เศรษฐกิจ

สรุปข้อกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์” แบบเข้าใจง่าย ยึดบ้านคนอื่นเป็นของตัวเองได้จริงหรือ

สรุปข้อกฎหมาย “ครอบครองปรปักษ์ คืออะไร” แบบเข้าใจง่าย จากดร่ามายึดบ้านร้างมาเป็นของตัวเอง ตามกฎหมายทำได้จริงหรือ

สืบเนื่องจากกรณีข่าวดราม่าดัง คุณซันและอาย ได้รับบ้านจากอากู๋เป็นของขวัญแต่งงาน หวังใช้เป็นเรือนหอ แต่ปรากฎว่าเมื่อไปสำรวจบ้าน พบว่ามีเจ้าของบ้านข้างๆ เข้ามาใช้งานอยู่อาศัยโดยที่ตนเองและอากู๋ไม่รู้ เคยเป็นข่าดังออกรายการโหนกระแสเมื่อปี 2566

แม้ว่าในตอนนั้น “คุณนุ” คู่กรณีอ้างว่าไม่ได้มีเจตนาครอบครองบ้านแบบปรปักษ์ และยอมตกลงย้ายออก แต่ปรากฎว่า ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา กลับเป็นข่าวอีกครั้ง ทั้งๆ ที่เรื่องยังอยู่ในกระบวนการศาล แต่ฝ่ายผู้เข้ามาครอบครองบ้าน กลับติดป้ายไว้หน้าบ้านว่า ได้กรรมสิทธิ์บ้านหลังนี้แล้ว โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์ตามกฎหมาย แถมห้ามไม่ให้บุคคลใดเข้ามาในบ้านหลังนี้ ถือว่าบุกรุก

สำหรับใครที่ยังงงๆ กับข่าวนี้ Thaiger ขอพามาสรุปข้อกฎหมายให้แบบเข้าใจง่ายๆ เพื่อเป็นพื้นฐานในการติดตามข่าว

ครอบครองปรปักษ์คืออะไร?

ครอบครองปรปักษ์ หมายถึง การที่บุคคลอื่นที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน เข้าไปครอบครองทรัพย์สินนั้น โดยสงบ เปิดเผย และด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นระยะเวลาตามกฎหมายกำหนด ผลลัพธ์คือ บุคคลผู้ครอบครองปรปักษ์อาจได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นโดยไม่ต้องซื้อ

อ้างอิงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

กฎหมายกำหนดระยะเวลาครอบครองปรปักษ์ไว้ดังนี้

  • อสังหาริมทรัพย์: 10 ปี
  • สังหาริมทรัพย์: 5 ปี

ตัวอย่างการครอบครองปรปักษ์

  • บุคคล A เข้าไปปลูกบ้านบนที่ดินของบุคคล B โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ B ไม่เคยทักท้วงหรือดำเนินการใด ๆ เป็นเวลา 10 ปี
  • บุคคล C เก็บสร้อยคอของ D ไว้โดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ D ไม่เคยทวงคืนเป็นเวลา 5 ปี

ผลของการครอบครองปรปักษ์

  • บุคคลผู้ครอบครองปรปักษ์ อาจ ได้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น
  • เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม อาจ สูญเสียกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้น

ข้อควรระวัง

  • การครอบครองปรปักษ์ ไม่ได้ เกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบหลายประการตามกฎหมาย
  • เจ้าของกรรมสิทธิ์เดิม มีสิทธิ ฟ้องร้องขับไล่ผู้ครอบครองปรปักษ์ภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น การจะลงลึกให้แน่ชัดว่าบุคคลนั้นๆ มีสิทธิในการครอบครองที่ดินอีกฝ่ายตามกฎหมายครอบครองปรปักษ์จริง ต้องให้ศาลเป็นผู้ตัดสิน และผู้ครอบครองใหม่ต้องหาหลักฐานมายืนยันกับศาลให้ได้สิ้นสงสัยว่าเข้าเงื่อนไขตามข้อกฎหมายจริง

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Back to top button