ข่าวข่าวอาชญากรรม

คดีป้ากบ สังคมวอนพอเสียทีคำว่า “เยาวชน” เย้ยกฎหมาย ไม่ต้องรับโทษ

ผลพวง คดีป้ากบ สังคมวิงวอนเลิกเสียทีเยาวชนทำผิดต้องคุ้มครอง แฮชแท็ก #แก้กฎหมายเยาวชน ขึ้นเทรนด์ร้อน หลังคลิปเสียงแฉกลุ่มวัยรุ่นอรัญประเทศ หัวเราะรื่น ก่อเหตุซ้อมทารุณยังยืนเต้นรำไร้สำนึก

ผลสืบเนื่องจากคดีที่มีกลุ่มเยาวชนอายุตั้งแต่ 13-16 ปี ก่อเหตุซ้อมทารุณ-ทำร้ายร่างกาย น.ส.บัวผัน หรือ ป้ากบ จนเสียชีวิต โดยพบศพที่สระน้ำข้างโรงเรียน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว ล่าสุดคคดีสุดสะเทือนขวัญนี้กำลังเกิดคำถามคาใจอย่างหนัก โดยเฉพาะกับข้อกฏหมายที่ใช้เอาผิดกับเยาวชนกลุ่มนี้ที่อาจได้รับโทษเบากว่า ความรุนแรงของคดีที่ได้ก่อขึ้นมา ภายใต้กรอบการพิจารณาคดีของศาลเยาวชน

ป้าบัวผันโดนอุ้ม
แฟ้มภาพ @PPTV

อ้างอิงข้อกฏหมายคดีอาญาของที่พิจารณาภายใต้ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.ศาลเยาวชนฯ) คือ กฎหมายที่กำหนดขั้นตอนและวิธีการพิจารณาคดีเด็กและเยาวชนตั้งแต่ขั้นตอนการจับกุม การสอบสวน จนถึงขั้นการพิจารณาคดีและพิพากษาในชั้นศาล โดยกฎหมายฉบับนี้ มีจำนวนมาตรา 206 มาตรา

บุคคลที่อยู่ภายใต้บังคับพ.ร.บ.ศาลเยาวชนและเยาวชนมี 2 ประเภท ได้แก่

  • เด็ก หมายถึง บุคคลที่มีอายุเกินกว่าสิบปี แต่ยังไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์
  • เยาวชน หมายถึง บุคคลที่อายุเกิน 15 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

ทั้งนี้ ประเด็นที่น่าสนใจ คือ พ.ร.บ. ศาลเยาวชนฯ กับความพยามยามคุ้มครองเด็กและเยาวชนแทนการลงโทษนั้น หากพิจารณาในรายละเอียดจะเห็นว่าเงื่อนไขในการพิจารณาการโอนคดีตามกฎหมายได้แก่ สภาพร่างกาย สภาพจิต สติปัญญาและนิสัย ก็มีถ้อยคำที่คลุมเครือเเละยังจะเป็นคำที่เปิดให้ศาลแต่ละองค์คณะใช้ดุลพินิจได้อย่างกว้างขวาง

เช่นเดียวกับกระบวนการในส่วนของขั้นตอนทั้ง การจับกุม , สอบสวน , ตรวจสอบการจับกุม , พิจารณาคดี ไปจนการพิพากษา ยังคล้ายจะมีช่องโหว่ที่ดูจะยกประโยชน์ให้กับผู้้ตองหาที่เป็นเยาวชนเสียมาก ยกตัวอย่างในส่วนของขั้นตอนการจับกุม ที่ก็ต้องแบ่งเป็น 2 กรณี คือ เด็กอายุเกิน 10 ปี แต่ไม่เกิน 15 ปี หากกระทำผิดซึ่งหน้าจะต้องมีหมายจับหรือคำสั่งศาล

ขณะที่หากเป็นในกรณีเดียวกัน แต่เยาวชนผู้นั้นมีอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ให้ใช้กฏหมายเดียวกับผู้ใหญ่

ส่วนขั้นตอนการพิจารณาคดีนั้น จะเหมือนกัน คือ เด็กและเยาวชนต้องมีที่ปรึกษากฎหมาย การพิจารณาคดีต้องเป็นความลับ เข้าได้เฉพาะผู้เกี่ยวข้อง และศาลต้องคำนึงถึงการคุ้มครองสิทธิของเด็กหรือเยยาวชนเป็นสำคัญ นอกจากนี้ในการพิพากษาซึ่งเป็นคำตัดสินเด็ดขาด ยังให้อำนาจศาลในการเปลี่ยนแปลงโทษทางอาญาเป็นการฝึกอบรมหรือควบคุมความประพฤติ

ทำไม “คดีป้ากบ” เกิดเสียงเรียกร้องแก้กฏหมายเยาวชนอย่างหนัก ?

ประเด็นข้อเรียกร้องที่ล่าสุด สังคมได้พากันติด #แก้กฎหมายเยาวชน เกี่ยวกับเคสสั่นคลอนความศักสิทธิ์ของตัวบทกฏหมายในบ้านเรา ปัจจัยหลักเป็นเพราะพฤติการณ์เหี้ยมโหดในการก่อเหตุที่เกิดมนุษย์ ซ้อมทำร้ายเหยื่อซึ่งเป็นหญิงเร่ร่อนไม่ต่างจากสัตว์ข้างถนน

แถมที่น่าตระหนกใจที่สุด คือ การที่หนึ่งในผู้ก่อเหตุกระโดดน้ำตามลงไปจับผู้ตายกดน้ำจนสิ้นใจต่อหน้า ซึ่งเป็นการะกระทำที่หากผู้ก่อเหตุไม่ใช่เยาวชน จะต้องรับโทษคดีทางอาญาอย่างหนัก

รูปหน้าศพป้ากบ หญิงเร่ร่อนที่เป็นข่าว

ขณะเดียวกัน ปฏิเสธไม่ได้ว่า ข้อเรียกร้องการปรับแก้กฎหมายเกี่ยวกับเยาวชนได้มีการเรียกร้องให้ปรับแก้มาอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่คดีสะเทือนขวัญกรางกรุง ซึ่งเด็ก 14 ปี ก่อเหตุใช้อาวุธปืนดัดแปลงเข้าไปบุกยิงคนในห้างสรรพสินค้าสยามพารากอน จนมีผู้บริสุทธิ์ต้องมาจบชีวิต

ตัวอย่างความเห็นบางส่วนบนโซเชียล อาทิ

พอสักทีเถอะกับคำว่า “เยาวชน” ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ผิดก็คือผิดจะคุ้มครอง ทำซากอะไร อีกอย่าง เรื่อง ไกล่เกลี่ย ประนีประนอม เอาเฉพาะบางเคสจริง ๆ ผิด คือ ผิดกฏหมายจะมีไว้ทำไม เมื่อเรามีกฏหมายปกป้องคนทำผิด #ป้ากบ

ดูข่าว #ป้ากบ เห็นตอนป้าโดนเตะเสยละเดินร้องไห้ละทนฟังไม่ไหว ยิ่งตอนพาป้าไปตกมอไซค์ละอุ้มมาใหม่ไหนจะเตะเสยป้าไปก่อนอีก ไม่ไหวฟังต่อสงสารป้ามาก ๆ เด็กxxx พวกนี้สัตว์นรกมาเกิดแท้ ๆ #ป้าบัวผัน โดยตัวอย่างความเห็นล่าสุดนี้ เกิดขึ้นหลังมีการเผยแพร่คลิปเสียงของหนุุ่งในเยาวชนผู้ต้องหา ที่บอกเล่าการกระทำเย้ยกฏหมายของตัวเองแบบไร้สำนึก บางช่วงมีการหัวเราะไปขณะที่เล่าถึงเหตุการณืซ้อมทารุณเหยื่อ.

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button