บันเทิง

‘เฌอเอม ชญาธนุส’ วอนไม่เผยแพร่ข้อมูลคนร้าย เหตุกราดยิงพารากอน แต่เจอทัวร์ลง

เฌอเอม ชญาธนุส วอนทุกคนตระหนักเรื่อง No Notoriety ร่วมกันไม่เผยแพร่ข้อมูลคนร้าย ป้องกันพฤติกรรมเลียนแบบ แต่ชาวเน็ตเห็นต่าง เจอทัวร์ลงฉ่ำ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์กราดยิงพารากอน เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา หลังเจ้าหน้าที่ตำรวจได้รับแจ้งว่ามีคนร้ายถือปืนไล่ยิงผู้บริสุทธิ์ในห้างดังกลางเมืองกรุง แม้ว่าต่อมาในภายหลังจะสามารถจับกุมคนร้ายที่เป็นเยาวชนอายุ 14 ปีได้แล้ว แต่ในโลกออนไลน์ก็มีการแชร์ข้อมูลส่วนตัวของผู้ก่อเหตุกันทั่วโซเชียล โดยเฉพาะรูปบัตรประชาชนที่ถือว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล

ด้านคนบัเทิงจากเวทีมิสแกรนด์อย่าง “เฌอเอม ชญาธนุส ศรทัตต์” มิสแกรนด์ลำพูน 2023 ก็ได้ออกมาทวิตถึงเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านทวิตเตอร์ส่วนตัว @realcheraims ถึงประเด็น No Notoriety หรือการงดเผยแพร่ข้อมูลรายละเอียดของผู้กระทำความผิด เพื่อไม่ให้เกิดการลอกเลียนแบบก่อเหตุซ้ำในอนาคต

“เอมอยากขอความร่วมมือทุกคนไม่เผยแพร่ภาพบัตรประชาชนที่คาดว่าเป็นของผู้ก่อเหตุค่ะ เนื่องจากผู้ก่อเหตุยังเป็นเยาวชนและยังไม่มีการยืนยันว่าบัตรใบดังกล่าวเป็นของผู้ก่อเหตุจริง และอาจทำให้เกิดพฤติกรรมเลียนแบบหรือเป็นการให้แสงแก่ตัวบุคคลและโยงไปถึงคนรอบข้างของผู้ก่อเหตุได้

อีกเหตุผลหนึ่งที่เอมไม่อยากให้มีการขุดประวัติและใบหน้าของผู้ก่อเหตุก็เพราะว่า มันอาจกระทบต่อคนที่มีชื่อนามสกุลคล้ายคลึงกัน ในกรณีนี้เราไม่ควรให้แสงที่บุคคล แต่ควรใส่ใจกับแรงจูงใจ ต้นเหตุของพฤติกรรมและที่มาของอาวุธมากกว่า เพื่อศึกษาป้องกันและทำความเข้าใจปัญหาได้มากขึ้น”

เฌอเอม ชญาธนุส กราดยิงพารากอน

อย่างไรก็ดี ด้านชาวเน็ตกลับไม่เห็นด้วยในประเด็นนี้ ต่างเข้ามาโควตทวิตของเฌอเอมไปพร้อมกับแสดงความคิดเห็นในมุมมองที่แตกต่าง โดยหลายคนมองว่าควรเปิดเผยข้อมูลของฆาตกรให้ได้มากที่สุดเพื่อให้ประชาชนทุกคนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องนี้ได้อย่างทันท่วงที และเป็นการช่วยกันจับตาดูบทลงโทษที่ผู้กระทำผิดควรจะได้รับว่าเหมาะสมหรือ

ทั้งนี้ ทางคณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ให้แนวทางเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ว่า เพื่อเป็นการตัดวงจรการลอกเลียนแบบเหตุความรุนแรง และเพื่อลดผลกระทบทางจิตใจต่อผู้เกี่ยวข้อและสังคมโดยรวม ขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายให้ปฏิบัติตามนี้

สิ่งที่ไม่ควรทำ

1. การเปิดเผยชื่อ ภาพ เครื่องแบบ อาวุธ เรื่องราวส่วนตัว ประวัติ และแรงจูงใจในการก่อเหตุของผู้กระทำผิด

2. การสื่อความในลักษณะที่ทำให้ผู้ก่อเหตุดูเท่ ดูเก่ง เช่น ใช้คำบรรยายพฤติกรรมของผู้ก่อเหตุว่า “อุกอาจ” (อาจจะดูเท่ในสายตาของผู้นิยมความรุนแรง”

3. การรายงานเน้นจำนวนผู้เสียชีวิต/ผู้บาดเจ็บ เปรียบเทียบว่าครั้งนี้เสียชีวิต/บาดเจ็บกี่คน มากกว่าหรือน้อยกว่าครั้งก่อนเท่าไร

สิ่งที่ควรทำ

1. ไม่เอ่ยชื่อ ไม่ให้ตัวตนคนร้าย

2. นำเสนอเรื่องราวของผู้ประสบเหตุแทน เพื่อสร้างตัวแบบทางบวกว่าคนเหล่านี้ผ่านเรื่องราวเลวร้ายร่วมกันมาได้อย่างไร

3. เล่าเรื่องราวของผู้ที่แจ้งเหตุก่อน ผู้ที่ตัดสินใจเข้าไปช่วยเหลือคนอื่น

4. อัปเดตเหตุการณ์ตามจริง ตรงไปตรงมา ไม่เร้าอารมณ์

5. เน้นเรื่องการป้องกันและการเยียวยา

กราดยิงพารากอน

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button