ข่าว

คณะกรรมการสิทธิฯ จี้ สพฐ. เร่งแก้ปัญหา “หยก” ได้อยู่ในระบบการศึกษา

คณะกรรมการสิทธิฯ ออกแถลงเรื่อง หยก ยืนยันสิทธิการศึกษาขั้นพื้นฐาน สอดคล้อง เป็นไปตามอนุสัญญาสิทธิเด็ก จี้สพฐ.ต้องเร่งหาทางออกร่วมกันทุกฝ่าย ให้หยก ได้อยู่ในระบบการศึกษา

วันที่ 19 มิถุนายน 2566 คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ออกแถลงการณ์ถึงกรณี หยก เยาวชน 15 ปี ที่เวลานี้กำลังประสบปัญหาเข้าถึงสิทธิทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง โดยรายละเอียดในหนังสือแถลงการณืเรื่อง สิทธิเด็กกรณ “หยก” ไม่มีชื่อในระบบการศึกษาของรัฐ

เนื้อหาทั้งหมดมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้ แถลงการณ์คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เรื่อง สิทธิเด็กกรณี “หยก” ไม่มีชื่อในระบบการศึกษาของรัฐ

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ได้ติดตามสถานการณ์กรณี “หยก” เยาวชนวัย 15 ปี ประสบปัญหาการเข้าถึงสิทธิทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ “หยก” ยังถูกควบคุมตัวอยู่ในสถานพินิจ โดยได้ประสานการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนกับโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการเพื่อให้ได้เข้าเรียน ซึ่ง “หยก”ได้เข้าเรียนเป็นเวลาเกือบหนึ่งเดือนแล้ว

ต่อมา โรงเรียนได้ออกแถลงการณ์ระบุว่า ยังไม่ได้บันทึกชื่อของ “หยก” ในระบบจัดเก็บข้อมูล นักเรียนรายบุคคล (Data Management Center – DMC) เนื่องจากไม่มีผู้ปกครองมาดําเนินการมอบตัวตาม เงื่อนไขที่กําหนด ทําให้ไม่มีสถานะเป็นนักเรียนของโรงเรียน

กสม. ยืนยันสิทธิทางการศึกษาเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่รัฐต้องประกันให้เด็กทุกคน อันสอดคล้องและ เป็นไปตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก (Convention on the Rights of the Child – CRC) ที่ประเทศไทยเป็นภาคี และมีพันธกรณีต้องปฏิบัติตาม การพิจารณาและดําเนินการใด ๆ ของโรงเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสําคัญ

กสม. เห็นว่า สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะหน่วยงานต้นสังกัด ของโรงเรียน ควรเร่งพิจารณาหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ “หยก” ได้อยู่ในระบบ การศึกษา สําหรับกรณีปัญหาเกี่ยวกับผู้ปกครองตามมาตรา 4 และมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546 นั้น กรมกิจการเด็กและเยาวชน กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมถึง พนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าวควรเข้ามาทําหน้าที่ร่วมกับทีมสหวิชาชีพเพื่อดูแล คุ้มครองสิทธิและ สวัสดิภาพของเด็กเป็นการเร่งด่วน ขณะเดียวกัน ทุกฝ่ายควรช่วยกันทําให้สถานการณ์คลี่คลายและ สร้างความเข้าใจต่อกันมากกว่าสร้างความขัดแย้ง และไม่ควรส่งเจ้าหน้าที่ตํารวจเข้าไปในโรงเรียน

ทั้งนี้ กสม. พร้อมเป็นหน่วยงานกลางในการเปิดพื้นที่พูดคุยร่วมกันของทุกฝ่ายเพื่อหาทางออกเรื่อง ดังกล่าว โดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กรวมทั้งประโยชน์ส่วนรวม และจะประสานการคุ้มครอง สิทธิมนุษยชนกรณีของ “หยก” อย่างต่อเนื่องต่อไป เพราะเด็กทุกคนต้องไม่ถูกตัดออกจากระบบการศึกษา ไม่ว่ากรณีใด

คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ 19 มิถุนายน 2566.

แถลงการณ์ กสม. สิทธิเด็กกรณี หยก

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button