ข่าวไลฟ์สไตล์

วันแรงงานแห่งชาติ 1 พ.ค. ประวัติความสำคัญ ผู้ใช้แรงงาน

วันแรงงานแห่งชาติ ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคม ของทุกปี (National Labour Day) คือวันที่ระลึกถึงผู้ใช้แรงงาน กับประวัติศาสตร์การต่อสู้เรียกร้อง เพื่อให้ได้สิทธิตามหลักมนุษยธรรม ให้กับผู้ใช้แรงงานในประเทศไทย

เนื่องในวันสำคัญ “วันแรงงานแห่งชาติ” (National Labour Day) วันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี (ปีนี้ตรงกับวันหยุดชดเชยวันจันทร์ที่ 1 พ.ค. 66) คือวันที่ร่วมตระหนักถึงความสำคัญของ “แรงงาน” ไม่ว่าจะตำแหน่งไหน อาชีพอะไร ก็ล้วนเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยและทั่วโลกให้เติบโตยิ่งขึ้น แต่กว่าจะมีวันนี้ได้ ชาวแรงงานกรรมชีพต้องผ่านพ้นเหตุการณ์อะไรมาบ้าง

Advertisements

ดังนั้น ทีมงาน Thaiger จึงขอเชิญชวนทุกท่านอ่านประวัติที่มาความสำคัญของ “วันแรงงานแห่งชาติประจำปี” ได้เลยครับ

ประวัติ “วันแรงงานแห่งชาติ” 1 พฤษภาคม ในประเทศไทย

เปิดประวัติน่าสนใจ วันแรงงานแห่งชาติ (National Labour Day / Mayday) เพื่อระลึกความสำคัญของผู้ที่เป็นแรงงาน ลูกจ้าง และพนักงานต่าง ๆ วันแรงงานแห่งชาติ ในประเทศไทย เริ่มต้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2475 ซึ่งเป็นการสร้างรากฐานกระบวนการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง นายจ้าง และ ลูกจ้าง

ภายหลังจากวันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2499 คณะกรรมการการจัดงานที่ระลึกแรงงาน ได้มีการจัดประชุมขึ้นและมีความเห็นว่า ควรกำหนดให้ วันที่ 1พฤษภาคม เป็นวันระลึกวันแรงงานไทย จึงได้มีหนังสือถึง นายกรัฐมนตรี ขอให้ทางราชการรับรอง วันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ และต่อมาได้เปลี่ยนเป็นวันแรงงานแห่งชาติ

นับจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลไทย ได้ทำการขยายกิจการ ด้านแรงงานสัมพันธ์มากขึ้นกว่าเดิม ซึ่งได้มีประกาศใช้ พระราชบัญญัติ กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงานปี พ.ศ. 2500 มีพระราชบัญญัติแรงงาน ให้ลูกจ้างมีสิทธิหยุดงาน ประจำปี ในวันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคม เป็นต้นมา

จุดประสงค์ของการจัดตั้ง วันแรงงานแห่งชาติ 1 พฤษภาคมของทุกปี เพื่อให้ประชาชน ตระหนักรู้ถึง ผู้ใช้แรงงาน ไม่ว่าจะเป็นอาชีพใดก็ตาม ที่พวกเขาเหล่านั้นได้เป็นกำลังสำคัญ ในการพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ ให้เติบโตยิ่งขึ้น

Advertisements

วันแรงงานแห่งชาติ ประวัติ ที่มา (2)

ประวัติ วันแรงงานแห่งชาติสากล หรือ “วันเมย์เดย์” (May Day)

“วันเมย์เดย์” หรือ “วันแรงงานแห่งชาติสากล” ตรงกับวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปี เดิมทีเป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรมในอดีตของประเทศในแถบยุโรป ในวันนี้เป็นวันพิธีเฉลิมฉลอง โดยส่วนใหญ่มีการปลูกพืชและเต้นรำรอบเสาเมย์โพล (Maypole) ที่ประดับด้วยช่อดอกไม้ โดยหวังว่าจะได้ผลผลิตที่ดี การเฉลิมฉลองนี้เป็นโอกาสที่ดีที่จะเพิ่มความสุขให้กับประชาชน ด้วยการให้ดอกไม้ร้องเพลงและเต้นรำรอบเสาเมย์โพล (Maypole) ซึ่งเป็นการเต้นรำที่มีความสำคัญในวัฒนธรรมยุโรป

ต่อมาภายหลัง โลกได้เข้าสู่ระบบอุตสาหกรรมในหลายประเทศ ส่งผลให้ในปี พ.ศ. 2433 แรงงานจากหลายประเทศทั่วโลกได้มีการเรียกร้องให้เอาวันที่ 1 พฤษภาคม เป็นวันเมย์เดย์ หรือวันแรงงานแห่งชาติสากล เพื่อเตือนใจให้ประชาชนเห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงานที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศจวบจนปัจจุบัน

วันแรงงานแห่งชาติหยุดไหม?

อีกทั้ง วันแรงงานแห่งชาติ คือวันหยุดชดเชยประจำปีของแรงงาน ซึ่งพนักงานในบริษัทเอก หรือผู้ที่ไม่ได้เป็นข้าราชการชนส่วนมากจะได้หยุดชดเชยในวันนี้ แต่ผู้ที่เป็นข้าราชการ หรือทำงานในหน่วยงานรัฐจะไม่ได้หยุด แต่ข้าราชการและผู้ที่ทำงานในหน่วยงานรัฐ จะเริ่มหยุดอีกครั้งในวันฉัตรมงคล ในวันพุธที่ 4 พฤษภาคม 2565 และวันพืชมงคล ในวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม 2565 (ซึ่งพนักงานบริษัทเอกชนไม่ได้หยุดในวันนี้)

แนะนำ “กฎหมายแรงงาน” ที่ควรรู้

เปิดสาระสำคัญ วันแรงงานแห่งชาติ นอกจากจะเป็นวัน ของแรงงานทุกคน ก็ยังมีเรื่องของ “สิทธิแรงงาน” และความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้าง และลูกจ้างแรงงานที่ควรรู้ ไม่ว่าจะเป็นสิทธิทางกฎหมายและสิทธิมนุษยชน ทั้งอัตราจ้างงาน จำนวนชั่วโมงในการทำงานในแต่ละวัน สภาพแวดล้อม ความปลอดภัยในที่ทำงาน จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของ สิทธิแรงงานตามกฎหมายไทย ที่มีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

เวลาในการทำงาน

สิ่งหนึ่งที่ควรรู้ในวันแรงงานแห่งชาติคือ กฎหมายแรงงานที่ควรรู้ ซึ่งในส่วนของการทำงานของแรงงาน กำหนดให้ทำงานไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ แต่หากเป็นงานเสี่ยงอันตราย กำหนดให้ทำไม่เกิน 7 ชั่วโมงต่อวัน และไม่เกิน 42 ชั่วโมงต่อสัปดาห์

เวลาในการพักระหว่างทำงาน

อีกสิ่งหนึ่งที่วันแรงงานแห่งชาติให้ความสำคัญ คือ การตระหนักรู้ว่า ลูกจ้าง แรงงาน มีสิทธิพักติดต่อกันไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง ภายในระยะเวลา 5 ชั่วโมงแรกของการทำงาน

วันหยุดประจำสัปดาห์ / วันหยุดประจำปี

สำหรับวันหยุดประจำสัปดาห์ แรงงาน ลูกจ้าง ต้องมีวันหยุดไม่น้อยกว่า 1 วัน ต่อสัปดาห์ โดยมีระยะห่างไม่เกิน 6 วัน ส่วนวันหยุดตามประเพณี เทศกาลต่าง ๆ ลูกจ้างแรงงาน ต้องได้รับวันหยุดตามประเพณี ไม่ต่ำกว่า 13 วัน ต่อปี โดยต้องรวมวันแรงงานแห่งชาติเข้าไปด้วย

วันหยุดพักผ่อนประจำปี

หากลูกจ้าง แรงงาน ผู้นั้น ทำงานติดต่อกันจนครบ 1 ปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีไม่น้อยกว่า 6 วัน ต่อปี

การทำงานล่วงเวลา

ในกรณีสุดวิสัยที่งานมีลักษณะต้องทำติดต่อกันไป หากหยุดการทำงานอาจส่งผลให้งานเสียหาย นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุดเท่าที่จำเป็นได้ ในกรณีที่มีการทำงานล่วงเวลาต่อจากเวลาทำงานปกติไม่น้อยกว่า สองชั่วโมง นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีเวลาพัก ไม่น้อยกว่ายี่สิบนาที ก่อนที่ลูกจ้างเริ่ม

และหากทำงานเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าล่วงเวลา ไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวน ชั่วโมงที่ทำหรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วย ในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงาน ส่วนลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

ถ้าต้องทำงานในวันหยุด จนเกินเวลาทำงานปกติของวันทำงานนายจ้างจะต้องจ่าย ค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง ในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำหรือตามจำนวนผลงานที่ทำได้

ค่าชดเชย ลูกจ้าง แรงงาน

สำหรับ ลูกจ้าง แรงงาน มีสิทธิได้รับค่าชดเชย หากนายจ้าง หรือบริษัททำการเลิกจ้างโดยที่ลูกจ้างไม่มีความผิด ซึ่งมีเกณฑ์รายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานครบ 120 วัน แต่ไม่ถึง 1 ปี ได้ค่าชดเชย 30 วัน
  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานครบ 1 ปี แต่ไม่ถึง 3 ปี ได้ค่าชดเชย 90 วัน
  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานครบ 3 ปี แต่ไม่ครบ 6 ปี ค่าชดเชย 180 วัน
  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานครบ 6 ปี แต่ไม่ครบ 10 ได้ค่าชดเชย 240 วัน
  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานครบ 10 ปี แต่ไม่ครบ 20 ปี ได้ค่าชดเชย 300 วัน
  • ลูกจ้าง แรงงาน ทำงานมากกว่า 20 ปีขึ้นไป ได้รับค่าชดเชย 400 วัน

อ้างอิง : 1 2

วันแรงงานแห่งชาติ ประวัติ ที่มา (1)

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button