ข่าว

ชวนดู “ฝนดาวตกโอไรออนิดส์” 21-22 ตุลาคมนี้ มุมเล็ก ๆ ของ “ดาวหางฮัลเลย์”

ชวนชม ปรากฏการณ์ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ในวันที่ 21 – 22 ตุลาคม 2566 หลังดาวหางฮัลเลย์โคจรเข้าใกล้ดวงอาทิตย์และโลกในรอบหลายปี

หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่า ดาวหางฮัลเลย์ ที่เป็นชื่อเพลงฮิตสะท้อนความรักของหนุ่มสาว แท้จริงแล้วมีที่มาจากชื่อดาวหางของจริง โดยดาวหางฮัลเลย์จะเคลื่อตัวเข้าใกล้โลกและดวงอาทิตย์มากที่สุดทุก ๆ 76 ปี ทำให้มันเป็นที่พูดถึงในกลุ่มคนชื่นชอบดาราศาสตร์ ซึ่งในวันที่ 21-22 ตุลาคม 2566 นี้ ก็กำลังจะเกิดอีกหนึ่งเหตุการณ์ที่ทุกคนรอคอย นั่นก็คือ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เศษผงของดาวหางฮัลเลย์ที่จะทอประกายบนฟากฟ้าให้เราได้ชมกันนั่นเอง

เมื่อเร็ว ๆ นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (สดร.) ได้ออกมาโพสต์ชวนประชาชน ชมภาพบรรยากาศ ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ที่จะปรากฏให้เห็นในระหว่างคืนวันที่ 21 ตุลาคม 2566 ไปจนถึงเช้าวันที่ 22 ตุลาคม 2566

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ มีอัตราการตกราว 20 ดวงต่อหนึ่งชั่วโมง ซึ่งจะปรากฏขึ้นทางทิศตะวันออก ทว่าอาจมีบางจังหวะที่แสงจันทร์สาดเข้าไปกระทบการมองเห็นเล็กน้อย โดยหากอยากใครที่อยากมองเห็นชัด ๆ แนะนำให้ชมจากบริเวณชนบท หรือพื้นที่ที่มืดและห่างไกลแสงไฟ ซึ่งจะสามารถรับชมได้ด้วยตาเปล่าอย่างชัดเจน

ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ ดาวหางฮัลเลย์

ทั้งนี้ฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เกิดขึ้นมาจากเศษฝุ่นผงและมวลวัตถุขนาดเล็กของดาวหางฮัลเลย์ ที่เข้าใกล้โลกและดวงอาทิตย์มากที่สุดเมื่อปี 2529 ซึ่งมันจะเข้ามาเสียดสีกับชั้นบรรยากาศโลก ทำให้เกิดการลุกไหม้ เป็นประกายให้เราได้เห็นบนฟากฟ้า จนเป็นที่มาของฝนดาวตกที่ใคร ๆ ต่างก็พากันอธิษฐานขอพรนั่นเอง

สำหรับท่านใดที่อยากมองเห็นฝนดาวตกโอไรออนิดส์ เพื่อรับความฟินจากเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของดาวหางฮัลเลย์ ตามรอยชื่อเพลงดัง อย่างลืมตั้งนาฬิกาปลุกเพื่อมารอชมกัน ในเวลาประมาณ 22.30 น. ของวันที่ 21 ตุลาคมนี้นะ.

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button