ข่าว

เปิดกฎหมายมหาชน รู้หรือไม่ ‘ปลอมเอกสารบริษัท’ โทษติดคุกถึง 5 ปี

ผู้ใดมีจิตอกุศลคิดกระทำ “ปลอมแปลงเอกสารบริษัท” มีโทษ จำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ อ้างอิงตามกฎหมายมหาชน ของพระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535

เปิดข้อกฎหมายมหาชนที่ประชาชนควรรู้ โทษของการคอรัปชั่น การโกง หรือทุจริต หากตรวจพบว่าเนื้อหาในเอกสารของบริษัทไม่ตรงตามจริง หรือมีการดัดแปลงแก้ไขเอกสารของบริษัทให้เป็นไปในรูปแบบอื่น ๆ กฎหมายมหาชน หรือ พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พุทธศักราช 2535 มาตรา 216 ระบุเอาไว้ว่า “ปลอมแปลงเอกสารบริษัท” มีโทษ จำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ดังนั้น ทีมงาน Thaiger จึงได้รวบรวมรายข้อมูลเกี่ยวกับข้อกำหนดกฎหมายมหาชน พ.ร.บ.มหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการ “ปลอมเอกสารบริษัท” มีโทษการชดใช้ทั้งจำทั้งปรับโดยละเอียดอย่างไรบ้าง ถ้าพร้อมแล้วก็เข้ามาลุยอ่านในนี้ได้เลยครับ

กฎหมายมหาชน “ปลอมแปลงเอกสารบริษัท” โทษ อะไรบ้าง

ปลอมแปลงเอกสารบริษัท มีโทษทางกฎหมายอย่างไรบ้าง อ้างอิงตาม พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 216 ​ บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใดกระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้

(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของบริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท หรือ

(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของบริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท

ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ปลอมแปลงเอกสารบริษัท โทษ 2566

ความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา

กรณีโทษของการปลอมแปลงเอกสารตาม มาตรา 264 กฎหมายอาญา ระบุว่า “ผู้ใดทำเอกสารปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่ส่วนหนึ่งส่วนใด เติมหรือตัดทอนข้อความ หรือแก้ไขด้วยประการใดๆ ในเอกสารที่แท้จริง หรือประทับตราปลอม หรือลงลายมือชื่อปลอมในเอกสาร โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ถ้าได้กระทำเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง ผู้นั้นกระทำความผิดฐานปลอมเอกสารต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ผู้ใดกรอกข้อความลงในแผ่นกระดาษหรือวัตถุอื่นใด ซึ่งมีลายมือชื่อของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอม หรือโดยฝ่าฝืนคำสั่งของผู้อื่นนั้น ถ้าได้กระทำเพื่อนำเอาเอกสารนั้นไปใช้ในกิจการที่อาจเกิดเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือประชาชน ให้ถือว่าผู้นั้นปลอมเอกสาร ต้องระวางโทษเช่นเดียวกัน”

ส่วนโทษของการปลอมแปลงเอกสารราชการหรือเอกสารสิทธิ ตามกฎหมายมหาชน มาตรา 265 กล่าวว่า ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท

นอกจากนี้ในการปลอมแปลงเอกสารตามกฎหมายอาญา มาตรา 266 ได้ระบุประเภทเอกสารที่ต้องได้รับโทษไว้ดังนี้

1. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ

2. พินัยกรรม

3. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้

4. ตั๋วเงิน หรือ

5. บัตรเงินฝาก

ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

ปลอมแปลงเอกสารบริษัท โทษอะไรบ้าง

สรุปก็คือกฎหมายเกี่ยวกับการปลอมแปลงเอกสารแบ่งออกเป็นตาม พระราชบัญญัติบริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 “ปลอมแปลงเอกสารบริษัท” มีโทษ จำคุกสูงสุด 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสาร ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามมาตรา 264 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 6,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 265 กล่าวว่า ผู้ใดปลอมเอกสารสิทธิ หรือเอกสารราชการต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาทถึง 10,000 บาท และมาตรา 266 ได้ระบุประเภทเอกสารที่ต้องได้รับโทษไว้ ได้แก่ 1. เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการ 2. พินัยกรรม 3. ใบหุ้น ใบหุ้นกู้ หรือใบสำคัญของใบหุ้นหรือใบหุ้นกู้ 4. ตั๋วเงิน หรือ 5. บัตรเงินฝาก ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท นั่นเองครับ

ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับกระบวนการยุติธรรมว่าจะตีความและวิเคราะห์ในแต่ละกรณีไปว่าเข้าข่ายตามกฎหมายมาตราใดบ้าง เพื่อที่จะได้รับโทษความผิดได้อย่างเหมาะสม.

อ้างอิง : 1 2

ปลอมแปลงเอกสารบริษัท โทษจำคุก ปรับเงิน

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button