Line Newsไลฟ์สไตล์

สรุปกฎหมาย วันโกหก 1 เมษายน เล่นมุกยังไง ไม่เสี่ยงคุก ผิด พ.ร.บ.คอม

แนะนำ วิธีเล่นมุกแบบไหน ไม่ให้เสี่ยงติดคุก ในวันที่ 1 เมษายน วันโกหกเมษาหน้าโง่ April Fool’s Day เปิดสาระข้อกฎหมายพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560

ปฏิทินเวียนมาบรรจบอีกครั้งในวันที่ 1 เมษายน ของทุกปีเป็น “วันเมษาหน้าโง่” หรือ “April Fool’s Day” หลายคนมักนิยมเล่นมุกตลก หลอกลวง หรือแชร์ข่าวปลอม เพื่อสร้างความสนุกสนานตามเทศกาล แต่รู้หรือไม่ว่า การเล่นมุกในวันนี้ อาจมีความเสี่ยง “ติดคุก” ได้ ดังนั้นเราจึงจะมาแนะนำ วิธีเล่นมุกตลกวันโกหกให้สร้างสรรค์ ปลอดภัย ไม่เสี่ยงผิดกฎหมาย พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ และไม่ทำให้คนอื่นเดือดร้อน จะมีวิธีการเล่นแบบไหนบ้าง เข้ามาอ่านในนี้กันได้เลยครับ

แนวทางเล่นมุก “วันโกหก” เป็นมิตรกับคนอื่น ไม่ผิดกฎหมาย

สำหรับการเล่นมุก April Fool’s Day ควรทำอย่างมีสติ ไม่สร้างความเสียหายต่อผู้อื่น และไม่ละเมิดกฎหมาย โดยสามารถเลือกแนวทางการเล่นมุกตลกที่ดีและปลอดภัยได้ ดังนี้

1. เล่นมุกตลกทั่วไป เล่นมุกแบบขำขัน ไม่สร้างความเสียหาย ไม่หลอกลวงผู้อื่น เช่น แกล้งทำเป็นล้ม แกล้งโทรหาเพื่อน

2. สร้างมุกตลกแบบมีเงื่อนงำ บอกใบ้ให้คนเดา เล่นมุกแบบคลุมเครือ สร้างความสงสัย แต่เฉลยในภายหลัง

3. หลีกเลี่ยงการตัดต่อภาพ ตัดต่อภาพบุคคล รูปภาพ ข้อมูลเท็จ งดสร้างข่าวปลอม แต่งเรื่องเท็จ แชร์ข่าวลือ ไม่หลอกลวง-หลอกลวงผู้อื่นให้เชื่อเรื่องเท็จ และไม่ร้างความเสียหายต่อชื่อเสียง ทรัพย์สิน หรือความปลอดภัย

4. ตรวจสอบข่าวปลอมก่อนแชร์ เช็กแหล่งที่มา ตรวจสอบแหล่งที่มาของข้อมูล ว่าน่าเชื่อถือหรือไม่ พร้อมพิจารณาเนื้อหา ว่าเป็นไปได้หรือไม่ ขัดต่อหลักความจริงหรือไม่ สุดท้ายคือตรวจสอบความถูกต้องกับแหล่งข่าวอื่น

5. เล่นมุกอย่างมีสติ คิดถึงผลลัพธ์ เล่นมุกแบบสร้างรอยยิ้ม ไม่สร้างความเดือดร้อน คำนึงถึงผลกระทบ: คิดถึงผลลัพธ์ที่จะตามมา และเล่นมุกอย่างมีจริยธรรม เล่นมุกแบบสุภาพ ไม่ล่วงละเมิดผู้อื่น

เล่นมุกเสี่ยงติดคุก มีโทษ พ.ร.บ. คอมฯ

เล่นมุกแรงทำเดือดร้อน เสี่ยงติดคุก มีโทษ พ.ร.บ. คอมฯ

ในส่วนของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2560 มาตรา 14 ระบุว่า ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 5 ปีหรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

(1) โดยทุจริต หรือโดยหลอกลวง นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่บิดเบือนหรือปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ประชาชน อันมิใช่การกระทําความผิดฐานหมิ่นประมาทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 14 (1)

ผู้โพสต์ข้อความที่จะมีความผิดตามมาตรา 14 (1) ต่อเมื่อสิ่งที่นำเสนอนั้นเป็น ‘ความเท็จ’ โดยมีเจตนา ‘ทุจริตหรือหลวงลวง’ ซึ่งข้อมูลนั้นอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชน

ซึ่งแปลว่าหากเราต้องการจะแชร์หรือโพสต์อะไรบ้างอย่าง แล้วรับรู้หรือทราบแต่แรกแล้วว่า ข้อมูลที่เราแชร์หรือโพสต์นั้น ไม่เป็นความจริง อีกทั้งคำว่าคำว่า”โดยทุจริต” ก็ยังมีคำนิยามอยู่ในมาตรา 2 ของประมาวกฎหมายอาญา มีความหมายว่า”เพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น”

หมายถึง หากข้อความที่แชร์หรือโพสต์ เป็นความจริง จึงจะไม่ถือว่าเป็นความผิดใด ๆ หรือหากว่าข้อความดังกล่าวเป็นเท็จ แต่ผู้โพสต์ไม่ได้แสดงความคิดเห็นที่มีเจตนาทุจริตแต่แรก ก็ไม่ถือว่าเป็นความผิดตาม ม. 14(1) เพราะขาดองค์ประกอบหลักในเรื่อง เจตนา

นอกจากนี้กฎหมายยังตีกรอบข้อกฎหมาย ไม่ให้ใช้ในลักษณะเดียวกันกับความผิดฐานหมิ่นประมาทอีกด้วยครับ

ตัวอย่างของการเล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day เล่นมุกยังไง ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ก โพสต์ภาพตัดต่อว่าถูกหวยรางวัลที่ 1 แล้วมีคนเข้าใจผิดจนเกิดความเสียหาย หรือมีผู้ได้รับผลกระทบเสียหายจากการโพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ แล้วไปแจ้งความเอาผิด ก็จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ มาตรา 14(1) แม้จะทำแค่เพียงแกล้งเล่นขำขัน แต่ก็อาจเข้าข่าย ความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ได้ด้วยเหมือนกันครับ

แนวทางเล่นมุก วันโกหก เป็นมิตรกับคนอื่น ไม่ผิดกฎหมาย

(2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของประเทศ ความปลอดภัยสาธารณะ ความมั่นคงในทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือโครงสร้างพื้นฐานอันเป็นประโยชน์สาธารณะของประเทศ หรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน – มาตรา 14(2)

แปลว่าข้อความหรือข้อมูลเป็น “ความเท็จ” อีกทั้งข้อมูลดังกล่าวยังส่งผลให้เกิดความเสียหาต่อการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ทั้งในทางสาธารณะ เศรษฐกิจ หรือจะต้องก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน จะถือว่าเป็นความผิดตาม มาตรา 14(2)

เล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day เล่นมุกยังไง ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ข โกหก หรือปั่นราคาหุ้น จนเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจในประเทศอย่างใหญ่หลวง หากมีเจตนาชัดเจน หรือมีผู้อื่นได้รับความเดือดร้อน ก็จะเข้าข่ายเป็นความผิดตามมาตรา 14(2) แต่หากว่าการแสดงข้อมูลดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่อธิบายข้างต้น แม้เป็นความเท็จ ก็ไม่อาจเป็นความผิดได้ เนื่องจากขาดองค์ประกอบความผิด

(3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา – มาตรา 14(3)

เป็นความผิดที่ส่งผลต่อความั่นคงแห่งราชอาณาจักร (ส่งผลต่อความมั่นคงของประเทศไทย) มาตรา 107-135 หรือเป็นความผิดที่เกี่ยวกับการก่อการร้าย มาตรา 135/1-135/4 ตามประมวลกฎหมายอาญา

หรือกล่าวว่าเป็นการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แล้วทำการเผยแพร่ แชร์ หรือโพสต์ข้อความดังกล่าว จนกระทบต่อความั่นคงต่อประเทศ เล่นมุกยังไงในวัน April fool’s day ให้ผิด พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เช่น นาย ค ได้อัปโหลดข้อมูลที่เป็นเท็จบนเว็บไซต์ของทางการ โดยตั้งใจให้เกิดความเข้าใจผิด ก็จะถือว่าเข้าข่ายตามความผิด มาตรา 14(3)

(4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้

หรือก็คือการเผยแพร่ข้อมูลที่เข้าข่ายลักษณะของการลามก อนาจาร และประชาชนทั่วไปเข้าถึงได้ จะถือว่าเป็นความผิด ตาม มาตรา 14(4)

ความผิดในลักษณะข้อนี้จะคล้ายกับข้อ (3) ยกตัวอย่างเช่น นาย ก โพสต์ภาพถ่ายลามก อนาจารของบุคคลอื่น แม้จะเป็นการกลั่นแกล้งขบขัน แต่ก็จัดเป็นข้อมูลที่มีลักษณะลามก อนาจาร ที่ประชาชนทั่วไปยังสามารถเข้าถึงได้ จะมีความผิดตาม มาตรา 14(4)

(5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

มาตรา 14(5) ผู้ใดเผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ดังกล่าวข้างต้น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับข้อนี้จะเป็นการกล่าวรวมถึงเงื่อนไขทั้งหมดที่ระบุมาว่า เล่นมุก April fool’s day ยังไง ให้ผิด พ.ร.บ คอมพิวเตอร์ จะต้องมีองค์ประกอบ 2 อย่างคือ

  1. เผยแพร่ แชร์ หรือโพสต์ ข้อมูลคอมพิวเตอร์
  2. ทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

พร้อมกับพิสูจน์เจตนาของผู้โพสต์ข้อมูลอันเป็นเท็จ หากเข้าข่ายตามนี้ทั้งหมด ก็จะถือว่ามีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์นั่นเอง เช่น นาย ง โพสต์ภาพตัดต่อหวยว่าถูกระวังใหญ่ในงวดของวันที่ 1 เมษายน (เผยแพร่ ) ซึ่งทราบดีอยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลอันเป็นเท็จ พร้อมกับเจตนาที่จะหลอกลวงผู้อื่นว่าได้รับเงินรางวัลใหญ่ จนเกิดความเข้าใจผิด และเสียหาเป็นวงกว้าง (อาจเข้าข่ายความผิด ม. 14(1)

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง

วันเมษาหน้าโง่ โกหกอย่างมีสติ

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button