจ ให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือครอบจมูกและปากเด็กและเป่าลมหายใจออก 2 ครั้งโดยให้แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาทีและสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่

ในกรณีอายุน้อยกว่า 1 ปี

  • คลำชีพจร บริเวณต้นแขนด้านในครึ่งทางระหว่างข้อศอกและหัวไหล่

– ถ้าเด็กไม่หายใจแต่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้งต่อนาที หรือ เป่าปาก 1 ครั้งต่อ 3 วินาที

– ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่มีชีพจร ให้ทำการกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

  • กระตุ้นการเต้นของหัวใจ

– หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้โดยลากเส้นสมมติระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง

– ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอก ใต้ต่อเส้นสมมติที่ลากระหว่างหัวนมทั้งสองข้างลงมา 1 ความกว้างของนิ้วมือจริง

– กดโดยใช้นิ้วสองนิ้ว กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5 นิ้ว ความถี่ของการกดคือกดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง

ในกรณีที่อายุมากกว่า 1 ปี

  • คลำชีพจร บริเวณต้นคอ

– ถ้าเด็กไม่หายใจแต่มีชีพจร ให้ทำการเป่าปากต่อเพียงอย่างเดียว โดยทำ 20 ครั้งต่อนาที หรือ เป่าปาก 1 ครั้งต่อ 3 วินาที

– ถ้าเด็กไม่หายใจและไม่มีชีพจร ให้ทำการกระตุ้นการเต้นของหัวใจ

  • กระตุ้นการเต้นของหัวใจ

– หาตำแหน่งของการกดหน้าอกเพื่อกระตุ้นหัวใจได้โดยลากนิ้วตามขอบชายโครงช้างใดข้างหนึ่งจนถึงกึ่งกลางซึ่งชายโครงทั้งสองข้างมาชนกันเรียกว่าจุดปลายล่างกระดูกหน้าอก

– ตำแหน่งที่จะกดคือ บนกระดูกหน้าอก เหนือต่อจุดปลายล่างกระดูกหน้าอก 1 ความกว้างของนิ้วมือจริง

– กดโดยใช้ส้นมือ กดลึกให้กระดูกหน้าอกยุบลงประมาณ 1-1.5 นิ้ว ความถี่ของการกดคือ

– กดหน้าอก 5 ครั้งสลับกับการให้ผู้ช่วยระบบหายใจเป่าปาก 1 ครั้ง

– ให้การกระตุ้นการเต้นของหัวใจสลับกับการเป่าปากในอัตราส่วน 5:1 จนกว่าหน่วยฉุกเฉินจะมาถึง หรือกระทำในระหว่างการนำส่งจนถึงโรงพยาบาล

  • .ตรวจการหายใจและชีพจรซ้ำ ทุกนาที
วิธีปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำเบื้องต้น
ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหา

อ่านข่าวเพิ่มเติม

 

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button