ข่าว

เช็กที่นี่ อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มเก็บเงิน 3 ก.ค. 66 วันแรก

เปิดอัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง จากสถานีลาดพร้าวถึงสถานีสำโรง เตรียมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ 3 กรกฎาคม 2566 วันแรก ราคาเริ่มต้นเท่าไหร่ เช็กเลยที่นี่

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2566 การรถไฟฟ้นขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และบริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด ผู้รับสัมปทานโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เผยว่า รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง เตรียมเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ ทั้ง 23 สถานี จากสถานีลาดพร้าว ถึงสถานีสำโรง ตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม 2566 เป็นต้นไป โดยมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง เริ่มเก็บเงิน 3 ก.ค. 66

หลังจากที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้เปิดให้บริการรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ในเชิงพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบแล้วนั้น ค่าโดยสารจากสถานีลาดพร้าวถึงสถานีสำโรง เริ่มต้นที่ 15 บาท สูงสุด 45 บาท โดยรูปแบบอัตราค่าโดยสาร จะเป็นดังนี้

เดินทาง 2 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 18-21 บาท

เดินทาง 3 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 22-24 บาท

เดินทาง 4 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 24-28 บาท

เดินทาง 5 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 27-32 บาท

เดินทาง 6 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 30-36 บาท

เดินทาง 7 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 33-40 บาท

เดินทาง 8 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 38-43 บาท

เดินทาง 9 สถานี อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 42-45 บาท

เดินทาง 10 สถานีขึ้นไป อัตราค่าโดยสารจะอยู่ที่ 45 บาท

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ภาพจาก Facebook Page : รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง

ช่องทางการคำระค่าโดยสารรถไฟ้าสายสีเหลือง มีอะไรบ้าง

หลังจากที่รู้อัตราค่าบริการกันไปแล้ว หลายคนอาจจะยังสงสัยว่าหากเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง สามารถชำระเงินได้ผ่านช่องทางใดบ้าง โดยทุกท่านสามารถชำระค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ได้ 3 วิธี ดังนี้

1. บัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว (Single Journey Card) โดยออกบัตรได้ที่เครื่องจำหน่ายบัตรโดยสาร หรือติดต่อเจ้าหน้าที่ ณ ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารภายในสถานี ทั้งนี้ กรณีผู้ได้รับสิทธิสวัสดิการแห่งรัฐ สามารถนำบัตรประชาชนติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อออกบัตรโดยสารประเภทเที่ยวเดียว ได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสาร

2. บัตรแรบบิท (บัตรโดยสารประเภทเติมเงิน) โดยสามารถแตะเข้า-ออกระบบไฟไฟฟ้าที่จุดให้บริการ และเติมเงินได้ที่ห้องจำหน่ายบัตรโดยสารภายในสถานี

3. บัตร EMV Contactless โดยใช้บัตรเครดิตวีซ่า (VISA) หรือมาสเตอร์การ์ด (Mastercard) ของธนาคารใดก็ได้ รวมถึงบัตรเดบิตของธนาคารกรุงไทย บัตรเดบิตของธนาคารยูโอบี และบัตรเดบิต Play Card ของ เป๋าตังเปย์ (Paotang Pay) บนแอปพลิเคชัน “เป๋าตัง” ที่มีสัญลักษณ์ Contactless Payment บนหน้าบัตรหรือหลังบัตร

สำหรับผู้ใช้บัตร EMV Contactless สามารถแตะเข้า-ออกระบบรถไฟฟ้าที่จุดให้บริการ เครื่อง EDC บริเวณประตูพิเศษ (Swing Gate) โดยมีแผนจะขยายจุดให้บริการเพิ่มเติมให้ครบทุกประตูจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ (AFC Gate) ในลำดับถัดไป

พร้อมกันนี้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารยูโอบี จำกัด (มหาชน) ได้เตรียมออกบูทบริการให้คำแนะนำเกี่ยวกับบัตร EMV Contactless และรับสมัครบัตรเดบิต Krungthai TranXit Debit Card และบัตรเดบิต UOB TMRW ที่สถานีลาดพร้าว (YL01) ในวันที่ 3 กรกฎาคม 2566

บัตรโดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ภาพจาก Facebook Page : รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง

รวมสถานที่จอดรถยนต์ใกล้สถานีรถไฟฟ้าสายสีเหลือง มีที่ใดบ้าง

นอกจากจะใช้การเดินทางสัญจรด้วยรถไฟฟ้าแล้ว ผู้โดยสารยังสามารถนำรถยนต์มาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ได้ที่อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าวและอาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม โดยคิดอัตราค่าจอดรถสำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า ดังนี้

1. อาคารจอดรถสถานีลาดพร้าว คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ 2 ชั่วโมง 15 บาท รถจักรยานยนต์ 4 ชั่วโมง 5 บาท (กรณีไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 50 บาท)

2. อาคารจอดรถสถานีศรีเอี่ยม คิดอัตราค่าจอดรถยนต์ ชั่วโมงละ 5 บาท รถจักรยานยนต์จอดฟรี (กรณีไม่ใช่บริการรถไฟฟ้า ชั่วโมงละ 20 บาท)

อัตราค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลือง
ภาพจาก Facebook Page : รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง

จากมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2566 ที่ผ่านมา นอกจากการอนุมัติค่าโดยสารรถไฟฟ้าสายสีเหลืองแล้ว ยังมีมติเห็นชอบร่างข้อบังคับ รฟม. อีก 4 ฉบับ ที่เกี่ยวกับอัตราค่าแรกเข้าเมื่อเปลี่ยนสายรถไฟฟ้า และอัตราค่าจอดรถในพื้นที่จอดรถของ รฟม. อย่างไรก็ตาม อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้าสายอื่น ๆ ยังคงเดิม

ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง MRT Yellow Line, Call Center โทร. 0-2617-6111, Line Official : @pinkyellowline, เว็บไซต์ www.ebm.co.th หรือเฟซบุ๊กเพจ รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง

และติดตามรายละเอียดข้อมูลข่าวสารของ รฟม. ได้ที่เว็บไซต์ รฟม. www.mrta.co.th และเฟซบุ๊กแฟนเพจ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ Call Center รฟม. โทร. 0-2716-4044 “รฟม. ร่วมยกระดับเมืองด้วยโครงข่ายรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนและนวัตกรรม เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน”

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button