การเงินเศรษฐกิจ

แบงก์ชาติลาว แถลงรับผิด แจ้งข่าวปิด 4 ธนาคารไทยใน “สปป. ลาว”

ธนาคารแห่งสปป. ลาว แถลงการณ์ยอมรับผิด เหตุแจ้งข่าวไม่ระวังผลกระทบ ปมปิด 4 ธนาคารไทย ในลาว จนประชาชนสพี่น้อง 2 ฟากฝั่งโขง เข้าใจผิดตื่นตระหนกความเสี่ยงด้านการเงินจนเกือบอลหม่านเล็ก ๆ

จากกรณี เมื่อวันที่ 29 ส.ค.2566 ที่ผ่านมา ธนาคารไทย 4 แห่งที่เปิดทำการสาขาใน สปป.ลาว.ประกอบด้วย ธนาคารทหารไทย (ชื่อเดิม ก่อนควบรวมธนาคารธนชาต) สาขานครหลวงเวียงจันทน์, ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสะหวันนะเขต, ธนาคารซีไอเอ็มบีไทย สาขาเวียงจันทน์ และ ธนาคารกรุงเทพ สาขาปากเซ ได้ทำการยื่นขอปิดกิจการต่อสำนักงานคุ้มครองเงินฝากของสปป.ลาว

จนต่อมาได้เกิดกระแสความตื่นตระหนกว่า “เกิดความเสี่ยงอะไรเกิดขึ้นต่อระบบการเงินหรือไม่นั้น”

ล่าสุด ธนาคารแห่ง สปป.ลาว (แบงก์ชาติลาว) ก็ได้ออกมาเคลื่อนไหวเกี่ยวกับกรณีดังกล่าวแล้ว โดยเป็นการออกแถลงการณ์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน พร้อมกับยอมรับผิด เป็นการแจ้งข่าวสารที่ไม่ได้ระวังถึงผลกระทบที่มีความละเอียดอ่อนที่จะตามมา

“ธนาคารทหารไทย (ชื่อเดิม) ได้ปิดทำการสาขามาหลายปีแล้ว แต่สำนักงานปกป้องเพิ่งนำมาแจ้งทางการเป็นฉบับเดียว ก็เลยเกิดกระแสหนักมากช่วงนี้

ส่วนธนาคารกรุงเทพ สาขาที่ปากเซ ปิดไปนานแล้ว แต่ที่เวียงจันทน์ยังเปิดปกติ ไม่มีแผนจะปิดด้วย”

ขณะที่แหล่งข่าวที่เชื่อถือได้จากธนาคารกรุงเทพ ให้ข้อมูลกับ

เป็นหนังสือแจ้งการทยอยปิดสาขาธนาคารไทยใน สปป.ลาว ในหลายปีที่ผ่านมา แต่สำนักงานปกป้องเงินฝากของ สปป.ลาว ก็ได้ออกหนังสือแจ้งการพ้นจากสมาชิกของธนาคารไทยทั้ง 4 แห่ง รวมกันเป็นฉบับเดียว

ด้วยเหตุนี้ จึงทำให้เกิดการเข้าใจผิดต่อประชาชนทั้งไทยและลาว จนฝั่งของแบงค์ลาวต้องแสดงความรับผิดชอบด้วยการออกมาชี้แจงรายละเอียดทั้งหมดที่เกิดขึ้น

ก่อนหน้านี้ วันที่ 22 ส.ค.66 เฟซบุ๊กแฟนเพจ ลาว”มอง”ไทย (@ สื่อบัญชีโซเชียลซึ่งคอยรายงานความเคลื่อนไหวในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทย ได้โพสต์ข้อความระบุ “ตอนนี้ธนาคารของไทยที่ไปเปิดสาขาในประเทศลาว คงได้กลิ่นอะไรไม่ดีแล้วหวะ จึงได้ยื่นขอปิดกิจการต่อสำนักงานคุ้มครองเงินฝากของลาวดังต่อไปนี้”

  1. ธนาคารทหารไทย สาขา นครหลวงเวียงจันทน์
  2. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสวันเขต
  3. ธนาคารซีไอเอ็มบี สาขา เวียงจันทน์
  4. ธนาคารกรุงเทพ สาขา ปากเซ

ทั้งนี้ บัญชีเงินฝากที่ไม่มีการเคลื่อนไหว 6 ปี จะต้องถูกทำการโอนไปให้ธนาคารแห่งประเทศลาวเป็นผู้คุ้มครองตามระเบียบต่อไป หวานเจี๊ยบ !.

ทั้งนี้ อัปเดตข้อมูลล่าสุกจาก สถานเอกอัครราชฑูต ณ เวียงจันน์ ได้ชี้แจงผ่านบัญชีโซเชียลระบุ ตามที่มีสื่อออนไลน์เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการถอนตัวของธนาคารพาณิชย์ไทยออกจาก สปป.ลาว นั้น

สถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ ขอเรียนสรุป ข้อเท็จจริง ดังนี้

1. สำนักปกป้องเงินฝาก สปป.ลาว ออกประกาศ เรื่อง ธนาคารไทยใน สปป.ลาว 4 แห่ง สิ้นสุดการเป็นสมาชิกของสำนักปกป้องเงินฝาก ประกอบด้วย ธ.ทหารไทย (เวียงจันทน์)/ ธ.กรุงศรีอยุธยา (สะหวันนะเขต)/ ธ. ซีไอเอ็มบี (เวียงจันทน์)/ ธ.กรุงเทพ (ปากเซ) เนื่องจากการยุติกิจการ/ปิดสาขาของธนาคารเหล่านี้ อันเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุนของธนาคาร (ไม่ได้มีผลมาจากเศรษฐกิจภายในของ สปป.ลาว)

2. ธนาคารเหล่านี้ได้เริ่มดำเนินการขอปิดสาขามาตั้งแต่ 3-5 ปีก่อนแล้ว เมื่อดำเนินการเสร็จสิ้นตามกระบวนการแล้ว ธนาคารแห่งชาติลาวจึงออกประกาศทางการเพื่อแจ้งให้สาธารณชนทราบ ซึ่งเป็นขั้นตอนตามปกติ
ทั้งนี้ สำนักงานปกป้องเงินฝาก ได้ออกประกาศชี้แจงเพิ่มเติมอีกฉบับเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง ดังเอกสารแนบนี้

3. นอกจากนี้ นายอาลุน บุนยง หัวหน้ากรมคุ้มครองธนาคารพาณิชย์ ธนาคารแห่ง สปป. ลาว ออกแถลงการณ์ชี้แจงผ่านทางเฟซบุ๊คของธนาคารแห่งชาติ ดังนี้ (1) อธิบายรายละเอียดของการปิดกิจการของสาขาธนาคารพาณิชย์ ทั้ง 4 สาขาโดยละเอียด ซึ่งไม่ใช่การยกเลิกกิจการพร้อมกันในปี 2566 (2) ชี้แจงข้อมูลและขั้นตอนการดำเนินการของธนาคารแห่ง สปป. ลาว ในการอนุมัติปิดสาขา (3) การออกประกาศของสำนักงานปกป้องเงินฝาก เพื่อให้ระเบียบขั้นตอนเสร็จสิ้นอย่างสมบูรณ์ และบัญชีเงินฝากที่ค้างอยู่จะโอนไปฝากไว้ที่ธนาคารพาณิชย์อื่นและยังได้รับการคุ้มครอง (4) ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนใช้วิจารณญาณในการติดตามข้อมูลข่าวสาร

ขณะเดียวกันยังได้ แปะลิงก์แถลงชี้แจงจากทาง “ธนาคารแห่งชาติลาว (Bank of the Lao PDR: BOL)” ไว้ด้วย ที่ด้านล่างนี้.

ขอบคุณคลิป : Facebook ທະນາຄານແຫ່ງ ສປປ ລາວ – Bank of the Lao PDR / @BOL.GOVERNMENT.

 

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button