ข่าวข่าวต่างประเทศ

ไขความจริง ‘เรือไททานิค’ ย้อนประวัติ สาเหตุโศกนาฏกรรม เรือล่มที่โลกจำ

ล้วงลึกย้อนรอย ประวัติ เรือไททานิค (Titanic) เหตุการณ์เรือล่ม สะเทือนหน้าประวัติศาสตร์ ผ่านมา 111 ปีแต่เรื่องราวไม่จางหาย มีสาเหตุเรือล่มจากอะไร

ในเวลานี้ 2023 ทั้งโลกต่างจับตาดูความคืบหน้าของการหา เรือดำน้ำไททัน ที่ได้หายไปอย่างปริศนาขณะนำนักท่องเที่ยวเศรษฐีหลายคนดำน้ำชม ซากเรือไททานิค อายุกว่า 111 ปีอย่างใกล้ชิด แต่หลายคนรู้หรือไม่ว่าแท้จริงแล้ว เรือไททานิค มีสาเหตุการจมได้อย่างไร Thaiger จะพาย้อนรอยหน้าประวัติศาสตร์ ไขคำตอบนั้นให้เอง

ประวัติ เรือไททานิค (Titanic) เหตุการณ์เรือล่ม ครั้งสำคัญของโลก

จุดกำเนิด เรือไททานิค (Titanic)

เรือไปรษณีย์หลวงไททานิก (Royal Mail Ship Titanic) หรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิก (RMS Titanic) คือโปรเจ็คของ บริษัทไวท์สตาร์ไลน์ ซึ่งทำธุกิจเกี่ยวกับเรือสำราญขนาดใหญ่ข้ามมหาสุทร โดยโครงการนี้ จัดทำขึ้นเพื่อสร้างเรือสำราญที่ขนาดใหญ่กว่า และดีกว่าขคู่แข่งในตลาด ณ เวลานั้น

เรือไททานิค ถูกสร้างขึ้นด้วยระบบวิศวกรรมและเทคโนโลยี ที่ทันสมัยที่สุดในเวลานั้น ระหว่าง ค.ศ.1909-1911 โดยอู่ต่อเรือฮาร์แลนด์แอนดวูล์ฟฟ์ โดยสามารถบรรทุกผู้โดยสาร 2,223 คน และสร้างเสร็จในปี ค.ศ.1912 พร้อมกับตั้งฉายาให้ว่า “เรือที่ไม่มีวันจม”

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

ภายในเรือ มีการตกแต่งด้วยสถาปัตยกรรมที่หรูหรา ประกอบกับสิ่งอำนวยความสะดวกมากมายเช่น สระว่ายน้ำ สนามสควอช ยิม และเลาจน์ โดยได้รับแรงบรรดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมมาจาก พระชารวังแวร์ซายส์ ประเทศฝรั่งเศษ (รูปแบบต่าง ๆ บนเรือในภาพยนตร์เรื่อง Titanic ปี 1997 เป็นต้นแบบที่คล้ายกับของจริง)

เดิมที เรือไททานิค มีกำหนดเส้นทางเดินเรือในวันที่ 10 เมษายน ค.ศ.1912 จากเมืองเซาท์แธมตัน ประเทศอังกฤษ สู่มหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ด้วยระยะทางกว่า 600 กิโลเมตร โดยจะผ่านน่านน้ำของฝรั่งเศส และไอร์แลนด์

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

เหตุการณ์เตือน ก่อนวันออกเรือไททานิค

ช่วงก่อนหน้าที่ไททานิกออกเดินทาง ได้เกิดเหตุไฟไหม้บริเวณส่วนเก็บถ่านหินที่ บล็อก 5 และ 6 และไฟยังไหม้ต่อเนื่องตลอดการเดินทาง ความเสียหายนั้นส่งผลให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ก่อนถึงห้องเครื่อง และ ส่วนที่เก็บถ่านหินนั้นร้อนมาก อุณหภูมิไม่ตํ่ากว่า 1,500 ฟาเรนไฮต์ จนผนังกั้นนํ้าร้อนจนแดง และตัวเหล็กของผนังกั้นนํ้านั้นบิด งอ ลดการทนทานนํ้าไปกว่า 75%

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

ไททานิค เรือที่ไม่มีวันจม สู่ซากเรือก้นมหาสมุทร

วันที่ 11 เมษายน 1912 เป็นวันที่เรือไททานิค ออกจากท่าเรือวันแรก พร้อมบรรทุกผู้โดยสาร และลูกเรือกว่า 2,223 ชีวิต ประกอบไปด้วยบุคคลหลายชนชั้นตั้งแต่ มหาเศรษฐีที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ไปจนถึงผู้อพยพกว่าพันคนจากบริเตนใหญ่ และไอร์แลนด์ สแกนดิเนเวีย เป็นต้น

ตลอดการเดินทาง ทะเลเงียบสงบ ท้องฟ้าเปิด เรือไททานิค เดินทางมาถึงนิวฟอนด์แลนด์ ห้องบัญชาการเรือ ได้รับแจ้งเตือนภัยจากเรือลำอื่นให้ระวังเรื่องของ ภูเขาน้ำแข็ง ที่ขึ้นอยู่ประปรายในบริเวณนั้น แต่ทางด้านของ เอ็ดเวิร์ด สมิธ กับตัวใหญ่ของเรือไททานิค สั่งการให้เรือเดินหน้าเต็มกำลังต่อไป

สาเหตุที่กัปตันสั่งให้เรือเดินหน้าเต็มกำลังต่อไปเนื่องจาก ภูเขาน้ำแข็ง ต้นหนของเรือ ที่ควรจะเป็นผู้ส่องและแจ้งเตือนทิศทางอันตรายด้านหน้า ไม่ได้มีรายงานใด ๆ ส่งมาในห้องบัญชาการ บวกกับความเชื่อมันในขนาดและความแข็งแกร่งของเรือไททานิค ทำให้กัปตันจึงไม่ได้กังวัลใด ๆ

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

วินาทีโศกอนาฏกรรม เรือไททานิคล่ม

วันที่ 14 เมษายน ค.ศ.1912 เวลา 23.40 น. ต้นหนของเรือสังเกตเห็นภูเขาน้ำแข็งขนาดใหญ่ วางอยู่ตรงหน้า และเรือกำลังจะเข้าไปปะทะโดยตรงด้วยความเร็วเต็มกำลัง ต้นหนจึงรีบส่งสัญญาณเตือนภัยไปยังห้องบัญชาการทราบทันที ซึ่งในเวลานั้นเป็นเวรของ วิลเลียม เมอร์ด็อก รองกัปตันเรือ เป็นผู้คุมเรือ

รองกัปตันวิลเลียม เมอร์ด็อก พยายามหักพังงาเรืออย่างเต็มกำลัง และดับการทำงานของเครื่องยนต์เรือ เพื่อชะลอความเร็ว แต่เนื่องจากขนาดของเรือ และความเร็วก่อนหน้า ทำให้แทบจะเป็นไปไม่ได้ที่เรือไททานิค จะสามารถหลบภูเขาน้ำแข็งได้ทันเวลา

จากทิศทางการหักเหลี้ยว ส่งผลให้ด้านขวาของเรือ ปะทะเข้ากับภูเขาน้ำแข็งเต็ม ๆ ทำให้ผนังกั้นนํ้าชั้นที่ 4 ไม่สามารถทนทานแรงดันนํ้าได้ จึงส่งผลให้นํ้าทะลักเข้ามาภายในตัวเรือได้ อีกสองชั่วโมง สามสิบนาทีต่อมา น้ำค่อย ๆ ไหลเข้ามาในเรือและจมลง ผู้โดยสารและสมาชิกลูกเรือบางส่วนถูกอพยพในเรือชูชีพ โดยมีเรือชูชีพจำนวนมากถูกปล่อยลงน้ำไปทั้งที่ยังบรรทุกไม่เต็ม

Credit: Wikipedia

ชายจำนวนมาก กว่า 90% ของชายในที่นั่งชั้นสอง ถูกทิ้งอยู่บนเรือเพราะระเบียบ “ผู้หญิงและเด็กก่อน” ตามด้วยเจ้าหน้าที่ซึ่งบรรทุกเรือชูชีพนั้น ก่อนเวลา 02.20 น. เล็กน้อย ไททานิค แตกครึ่งลำ และจมลงก้นสมุทรอย่างช้า ๆ ขณะที่ยังมีอีกกว่าพันคนอยู่บนเรือ

คนที่อยู่ในน้ำเสียชีวิตภายในไม่กี่นาทีจากภาวะตัวเย็นเกิน (hypothermia) อันเกิดจากการจุ่มในมหาสมุทรที่เย็นจนเป็นน้ำแข็ง ผู้รอดชีวิต 710 คนถูกนำขึ้น เรืออาร์เอ็มเอส คาร์พาเธีย (RMS Carpathia) ในเวลา 04.10 น. รวมเป็นเวลาลอยคอทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง

จากข้อมูล ผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ เรือไททานิคล่ม ไม่ได้มีเพียงแค่ผู้หญิงและเด็กเท่านั้น แต่ก็มีชายจากผู้โดยสารชั้น 1ชั้น 2 ชั้น 3 และลูกเรือ ติดมาด้วยเช่นกัน แต่ส่วนใหญ่ผู้ชายที่รอดชีวิตมา จะถูกตราหน้าว่าไม่มีความเป็นสุภาพบุรุษ เนื่องจากวัฒนธรรมในช่วงเวลานั้น

ตัวอย่างเช่น เจ.บรูซ อิสเมย์ กรรมการผู้จัดการไวต์สตาร์ไลน์ หนึ่งในผู้ชายไม่กี่คนที่รอดชีสิตมาได้ ท้ายสุดเขาล้มละลาย เพราะสังคมต่างกล่าวหาว่าเขานั้น แย่งที่นั่งของเด็กและสตรี แต่บางคำกล่าวบอกว่า อิสเมย์ ปลอมตัวเป็นผู้หญิงเพื่อขึ้นเรือกู้ชีพ แต่เขาออกมาปฏิเสธ พร้อมบอกว่าตัวเองลงเรือคนสุดท้าย เพราะเห็นว่าในเรือมีที่ว่างอีก 1 ที่

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

หลังจากนั้นมา ไม่มีลูกเรือไททานิก ที่รอดชีวิตคนใดสามารถก้าวไปถึงตำแหน่งกัปตันเรือ ได้อีกเลย และภัยพิบัติดังกล่าวทำให้ทั่วโลกตกตะลึงและโกรธจากการสูญเสียชีวิตอย่างใหญ่หลวง และความล้มเหลวของกฎระเบียบและปฏิบัติการซึ่งนำไปสู่ภัยพิบัตินั้น การไต่สวนสาธารณะในอังกฤษและสหรัฐอเมริกานำมาซึ่งพัฒนาการหลักในความปลอดภัยในทะเล

หนึ่งในมรดกสำคัญที่สุด คือการจัดตั้ง อนุสัญญาความปลอดภัยของชีวิตในทะเลระหว่างประเทศ (SOLAS) ใน ค.ศ. 1914 ซึ่งยังควบคุมความปลอดภัยในทะเลตราบจนทุกวันนี้ ผู้รอดชีวิตหลายคนสูญเสียเงินและทรัพย์สินทั้งหมดและถูกทิ้งให้อดอยากหลายครอบครัว โดยเฉพาะลูกเรือจากเซาท์แทมป์ตัน สูญเสียเสาหลักของครอบครัวไป.

เรือไททานิค ประวัติ
Credit: Wikipedia

สาเหตุที่เรือไททานิค จากเรือฉายาไม่มีวันจม สู่การจมลึกก้นมหาสมุทร ก็เป็นเพราะกาบขวาเรือชนกับภูเขาน้ำแข็งเป็นทางยาว ทำให้น้ำทะลักเข้าสู่ท้องเรือ ส่งผลให้เรือหักครึ่งและจมลงสู่ท้องทะเล เป็นอุทาหรณ์ของคนทั่วโลก ที่ให้ตระหนักถึงความไม่ประมาทดังเช่นกัปตันของเรือ และอยู่บนความมีสติ เพื่อปกป้องชีวิตของตนเอง และคนรอบข้างนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูล 1 2

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button