บันเทิงภาพยนตร์

เล่าประวัติ ‘ออปเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer)’ บิดาแห่งระเบิดปรมาณู

เล่าประวัติ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) บิดาแห่งระเบิดปรมาณู เพื่อยุติสงคราม ถ่ายทอดชีวิตสู่ภาพยนตร์ OPPENHEIMER

เข้าโรงแล้วตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.66 กับ OPPENHEIMER ภาพยนตร์อัตชีวประวัติของ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ เจ้าของฉายา บิดาแห่งระเบิดปรมาณู ผ่านฝีมือการกำกับของ คริสโตเฟอร์ โนแลน และยังได้ คิลเลียน เมอร์ฟี มารับบทเป็น รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ อีกด้วย

อย่าที่หลายคนรู้กันว่าภาพยนตร์เรื่อง ออปเพนไฮเมอร์ (Oppenheimer) เป็นหนังที่ถ่ายทอดเรื่องราวของบุคคลที่มีตัวตนอยู่ในประวัติศาสตร์โลกจริง ๆ ดังนั้นวันนี้ Thaiger จะของเล่าเกร็ด ประวัติ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ให้ทุกคนได้อินกันก่อนไปชมภาพยนตร์ในโรงกัน

ประวัติ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer)

เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) เกิดเมื่อวันที่ 22 เมษายน ค.ศ.1904 และเสียชีวิตในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1967 สิริอายุรวม 63 ปี นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อยุติสงครามในโครงการแมนแฮตตันสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2

ออปเพนไฮเมอร์ เกิดและโตที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ในครอบครัวที่มาฐานะดี มีบิดาเป็นชาวเยอรมันที่ได้อพยพมาที่สหรัฐ และประกอบอาชีพทำธุรกิจเกี่ยวกับเสื้อผ้า ในวัยเด็กเขามักถูกรังแกอยู่ครั้ง ทำให้เขาเลือกที่จะปลีกตัวอ่านหนังสือวิทยาศาสตร์เพียงคนเดียว

ประวัติการศึกษา Oppenheimer

ออปเพนไฮเมอร์ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด โดยมี Percy Williams Bridgman (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1955) เป็นครูสอน และอีก 2 ปีต่อมา เขาสำเร็จการศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยเกิททิงเงิน ในประเทศเยอรมัน โดยมีมัคส์ บอร์น (รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ค.ศ. 1954) เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการทำวิทยานิพนธ์

เขาเข้ารับตำแหน่งศาสตราจารย์ฟิสิกส์สังกัดมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ และที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนียแห่งละ 6 เดือน ตลอดชีวิตการศึกษา และทำงานเขาได้ร่วมงานกับนักฟิสิกส์ผู้มีชื่อเสียงหลายคน ได้แก่ Percy Bridgman, Max Born, Paul Ehrenfest, Hans Kramers, Wolfgang Pauli และ Robert Andrews Millikan ด้วย

ต่อมาเขาได้สมัครเรียนที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในระดับปริญญาเอก แต่เขาถูกปฏิเสธจาก Ernest Rutherford เขาจึงตัดสินใจวิจัยด้านฟิสิกส์เชิงทฤษฎีแทน โดยเน้นการใช้กลศาสตร์ควอนตัม ศึกษาธรรมชาติของนิวเคลียสในอะตอม

โครงการแมนแฮตตัน

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ. 2486 – 2488 เขาได้ลาออกจากมหาวิทยาลัยและมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการสร้างระเบิดปรมาณูเพื่อยุติสงครามในโครงการแมนแฮตตัน ที่บริเวณลอสอาลาโมส รัฐนิวเม็กซิโก ซึ่งไม่กี่ปีต่อมา ที่แห่งนี้เต็มไปด้วย นักวิทยาศาสตร์ดาวเด่นระดับโลก เช่น เอ็นริโก เฟอร์มี, เอมิลิโอ เซอเกร, เฮอร์เบิร์ท แอนเดอร์สัน และ รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ เป็นต้น

ในที่สุด เมื่อถึงวันที่ 16 กรกฎาคม ค.ศ. 1945 การทดสอบระเบิดปรมาณูลูกแรกของโลกก็ระเบิดที่กลางทะเลทรายในรัฐนิวเม็กซิโกห่างจากลอสอาลาโมสไปทางใต้เกือบ 200 ไมล์ พบว่าระเบิดมีพลังมากกว่าที่คิดไว้มาก มีแสงสว่างจ้าเกิดขึ้นจนเด็กหญิงตาบอดที่อยู่ห่างหลายไมล์เห็นแสงระเบิดได้

จากรายงานผลการทดสอบ โครงการแมนแฮตตัน ได้มีการใช้ระเบิดปรมาณูอย่างจริงจังในสงคราม โดยสงครามโลกครั้งที่ 2 ประธานาธิบดี แฮร์รี เอส. ทรูแมน ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี ตัดสินใจทิ้งระเบิดปรมาณูลูกแรกลงที่เมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น และในอีก 2-3 วันต่อมา ระเบิดปรมาณูลูกที่สองถูกทิ้งลงที่เมืองนางาซากิ ทำให้ญี่ปุ่นประกาศแพ้สงครามโลกครั้งที่ 2

เมื่อการฉลองผ่านไป นักวิทยาศาสตร์เริ่มหันกลับมาให้ความสนใจกับจำนวนผู้เสียชีวิตที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ สงสัยว่าพวกเขาทำถูกหรือไม่ที่สร้างลูกระเบิดอะตอมขึ้นมา และค่อย ๆ ทยอยจากไปทีละคนสองคน รวมถึงตัวของ เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ ที่เขาเลือกย้ายไปอยู่ที่วอชิงตัง

ผู้อำนวยการสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งชาติ

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1947 เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) รับตำแหน่งอธิการบดีของ Institute for Advanced Study ที่พรินซ์ตัน ซึ่งอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ เป็นพนักงานประจำและเป็นที่ปรึกษาของสำนักงานพลังงานปรมาณูแห่งชาติ (Atomic Energy Commission : AEC)

จนกระทั่ง 2 ปีต่อมา 1949 รัสเซียประสบความสำเร็จในการสร้างระเบิดปรมาณู และโลกเข้าสู่ภาวะสงครามเย็น บรรดานักการเมืองและนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐหลายคน เช่น Lewis Strauss ประธานของ AEC ลงความเห็นว่า สหรัฐต้องสร้างระเบิดไฮโดรเจนที่มีพลังในการทำลายมากกว่าระเบิดปรมาณูหลายพันเท่า

ทางด้านของ ออปเพนไฮเมอร์ ไม่เห็นด้วยกลายเป็นความขัดแย้งนี้ทำให้เขามีศัตรูเพิ่มขึ้นหลายคน และเขาถูกตั้งข้อกล่าวหาว่า เป็นคอมมิวนิสต์ เพราะน้องชายของเขา Frank Friedman Oppenheimer และภรรยาของเขา Kitty Puenina เป็นสมาชิกของพรรคคอมมิวนิสต์

เมื่อมีประวัติและมีศัตรูทั้งทางทหารและทางวิชาการจำนวนมาก ในปี ค.ศ. 1954 เขาจึงถูกปลดออกจากราชการในข้อหาเป็นบุคคลอันตรายที่ไม่เหมาะสมจะเป็นข้าราชการทำงานป้องกันประเทศอีกต่อไป โดยประธานาธิบดี ดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์

บั้นปลายชีวิตของ Oppenheimer

เจ. รอเบิร์ต ออปเพนไฮเมอร์ (J. Robert Oppenheimer) ใช้ชีวิตบั้นปลายที่ Saint John, U.S. Virgin Islands กับครอบครัว แล่นเรือใบ และดื่มค็อกเทล ก่อนล้มป่วยด้วยโรคมะเร็งที่ลำคอ เพราะสูบบุหรี่จัด และเสียชีวิตในวันที่ 18 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1967 โดยได้กล่าวก่อนสิ้นใจว่า

“ข้าพเจ้ารู้สึกผิดที่ทำให้โลกมีระเบิดปรมาณู แต่ไม่เสียใจ”.

ข้อมูล Wikipedia

 

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button