ข่าวข่าวการเมืองเลือกตั้ง 66

รัฐบาลเสียงข้างน้อยคืออะไร สูญญากาศทางการเมืองที่อาจเกิดขึ้น

ทำความรู้จักความหมาย “รัฐบาลเสียงข้างน้อย” คืออะไร ทำไมถึงการจัดตั้งรัฐบาลโดยที่พรรคที่เป็นแกนจัดตั้งด้วยเสียงน้อยถึงมีปัญหา และไม่ควรเกิดขึ้น จากกระแสของ ผลเลือกตั้ง 66 ที่ พรรคก้าวไกล ได้รวบรวมเสียงข้างมากในการจัดตั้งรัฐบาล แต่มีข้อครรหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจนไม่สามารถจัดตั้งได้ จนอาจจะเกิดรัฐบาลเสียงข้างน้อยขึ้น วันนี้ Thaiger จะมาไขข้อสงสัยว่า แท้จริงแล้วรัฐบาลเสียงข้างน้อยคืออะไร ทำไมมันถึงมีปัญหา ไปอ่านได้กันได้เลยครับ

รัฐบาลเสียงข้างน้อยคืออะไร ทำไมต้องเกรงใจเสียงข้างมาก

รัฐบาลเสียงข้างน้อย (minority government) คือ ฝ่ายรัฐบาลที่มีพรรคแกนนำการจัดตั้งด้วยจำนวน ส.ส. ที่น้อย ซึ่งส่งผลให้การตัดสินใจต่าง ๆ ต้องมีการเจรจากับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ ซึ่งตามกระบวนการปกติแล้วการคัดเลือกฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งนั้น พรรคที่ได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่งจะได้เป็นแกนนำหลัก เพราะเคารพเสียงประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย แล้วรวบรวมพรรคอื่น ๆ เพื่อมาจัดตั้งเป็นฝ่ายรัฐบาลโดยต้องพึ่งเสียงเกินครึ่งจาก สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร หรือ ส.ส. ที่พวกเราประชาชนได้โหวตกันเข้ามา

สำหรับการแบ่งฝั่งในรัฐบาลก็จะมีอย่างแรกเลยคือ ฝ่ายจัดตั้ง ที่จะเป็นคนจัดการเรื่องบริหารต่าง ๆ ภายในรัฐบาล สองคือฝ่ายค้าน ที่ตรงตัวอยู่แล้วคือมีหน้าที่ตรวจสอบต่าง ๆ จากฝ่ายจัดตั้งเสนอมาในเรื่องต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายก็ดี หรือกฏหมายก็ดี

แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าหากมีพรรคใดพรรคหนึ่งที่คะแนนเสียงที่น้อย หรือจำนวนส.ส. ไม่มากนักในสภา แต่ต้องการจะส่งแคนดิเดตเป็นนายกรัฐมนตรีให้ได้ สิ่งที่พรรคการเมืองพรรคนั้นต้องทำก็คือไปรวบรวมเสียงจาก ส.ส. จากพรรคอื่น ๆ เข้ามาช่วยโหวตให้แคนดิเดตของตนชิงเก้าอี้นายกมา

รัฐบาลเสียงข้างน้อย

ปัญหาที่ตามมาคือ หากกลายเป็นนายกรัฐมนตรีสำเร็จจะเป็นอย่างไรต่อ เพราะในเมื่อเสียงข้างตัวเองเป็นเสียงข้างน้อย การออกนโยบายต่าง ๆ จะเป็นไปได้ยาก จะทำอะไรก็ต้องเกรงใจพรรคร่วมรัฐบาล และการอภิปรายไม่วางใจในสภาก็ไปไม่ได้ เพราะหากฝ่ายค้านจับมือกันเหนียวแน่น ก็เป็นไปไม่ได้เลยที่จะดำเนินการอะไรได้ เรียกได้ว่าอาจจะต้องเกิดการยุบสภาเพราะไม่สามารถดำเนินการบริหารประเทศต่อไป

ย้อนไทม์ไลน์รัฐบาลเสียงข้างน้อยในอดีต

ถึงการที่จะกล่าวว่ารัฐบาลเสียงข้างน้อยนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ยากในระบบรัฐสภาของประเทศไทยเรา แต่ไม่ใช่ว่าไม่เคยเกิดขึ้น ซึ่งเกิดขึ้นถึงสองครั้งในการเมืองไทย ดังนี้

1. รัฐบาล จอมพล ถนอม กิติขจร เลือกตั้งเมื่อปี 2512

รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร มีการจัดเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2512 ซึ่งมีพรรคใหญ่ 2 พรรค ได้แก่ พรรคสหประชาไทยที่มีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าพรรค กับพรรคประชาธิปัตย์ที่มี ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าพรรค การเลือกตั้งครั้งนั้นแบ่งเขตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จำนวน 219 คน โดยพรรคสหประชาไทยได้ 74 คน พรรคประชาธิปัตย์ได้ 55 คน พรรคอื่นๆ รวมกับสมัครอิสระ 90 คน พรรคสหประชาไทยต้องรวมกับพรรคอื่นเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อย และให้พรรคประชาธิปัตย์เป็นฝ่ายค้าน แต่บริหารประเทศได้เพียง 2 ปีกว่า

2. รัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช เลือกตั้งเมื่อปี 2518

เป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคประชาธิปัตย์ ที่นำโดย ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช กับพรรคกิจสังคมที่นำโดย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช การเลือกตั้งครั้งนี้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 269 คน พรรคกิจสังคม 18 เสียง พรรคประชาธิปัตย์ได้ 72 คน และเมื่อรวมกับพรรคอื่นๆ ก็ได้เสียงสนับสนุน 103 คน โดยที่ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี แต่เป็นการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อย เพราะด้วยจำนวน ส.ส. พรรคกิจสังคม ที่น้อยนิดและเมื่อต้องบริหารประเทศโดยคำนึงถึงพรรคร่วมรัฐบาลที่เยอะเหลือเกินส่งผลให้

เมื่อแถลงนโยบายของรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ได้รับเสียงสนับสนุน 111 คน ไม่สนับสนุน 152 คน ด้วยคะแนนเสียงไม่ถึงครึ่งของสภาผู้แทนราษฎร (ไม่ถึง 135 คน) ทำให้ไม่ได้รับความไว้วางใจให้บริหารประเทศ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และคณะรัฐมนตรี จึงต้องลาออก และสละสิทธิการจัดตั้งรัฐบาล

ผลเลือกตั้ง 66

วิเคราะเลือกตั้ง 66 ห์กรณี ส.ว. ปิดสวิตช์

หลังผลการเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการที่ พรรคก้าวไกลได้คะแนนเสียงอันดับหนึ่ง จำนวน ส.ส. 152 คน และเมื่อรวมกับพรรคร่วมอีก 5 พรรคก็จะกลายเป็น 310 เสียง ซึ่งสามารถจะจัดตั้งรัฐบาลได้ปกติ หากไม่ใช่เพราะรัฐธรรมนูญปี 60 ที่มีการกำหนดให้ ส.ว. หรือสมาชิกวุฒิสภา 250 คน ให้มีสิทธิ์ในการโหวตคัดเลือกนายกรัฐมนตรี และฝ่ายที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ต้องมีคะแนนถึง 376 เสียงเพื่อจัดตั้งต่อไป

แต่ด้วยกระแสต่าง ๆ ที่มี ส.ว. บางส่วนอาจจะไม่โหวตให้ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกของพรรคก้าวไกล หรือไม่ก็งดออกเสียง แต่ด้วยกลไกลของรัฐธรรมนูญที่บังคับยังไงก็ต้อง 376 เสียง ไม่งั้นเลือกนายกไม่ได้ หรือไม่ก็หากจะโหวตให้ฝั่งขั้วตรงข้ามอย่าง พลังประชารัฐหรือรวมไทยสร้างชาติ ขึ้นมาเป็นนายกนั้นก็อาจเกิดปัญหาอย่างรัฐบาลเสียงข้างน้อยขึ้นมาอีก

และหากเป็นเช่นนั้นก็อาจจะเกิดสูญญากาศทางการเมืองที่ประเทศไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ และต้องหาทางออกร่วมกันที่อาจจะเลือกตั้งใหม่ หาคนเพิ่ม ยุบสภา แต่ถึงทั้งนี้ทั้งนั้น เราก็ยังไม่สามารถรู้ได้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button