ไลฟ์สไตล์

ชวนเที่ยว “ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์” จุดเช็กอินสุดชิค สำหรับหนอนหนังสือ

พาไปรู้จัก ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ย่านบางรักที่มีอายุเกือบ 100 ปี สัญลักษณ์แห่งความรักที่ไม่โรยรา ปัจจุบันกลายเป็นที่พักผ่อนของหนอนหนังสือ บอกเลยถ่ายรูปสวยมาก!

ในเมืองหลวงที่ทุกอย่างเร่งรีบและวุ่นวาย ไกลออกไปในย่านบางรักมีสถานที่สุดสงบแห่งหนึ่งซ่อนตัวอยู่ นั่นก็คือ ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays) ที่เปิดให้บริการมายาวนานเฉียดร้อยปี โดยภายในเต็มไปด้วยบรรยากาศสุดคลาสสิค พร้อมคลังหนังสือที่ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ทั้งยังเต็มไปด้วยต้นไม้นานาพันธุ์และความร่มรื่นที่ปลีกวิเวกในกรุงเทพฯ บอกเลยว่ามุมถ่ายรูปเยอะพอ ๆ กับมุมอ่านหนังสือแน่นอน ใครได้ไปรับรองว่าไม่มีผิดหวัง

ประวัติความเป็นมา ห้องสมุดเนียลสันเฮส์

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ เดิมมีชื่อว่า สมาคมห้องสมุดสตรีกรุงเทพฯ (The Bangkok Ladies’ Library Association) ซึ่งจัดตั้งโดยสตรีอังกฤษและอเมริกัน 13 คน เมื่อปี 2412 เพื่อเป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องราวต่าง ๆ โดยมีข้อกำหนดว่า จะต้องมีกรรมการสมาคมบริหารงานเป็นสตรีไม่เกิน 12 คน

ประวัติ ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์

สำหรับผู้ที่ขึ้นมาเป็นนายกสมาคมของห้องสมุดสตรีกรุงเทพฯ คนแรก ไม่ใช่ใครที่ไหน แต่เป็นภรรยาของหมอบรัดเลย์ เจ้าของนามว่า บรัคลีย์ แบรดลีย์ (Sarah Blachley Bradley) นั่นเอง

ต่อมาในปี 2454 ได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก สมาคมห้องสมุดสตรีกรุงเทพฯ มาเป็น สมาคมห้องสมุดกรุงเทพ และกลายมาเป็น ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ตามชื่อของ เจนนี่ เนลสัน (Jennie Neilson) หญิงชาวเดนมาร์กผู้เป็นมิชชันนารีในไทยช่วงปี 2427 และได้แต่งงานกับนายแพทย์โทมัส เฮย์วอร์ด เฮย์ส

เจนนี่ทำงานให้กับห้องสมุดแห่งนี้นานกว่า 25 ปี ก่อนจะจากไปด้วยโรคอหิวาตกโรคตอนปี 2463 ซึ่งในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ห้องสมุดไม่ได้มีที่ตั้งถาวรแต่ปรับเปลียนสถานที่ไปเรื่อย ๆ

ทำให้นายแพทย์โทมัส เฮย์วอร์ด เฮย์ส ตัดสินใจว่าจ้างสถาปนิกชื่อดังอย่าง มารีโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno) มาออกแบบอาคารใหม่ เพื่อทำเป็นห้องสมุดอุทิศแด่ภรรยา ซึ่งแล้วเสร็จในปี 2465 ก่อนจะตั้งชื่อห้องสมุดแห่งนี้ว่า เนียลสัน เฮส์ (Neilson Hays) อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนั่นเอง

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ อยู่ที่ไหน

ห้องสมุดเนียลสันเฮส์ มีครบทั้งความรู้และความสวยงาม

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ขึ้นชื่อเรื่องความสวยงาม เนื่องจากได้รับการออกแบบจาก มารีโอ ตามัญโญ (Mario Tamagno) สปานิกชื่อดัง จนมีรูปลักษณ์สุดหรูหราในสไตล์นีโอคลาสสิค สมัยรัชกาลที่ 5 จนได้รับรางวัล UNESCO Cultural Heritage Conservation Award 2022

ดังนั้นหากใครได้มีโอกาสไปเยือนห้องสมุดแห่งนี้ ก็จะพบว่า ตัวอาคารของห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ จะมีความโดดเด่นด้วยรูปลักษณ์สีขาวสะอาดตา มีเทคนิคการสร้างคล้ายพระที่นั่งอนันตสมาคมที่นิยมทำกันในหลายตึกสำคัญของไทย ทั้งยังเต็มไปด้วยต้นไม้ ให้ความรู้สึกร่มรื่นและเป็นธรรมชาติ จนใครไปใครมาต่างก็ต้องแวะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นที่ระลึก

นอกจากนี้ภายในห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ยังมีการเก็บหนังสือที่ทรงคุณค่าเอาไว้มากมาย ทั้งหนังสือภาษาอังกฤษอายุหลายสิบปีที่ถูกจัดเรียงไว้เป็นระเบียบ ตลอดจนมรดกทางวรรณกรรมชื่อดังมากมาย ทำให้มันกลายเป็นหมุดหมายที่หนอนหนังสือทั่วประเทศ อยากไปเยือนด้วยตัวเองสักครั้งในชีวิต

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ค่าเข้า

ค่าเข้าและวันเวลาเปิดให้บริการ Neilson Hays Library

ในปัจจุบันท่านสามารถเข้าไปเยี่ยมชมบรรยากาศภายนอกของห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ ได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่หากใครอยากเข้าไปชมด้านในห้องสมุดหรือใช้บริการอ่านหนังสือ จะต้องชำระค่าเข้า 100 บาท/คน เว้นแต่จะเป็นสมาชิกที่ได้ลงทะเบียนไว้ล่วงหน้า

ทั้งนี้ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ จะเปิดให้บริการทุกวันตั้งแต่เวลา 09.30 – 17.00 น. ยกเว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยหากใครอยากมาเยี่ยมเยียน จะต้องรักษาความสงบและเคารพสถานที่ทรงคุณค่าแห่งนี้กันด้วยนะ

  • ที่อยู่ : 195 ถนนสุรวงศ์ แขวงสุริยวงศ์ เขตบางรัก กรุงเทพฯ 10500
  • พิกัด : google maps
  • ช่องทางติดต่อ : Facebook
  • เว็บไซต์ : neilsonhayslibrary.org

ห้องสมุดเนียลสัน เฮส์ เปิดกี่โมง

ภาพจาก Neilson Hays Library

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button