รู้จัก รัฐปาเลสไตน์ ดินแดนความขัดแย้ง แห่งภูมิภาคตะวันออกกลาง
เจาะลึกภูมิภาคตะวันออกกลาง รัฐปาเลสไตน์ ดินแดนลึกลับที่ค้นหาใน google ไม่เจอ แถมยังพยายามต่อสู้ทุกวิถีทางเพื่อยึดพื้นที่คืนจากอิสราเอล
ประเด็นข่าวร้อนแรงและน่าตามติดที่สุดขณะนี้ คงจะหนีไม่พ้นสงครามครั้งใหม่ของอิสราเอล-ปาเลสไตน์ สงครามที่คร่าชีวิตประชาชนไปแล้วเกือบพันราย แถมยังมีชาวต่างชาติถูกจับเป็นตัวประกันและกักขังเป็นจำนวนมาก ท่ามกลางเสียงวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของกลุ่มฮามาสจากทั่วทุกมุมโลก พร้อมกับองค์กรสำคัญได้ออกมาประณามการกระทำของกลุ่มฮามาสในครั้งนี้
ท่ามกลางความสลดใจไปทั่วทุกมุมโลก Thaiger จะเปิดตำราประวัติศาสตร์ตะวันออกกลาง เพื่ออธิบายความเป็นมาของปาเลสไตน์ ดินแดนที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์นับตั้งแต่ช่วง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ท่ามกลางความขัดแย้งทางศาสนา ดินแดน และความเป็นรัฐชาติเรื่อยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ต้นกำเนิดปาเลสไตน์
ปาเลสไตน์ คือดินแดนในภูมิภาคตะวันออกกลางที่ตั้งอยู่ในระหว่างทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และแม่น้ำจอร์แดน ดินแดนแห่งนี้มีประวัติศาสตร์ยาวนานตั้งแต่ช่วง 3,000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ถูกปกครองโดยหลายอาณาจักร เริ่มจากเมื่อครั้งที่ชาวยิวอพยพมาจากอียิปต์เข้ายึดครองดินแดนปาเลสไตน์และพื้นที่โดยรอบแล้วสถาปนาอาณาจักรขึ้นในช่วง 1,050 ปีก่อนคริตศักราช ต่อมาเมื่ออาณาจักรล่มสลาย ปาเลสไตน์ก็ถูกยึดครองโดย อัสซีเรีย บาบิโลน เปอร์เซีย กรีก และโรมัน ตามลำดับ
กระทั่งช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 เยรูซาเล็มและดินแดนโดยรอบตกเป็นเมืองขึ้นของมหาจักรวรรดิออตโตมัน และถูกตั้งชื่อใหม่เป็น ‘ปาเลสไตน์’ ชาวอาหรับที่อยู่ในนั้นถูกเรียกว่า ‘ชาวปาเลสติเนียน’ กระทั่งในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษผู้ครอบครองดินแดนในขณะนั้น ได้ทำสนธิสัญญาบัลฟอร์กับชาวยิว เพื่อสัญญาว่าหากชาวยิวช่วยอังกฤษรบชนะ จะยกดินแดนปาเลสไตน์ให้
แน่นอนว่าในสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวยิวได้ช่วยอังกฤษรบอย่างเต็มที่ เพื่อหวังกลับคืนสู่บ้านเกิดที่บรรพบุรุษเคยอยู่มานานหลายพันปี ขณะเดียวกัน อังกฤษได้ทำสนธิสัญญาซ้อนอีกฉบับ แต่ทำกับชาวปาเลสติเนียน โดยบอกว่า ถ้าช่วยรบกับเยอรมัน จะคืนอิสรภาพให้ดินแดนปาเลสไตน์ สุดท้ายอังกฤษเป็นฝ่ายชนะสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวยิวจึงเดินทางเข้าสู่ปาเลสไตน์ ขณะที่ชาวปาเลสติเนียนที่เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมก็ไม่พอใจ เพราะไม่ต้องการใช้เชื้อชาติอื่นเข้ามา
พื้นที่ปาเลสไตน์ ครอบครองส่วนไหนบ้าง
พื้นที่ของดินแดนปาเลสไตน์ ประกอบด้วยดินแดน 2 แห่งที่ไม่ติดกัน ได้แก่ เวสต์แบงก์ และฉนวนกาซา สำหรับพื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์ ได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ ขณะที่กลุ่มฮามาส ซึ่งเป็นกลุ่มการเมืองแนวทางอิสลามนิยมปาเลสไตน์ ได้คุมอำนาจการปกครองในฉนวนกาซา
สภาพเศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจของรัฐปาเลสไตน์นั้น จะเน้นการผลิตอุตสาหกรรมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมครัวเรือนผลิตเสื้อผ้า สบู่ ผลิตภัณฑ์เครื่องแกะสลักจากไม้มะกอก ของที่ระลึกทำจากมุก มีสินค้าส่งออกที่สำคัญ คือ ผลไม้ ดอกไม้ สินค้าเกษตร และมีตลาดส่งออกที่สำคัญ คือ อิสราเอล จอร์แดน อียิปต์
ปาเลสไตน์ ดินแดนแห่งมัสยิดอันทรงเกียรติ
ดินแดนปาเลสไตน์ ถือเป็นดินแดนที่มีความประเสริฐเป็นอย่างมาก เนื่องแจกดินแดนแห่งนี้เป็นที่ตั้งของมัสยิดอัลอักซอและมัสยิดศิลาอันทรงเกียรติ ทั้งสองมัสยิดถูกสร้างมาก่อนการกำเนิดนบีมูซา นอกจากนี้ อัลกุรอานยังได้เรียกดินแดนปาเลสไตน์ ‘ดินแดนแห่งสิริมงคล’ เป็นจุดหมายปลายทางของอิสเราะ และเป็นจุดเริ่มต้นของมิอุรอจ
ปาเลสไตน์กับบทบาทในเวทีโลก
เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2011 ประธานาธิบดีมาห์มูด อับบาส แห่งปาเลสไตน์ ได้ยื่นสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งเปรียบเสมือนการรับรองรัฐปาเลสไตน์ โดยยูเนสโกเป็นองค์การชำนาญพิเศษของยูเอ็นแห่งแรกที่ปาเลสไตน์ได้เป็นสมาชิกเต็ม
ที่ประชุมสมัชชาใสหญ่องค์การการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) ลงมติรับรองสถานภาพสมาชิกแก่ปาเลสตไน์โดยสมบูรณ์ โดยสมาชิกทั้งหมด 173 ประเทศ ณ ที่ประชุมสมัชชาใหญ่ยูเนสโก ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส สนับสนุนให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานภาพเป็นสมาชิกยูเนสโกเต็มตัว โดยมีประเทศสมาชิกสนับสนุน 107 ประเทศ คัดค้าน 14 ประเทศ ทำให้ปาเลสไตน์ได้รับสถานะสมาชิกภาพยูเนสโกลำดับที่ 195
ต่อมา ยูเอ็นได้ลงมติยอมรับปาเลสไตน์ในฐานะรัฐผู้สังเกตการณ์ เทียบเท่ากับสถานะของนครรัฐวาติกัน เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2012 นายอับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ เผยว่า ยูเอ็นเปรียบเสมือนสูติบัตรที่จะนำไปสู่การยอมรับรัฐปาเลสไตน์ในอนาคต การยอมรับปาเลสไตน์จะช่วยกดดันให้รัฐบาลอิสราเอลกลับเข้าสู่กระบวนการเจรจาสันติภาพร่วมกับปาเลสไตน์อีกครั้ง
สรุปแล้ว ปาเลสไตน์ เป็นประเทศหรือไม่
อันที่จริงแล้วปาเลสไตน์ไม่ใช่ประเทศ เป็นเพียงแค่รัฐเท่านั้น รัฐปาเลสไตน์ ถูกประกาศเป็นรัฐขึ้นเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 1998 รัฐปาเลสไตน์อ้างสิทธิ์เหนือดินแดนปาเลสไตน์ และกำหนดเยรูซาเล็ม (ฝั่งตะวันออก) ให้เป็นเมืองหลวงของรัฐ ตามข้อมูลจากปี 2557 มีประเทศที่รองรับรัฐปาเลสไตน์แล้ว 135 ประเทศ ซึ่งประเทศไทยเป็นหนึ่งในนั้นที่ให้การรับรอง แต่ยังไม่ได้มีการยอมรับว่ารัฐปาเลสไตน์เป็นประเทศแต่อย่างใด
ขอบคุณข้อมูลจาก – 1
อ่านเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับปาเลสไตน์เพิ่มเติม
- ฉนวนกาซา คืออะไร เป็นประเทศไหม ดินแดนเล็ก ๆ สร้างความขัดแย้งมโหฬาร
- “สงคราม 6 วัน” สาเหตุความขัดแย้ง อิสราเอล VS ปาเลสไตน์ บาดเลือดแค้นจนถึงปัจจุบัน