การเงินเศรษฐกิจ

ซื้อ “เสื้อผ้า” ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ได้ไหม

สายแฟชั่นต้องรู้ ใบกำกับภาษี Easy E-Receipt ซื้อ “เสื้อผ้า” เข้าเงื่อนไขช็อปลดหย่อนภาษีมูลค่า 50,000 บาท หรือไม่ สินค้าและบริการที่ซื้อได้-ไม่ได้ เช็กพร้อมกันที่นี่

เริ่มต้นปี 2567 กับโครงการกระตุ้นการบริโภค ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt เพื่อสนับสนุนการใช้จ่ายภายในประเทศ ให้สิทธิ์แก่ผู้ที่มีหน้าที่เสียภาษีบุคคลธรรมดา ประชาชนเริ่มซื้อสินค้าและบริการที่เข้าร่วมโครงการ ได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 15 กุมภาพันธ์ 2567 ด้วยการนำใบเสร็จไปใช้สิทธิลดหย่อนสูงสุด 50,000 บาท และสำหรับผู้ที่สงสัยว่าสามารถซื้อ “เสื้อผ้า” เพื่อลดหย่อนภาษีได้ไหม? หาคำตอบมาให้แล้ว

ซื้อเสื้อผ้าลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt

เงื่อนไขการลดหย่อนภาษีในโครงการ Easy E-Receipt ตามข้อมูลจาก กรมประชาสัมพันธ์ ระบุว่า “สินค้าหรือบริการทุกประเภทที่ซื้อจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม สามารถนำมาหักลดหย่อนตามมาตรการ Easy E-Receipt ได้”

นั่นหมายความว่า “เสื้อผ้า” ที่ซื้อจากร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่จดทะเบียนภาษีมูลค่า สามารถซื้อได้ แล้วนำใบกำกับภาษีแบบเต็มรูปในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice) ไปลดหย่อนภาษีในปีภาษี 2567

ซื้อ เสื้อผ้า ลดหย่อนภาษี Easy E-Receipt ได้ไหม

Easy E-Receipt ซื้ออะไรได้บ้าง

รู้หรือยังว่านอกจาก เสื้อผ้า ยังมีสินค้าและบริการในประเทศไทยที่สามารถนำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax invoice) หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Receipt) มาหักลดหย่อนตามมาตรการ Easy E-Receipt ได้ มีดังนี้

  • สินค้าและบริการที่อยู่ในระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)
  • หนังสือและอีบุ๊ก (รวมหนังสือพิมพ์ นิตยสาร ตำราเรียน)
  • สินค้าท้องถิ่น OTOP (ที่ขึ้นทะเบียนถูกต้อง)
  • ร้านค้าทั่วไป รวมถึงร้านค้าออนไลน์ที่สามารถออกใบกำกับภาษีเต็มรูปแบบ
  • ค่าที่พัก เช่น โรงแรม

สินค้าที่ไม่เข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt

ในส่วนของสินค้าและบริการที่ไม่สามารถใช้จ่ายเพื่อออกใบกำกับภาษีไปลดหย่อนตามมาตรการดังกล่าว มี 6 หมวด ดังนี้

1. ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์

2. ค่าซื้อยาสูบ

3. ค่าซื้อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ

4. ค่าน้ำมัน และก๊าซสำหรับเติมยานพาหนะ

5. ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต, ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาตามที่กำหนด (วันที่ 1 มกราคม -15 กุมภาพันธ์ 2567) เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ

6. ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย

ทั้งนี้ผู้ซื้อสินค้าสามารถสังเกตร้านค้าทีมีสัญลักษณ์ Easy E-Receipt ควบคู่กับ e-Tax Invoice & e-Receipt โดยในปัจจุบันมีผู้ประกอบการอยู่ในระบบภาษีอิเล็กทรอนิกส์แล้วกว่า 4,000 ราย ครอบคลุม 116,000 จุดจำหน่ายทั่วประเทศ

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก : 1,2

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

Peangaor

นักเขียนประจำ Thaiger จบการศึกษาคณะมนุษยศาสตร์ มศว เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อนำมาชี้แจงแตกประเด็นในรูปแบบย่อยง่ายเหมือนเพื่อนเล่าให้ฟัง รวมถึงเรื่อง Pop culture ซีรีส์ อาหาร และเทรนด์แฟชั่นที่กำลังอินเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ preme@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button