รวม 35 รายชื่อคณะกรรมการศึกษา เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ จากทุกพรรค
เปิดรายชื่อ 35 คณะกรรมการศึกษาทำประชามติ เพื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ยืนยันไม่แตะ หมวด 1 หมวด 2 และพระราชอำนาจ แต่ให้มีกระบวนการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น
เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2566 เวลา 12.00 น. ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับแนวทาง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ และนายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง แถลงข่าวเกี่ยวกับ Digital Wallet โดย นายชัย วัชรงค์ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีสรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้
ทั้งนี้ คณะกรรมการทั้งสิ้น 35 คน ด้วยความคิดที่ต้องการให้ครอบคลุมที่สุด โดยจะเริ่มจากไปคุยกับคนจากกลุ่มวิชาชีพต่างๆ เช่น สภานักศึกษา กลุ่มนักธุรกิจ สมาคมต่างๆ สมาคมธนาคาร ประมง นักท่องเที่ยว กลุ่มเกษตรกร นายกสมาคมนักข่าว ซึ่งล้วนเป็นผู้ได้รับผลกระทบ อยากให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน
เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่กว้างขวางที่สุดเท่าที่ทำได้ รวมทั้งจะเชิญตัวแทนพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน ซึ่งวันนี้ นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 256/2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาศึกษาแนวทางในการทำประชามติเพื่อแก้ไขปัญหาความเห็นแตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
รายชื่อ 35 คณะกรรมการศึกษาเพื่อแก้รัฐธรรมนูญ
ภูมิธรรม เวชยชัย รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน
ชูศักดิ์ ศิรินิล เป็นรองประธาน คนที่ 1
กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ เป็นรองประธาน คนที่ 2
นิกร จำนง เป็นกรรมการและโฆษกคณะ
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
นายพิชิต ชื่นบาน ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี
พล.อ.ชัชวาล ขำเกษม
พล.ต.อ.สุเทพ เดชรักษา
พล.ต.อ.วินัย ทองสอง
นายสิรวิชญ์ เสรีธิวัฒน์
นายศุภชัย ใจสมุทร
นายวิรัตน์ วรศสิริน
นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไท
นายวิเชียร ชุปไธสง
นายวัฒนา เตียงกูล
นายยุทธพร อิรชัย
นายไพบูลย์ นิติตะวัน
นายพรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา
นายประวิช รัตนเพียร
นายนพดล ปัทมะ
นายธนกร วังบุญคงชนะ
นายธงชัย ไวยบุญญา
นายเทวัญ ลิปตพัลลภ
นายเดชอิศม์ ขาวทอง
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์
นายชาติพงษ์ จีระพันธุ
นายชนะโรจน์ เทียนธนะวัฒน์
นางสิริพรรณ นกสวน สวัสดี
น.ส.ลิณธิภรณ์ วริณวัชรโรจน์
นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
ผู้แทนพรรคก้าวไกล
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
นายนพดล เภรีฤกษ์ รองเลขาคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายชนินทร์ รุ่งธนเกียรติ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง
สำหรับ แนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องที่มีมติ ครม. เมื่อ 13 กันยายน 2566 โดย นรม. ได้ลงนามจัดตั้ง คกก. ศึกษาแนวทางการทำประชามติ แก้ไขปัญหาความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเป็นการสรรหาที่ได้คุยกันในหลักการก่อน โดยจะร่าง รธน. ผ่านการทำประชามติก่อน หลักการคือไม่แตะต้องหมวด 1-2 และไม่แตะต้องพระราชอำนาจ แต่มีกระบวนการเป็นประชาธิปไตยมากขึ้น และต้องเสร็จสิ้นภายใน 4 ปี ของการทำงานรัฐบาล โดยเสร็จสิ้นถึงกฎหมายลูกด้วย
ส่วนวิธีการในการทำประชามติ 1 ประชาชน 50,000 คนเข้าชื่อ ซึ่งวิธีนี้ต้องใช้เวลาตรวจสอบตัวตนค่อนข้างมาก 2 ยื่นเสนอผ่านรัฐสภาใช้เวลามากเช่นกันและอาจตกได้ 3 ให้คณะรัฐมนตรีมีมติทำประชามติ ครม. ซึ่งถือเป็นการลัดขั้นตอน จึงตั้ง คกก. เพื่อจัดทำ โดยมีหลักการเดียวกัน แต่อาจแตกต่างในรายละเอียด
ขณะนี้มีการนัดหมายการประชุม คกก. นัดแรกภายในสัปดาห์นี้ การประชุมนัดแรกนี้จะมีการหารือเรื่องการจัดตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน รวบรวมประเด็นรายละเอียดนำเสนอชุดใหญ่ ซึ่งอนุฯขับเคลื่อนจะมี รมช.จุลพันธ์ เป็นประธาน และมี นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล เลขานุการ รมว.กค. ซึ่งจะทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบาย ทั้งนี้ เข้าใจดีถึงคำถามจากสื่อมวลชนที่จะเกิดขึ้น ขอรอเวลาให้แต่งตั้งคณะอนุชุดเล็ก และเสนอเข้าชุดใหญ่ก่อน คาดว่าไม่น่าจะเกิน 1 ถึง 2 สัปดาห์ และจะได้มาชี้แจงและลงรายละเอียดให้พี่น้องสื่อมวลชนได้ทราบต่อไป
- ‘ก้าวไกล’ เคลื่อนไหวแล้ว ‘ช่อ พรรณิการ์’ ถูกตัดสิทธิ ชี้ตอกย้ำแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- ‘ชูศักดิ์’ คาดร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ทำประชามติ ใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี
- “ก้อย อรัชพร” ลงชื่อเสนอแก้รัฐธรรมนูญ 2560 เขียนใหม่ทั้งฉบับ
อ้างอิง : 1