ข่าว

สพฐ. ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธันวาคม ให้นักเรียนเตรียมสอบ TGAT-TPAT

สพฐ. ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธันวาคม 2566 เพราะต้องการให้นักเรียนชั้นมัธยมปลาย หยุดเรียนเพื่อตรียมอ่านหนังสือสอบ TGAT/TPAT ได้อย่างเท่าเทียม

ประกาศหยุดเรียน 4-8 ธันวาคม เตรียมตัวสอบ

นับเป็นข่าดีของนักเรียนไทยที่กำลังขมักเขม้นเตรียมตัวสอบ TGAT-TPAT ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9-11 ธันวคม 2566 มีรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประกาศให้โรงเรียนหยุดเรียนตามหลักสูตรระหว่างวันที่ 4-8 ธันวาคม 2566 โดยปรับให้เป็นสนับสนุนการเรียนเสริมจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาตามความถนัด

นโยบายนี้เกิดขึ้นเพราะความห่วงใยนักเรียนที่ขาดโอกาส ทุนทรัพย์ไม่ได้ไปติวสถาบันกวดวิชาเหมือนเพื่อน จึงต้องการสร้างเสริมความเท่าเทียมให้กับนักเรียนทุกคน

นอกจากนี้ สพฐ.ได้จัดกิจกรรมส่งเสริมและสนับสนุนนักเรียนให้มีความพร้อมสำหรับการทดสอบวัดความถนัด (TGAT-TPAT) “กล่องความรู้ สู่ความสุข” จัดสอนเสริมจากเชิญครูและอาจารย์ชื่อดัง มาติวผ่านออนไลน์ มาให้ความรู้ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 4-7 ธันวาคม 2566 เรียนฟรีผ่านทาง OBEC Chanel, Youtube และ Facebook ของ สพฐ.

รู้จัก TGAT-TPAT คืออะไร ทำไมนักเรียนต้องสอบ

TGAT-TPAT คือ ระบบการสอบเข้ามหาวิทยาลัย รูปแบบใหม่ จากทาง ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) แทนระบบ GAT-PAT เดิม โดยจะมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้

  • TGAT ย่อมาจาก Thai General Aptitude Test เป็นข้อสอบวัดความถนัดทั่วไป มี 3 พาร์ท ได้แก่

    • TGAT1 การสื่อสารทางภาษาอังกฤษ
    • TGAT2 การคิดอย่างมีเหตุผล
    • TGAT3 สมรรถนะการทำงาน
  • TPAT ย่อมาจาก Thai Professional Aptitude Test เป็นข้อสอบวัดความถนัดเฉพาะด้าน มี 5 วิชา ได้แก่

    • TPAT1 ความถนัดแพทย์ กสพท.
    • TPAT2 ความถนัดศิลปกรรมศาสตร์
    • TPAT3 ความถนัดด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์
    • TPAT4 ความถนัดทางสถาปัตยกรรม
    • TPAT5 ความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์

คะแนน TGAT-TPAT สามารถใช้ยื่นสมัครเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทย โดยแต่ละคณะจะกำหนดเกณฑ์การรับคะแนนที่แตกต่างกันไป

TGAT มีความสำคัญต่อผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะทั่วไป เช่น คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ คณะบริหารธุรกิจ คณะนิเทศศาสตร์ คณะการท่องเที่ยว คณะนิติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ เป็นต้น

TPAT มีความสำคัญต่อผู้สมัครเข้าศึกษาต่อในคณะเฉพาะด้าน เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ เป็นต้น

ปฏิทินสอบ TGAT-TPAT วันไหนสอบวิชาอะไรบ้าง

วันเสาร์ที่ 9 ธ.ค. 2566

  • เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบความถนัดครุศาสตร์-ศึกษาศาสตร์ (TPAT 5)
  • เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบความถนัดศิลปกรรมศาสตร์ (TPAT2)

วันอาทิตย์ที่ 10 ธ.ค. 2566

  • เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบความถนัดทั่วไป (TGAT)
  • เวลา 13.00 – 16.00 น. สอบความถนัดวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ (TPAT3)

วันจันทร์ที่ 11 ธ.ค. 2566

  • เวลา 09.00 – 12.00 น. สอบความถนัดสถาปัตยกรรมศาสตร์ (TPAT4)

การเตรียมตัวสอบ TGAT-TPAT ควรเริ่มเตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ โดยศึกษาเนื้อหาและรูปแบบข้อสอบให้เข้าใจ นอกจากนี้ ควรฝึกทำข้อสอบเสมือนจริงเพื่อประเมินความสามารถของตนเอง และเตรียมความพร้อมในการสอบจริง

อัตราสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยมีแนวโน้มลดลง

ข้อมูลจากปี 2565 เผยว่า จำนวนผู้สอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนไทยลดลงเหลือ 180,118 คน เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่มีจำนวนผู้สมัคร 199,153 คน ลดลง 10.10% ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่ต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2561

สาเหตุหลักที่ทำให้อัตราสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยลดลง คาดว่ามาจากปัจจัยหลายประการ ได้แก่

  • การปรับกระบวนการรับสมัคร โดยในปี 2565 ทปอ. ได้ปรับกระบวนการรับสมัครใหม่ โดยเพิ่มรอบ Portfolio เข้ามา ทำให้นักเรียนสามารถเลือกสมัครเข้ามหาวิทยาลัยได้หลายรอบมากขึ้น ส่งผลให้นักเรียนบางส่วนตัดสินใจไม่สมัครสอบในรอบแอดมิชชั่น
  • สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนการสอน ทำให้นักเรียนบางส่วนไม่พร้อมในการสมัครสอบ
  • ความนิยมของสาขาวิชาใหม่ เช่น ดิจิทัลเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ วิทยาศาสตร์ข้อมูล ฯลฯ ที่เปิดรับสมัครโดยไม่ใช้ระบบ TGAT-TPAT ทำให้นักเรียนบางส่วนเลือกสมัครเข้าศึกษาในสาขาวิชาเหล่านี้แทน

อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการสมัครสอบ TGAT-TPAT ในรอบแอดมิชชั่นในปี 2565 ก็ยังถือว่าสูงกว่าจำนวนที่นั่งที่มหาวิทยาลัยเปิดรับอยู่ประมาณ 10,000 คน ส่งผลให้มีการแข่งขันที่สูงในบางคณะและสาขาวิชา เช่น คณะแพทยศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ เป็นต้น

สำหรับแนวโน้มอัตราสอบแข่งขันเข้ามหาวิทยาลัยของนักเรียนไทยในอนาคต คาดว่าจะยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากปัจจัยต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นยังคงเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบอยู่ อย่างไรก็ตาม การเปิดรับสมัครสาขาวิชาใหม่โดยไม่ใช้ระบบ TGAT-TPAT ก็อาจช่วยดึงดูดนักเรียนบางส่วนให้สมัครสอบได้มากขึ้น

Aindravudh

นักเขียนประจำ Thaiger มีประสบการณ์เขียนข่าวมากกว่า 5 ปี จบการศึกษาด้านภาษาและประวัติศาสตร์ จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความสนใจ ประเด็นความเคลื่อนไหวทางสังคมและการเมือง เจาะประเด็นข่าวทางสังคม ด้วยกลวิธีการเล่าเรื่องแบบย่อยง่าย อย่างงานเขียนสร้างสรรค์ สั้น กระชับ จับทุกประเด็น หัวข้อที่เชียวชาญคือเรื่องไลฟ์สไตล์ เลขเด็ด หวยรัฐบาลไทย หวยลาว ช่องทางติดต่อ vajara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button