อีเว้นท์ไลฟ์สไตล์

เปิดที่มา “วันลอยกระทงลาว” ตำนานเทศกาล “ไหลเฮือไฟ” บูชาแม่น้ำโขง

เกร็ดความรู้ตำนาน “วันลอยกระทงประเทศลาว” ส่องความงดงามของเมืองหลวงพระบาง พร้อมประวัติความแตกต่างของประเพณี “ไหลเฮือไฟ”

ไม่ใช่แค่ในประเทศไทยเท่านั้นที่มีเทศกาล “วันลอยกระทง” (Loy Kratong) แต่ประเทศเพื่อนบ้านข้างเคียงเราเอง ก็มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับตำนานแม่น้ำในวันลอยกระทงด้วยเหมือนกัน โดยเฉพาะ ประเทศลาว หรือ สปป.ลาว ที่มีการจัดเทศกาลกระทงน้ำ ในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน ปี 2566 ซึ่งมีรูปจารีตประเพณีเหมือนกับในกลุ่มประเทศแถบภูมิภาคอาเซียน จึงส่งผลให้ประเพณีวันลอยกระทงของทั้งไทยและลาวนั้น เกิดการผสมผสานทำให้มีความคล้ายคลึงทางวัฒนธรรมอย่างกลมกลืนนั่นเอง

ประวัติ “วันลอยกระทง” ประเทศลาว

สำหรับปฏิทินเทศกาล วันลอยกระทงในประเทศลาว จะเริ่มต้นนับเหมือนกับฝั่งไทย คือเริ่มจัดงาน ในวันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน ประจำปี 2566 แต่ก็มีบางคนเข้าใจผิดว่า วันลอยกระทงลาว คือ “งานไหลเฮือไฟ” หรือ “ไหลเรือไฟ” ที่จัดในช่วงออกพรรษา 15 ค่ำ เดือน 11

วันลอยกระทงลาว มีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาพระคุณแม่นำโขง ที่มอบความอุดมสมบูรณ์ให้แก่พืชผักและสรรพสัตว์ในแม่น้ำ นอกจากนี้ยังจัดขึ้นเพื่อบูชา พระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์อีกด้วย

ทั้งนี้ ประวัติความเป็นมาของ วันลอยกระทงลาวได้ปรากฏเป็นข้อมูลบันทึกทางประวัติศาสตร์เอาไว้ในหนังสือ เกร็ดโบราณคดี ประวัติศาสตร์ไทย ของ ส.พลายน้อย สำนักพิมพ์รวมสาส์น โดยเล่าตำนานขอที่งเรือบั้งไฟพญานาค โผล่พ้นกลางแม่น้ำโขง จนกลายเป็นที่กล่าวขานสำคัญและกลายเป็นประเพณีใหญ่นับแต่นั้น

ประเพณีลอยกระทงลาว ล่องเรือไฟ
ภาพจาก : คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม

ที่มาพิธีไหลเฮือไฟลาว

พิธีไหลเฮือไฟลาว บางที่เรียกว่า “ล่องเรือไฟ” “ลอยเรือไฟ” หรือ “ปล่อยเรือไฟ” หมายถึง เรือที่ทำด้วยท่อนกล้วย ไม้ไผ่หรือวัสดุที่ลอยน้ำ มีโครงสร้างเป็นรูปต่างๆ ตามต้องการ เมื่อจุดไฟใส่โครงสร้าง เปลวไฟจะลุกเป็นรูปร่างตามโครงสร้างนั้น อย่างไรก็ตาม งานประเพณีไหลเรือไฟ

นิยมปฏิบัติกันในเทศกาล ออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 หรือประมาณช่วงปลายเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยมักมีการจัดงานแข่งขันเรือที่ริมแม่น้ำโขง และการแห่เรือไฟของประชาชนชาวลาว ณ หลวงพระบาง

เปรียบเทียบงานลอยกระทงลาว กับประเทศไทย

เทศกาลลอยกระทงในประเทศลาวและประเทศไทยมีความคล้ายคลึงกันในหลายด้านเนื่องจากเป็นประเพณีที่มีรูปแบบที่เหมือนกันในกลุ่มประเทศแถบอาเซียน เราเรียกว่าวัฒนธรรมมร่วม มักเกิดขึ้นกับประเพณีเก่าแก่ที่มีการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนกันข้ามพื้นที่

ความคล้ายคลึง

  • ทั้งในไทยและลาว วันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อบูชาแม่น้ำ พระแม่คงคา ในแง่ขอมาและขอบคุณ
  • วันลอยกระทงในประเทศลาวนอกจากบูชาน้ำแล้ว ยังเพื่อบูชาพระพุทธเจ้าที่เสด็จกลับมาจากการเทศนาโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์​​อีกด้วย

ความแตกต่าง

  • สำหรับประเทศไทย ลอยกระทงถือเป็นประเพณีโบราณที่มีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย, ซึ่งเดิมเป็นพิธีของพราหมณ์กระทำเพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร, พระนารายณ์, และพระพรหม ต่อมาได้ถือตามแนวทางพระพุทธศาสนา​​.
  • วันลอยกระทงในประเทศไทยตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย และมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคาซึ่งเป็นเทวดาในคติฮินดู​​

อ่านบทความที่เกี่ยวข้องเพิ่มเติม

อ้างอิง : cpamedia.com

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button