Line Newsไลฟ์สไตล์

วงแชร์ คืออะไร เรื่องควรรู้ก่อนเล่นแชร์ ไม่ให้ผิดกฎหมาย ตามคนโกงได้ด้วย

รู้ให้ลึกก่อนเล่น วงแชร์ เล่นแชร์ คือออะไร เปิดวิธีเล่นแชร์ไม่ผิดกฎหมาย และวงแชร์แบบไหนผิดกฎหมาย ?ถ้าโดนโกงแชร์แจ้งที่ไหน ศึกษาได้ที่นี่

ไหนบ้านใครเคยเล่นแชร์ หรือเคยได้ยินเกี่ยวกับเรื่องของวงแชร์บ้าง รู้หรือไม่ว่าจริง ๆ แล้วการเล่นแชร์นั้นไม่ได้ผิดกฎหมายหากเล่นถูกวงถูกวิธี แถมเมื่อโดนท้าวแชร์โกงยังสามารถแจ้งความได้อีกด้วย วันนี้ Thaiger จึงจะพาทุกคนมาศึกษา ทำควมรู้จักกับ การเล่นแชร์ ให้มากขึ้นวงแบบไหนเล่นแล้วผิดกฎหมาย และคำศัพท์น่ารู้เกี่ยวกับการเล่นแชร์ มีอะไรบ้าง ดูได้เลย

เล่นแชร์/วงแชร์ คือออะไร ? มีวิธีเล่นอย่างไรบ้างอย่างถูกกฎหมาย

เล่นแชร์ คืออะไร ?

การเล่นแชร์ คือ การที่กลุ่มคนมีสมาชิก 3 บุคคลขึ้นไป ซึ่งจะมีหัวหน้าวงหรือ ‘ท้าวแชร์’ ที่เป็นผู้ทำหน้าที่เริ่ม เก็บเงิน และตามเงิน ส่วนสมาชิกคนอื่น จะเรียกว่า ลูกแชร์ หรือ ขาแชร์ มาตั้งวงแชร์ลักษณะคล้ายกองทุน โดยวางเงินไว้เป็นกองกลาง แบ่งจ่ายเป็นงวด ๆ (รายวัน/สัปดาห์/เดือน) เพื่อให้สมาชิกวงแชร์เวียนกันรับเงินกองกลางในแต่ละงวด ด้วยวิธีการประมูลหรืออื่น ๆ แล้วแต่ท้าวแชร์กำหนด โดยจะเล่นแชร์เป็นรอบ ๆ ซึ่งจะจบการเล่นแชร์ลงตอนที่สมาชิกทุกคนรับเงินกองกลางครบทุกคน

วงแชร์ คืออะไร

คำศัพท์เล่นแชร์

  • ท้าวแชร์ คือ คนเปิดวงแชร์ ทำหน้าที่ดูแลเงินกองกลาง ตั้งแต่ทำสัญญา ดูคิวรับเงิน ทวงเงิน จ่ายเงินให้กับลูกแชร์คนต่อ ๆ ไป ดังนั้นท้าวแชร์จึงจะต้องเป็นบุคคลที่เชื่อถือได้ มีความรับผิดชอบ เพราะเป็นบุคคลที่มีโอกาสโกงแชร์มากที่สุด
  • ลูกแชร์ คือ บุคคลอื่น ในวงที่ร่วมเข้าเล่นวงแชร์นั้น ๆ โดยจะมีหน้าที่ส่งเงินไปยังท้าวแชร์ทุกงวดอย่างตรงเวลา และครบจำนวน เพื่อให้คนที่ได้รับเงินในงวดต่อไปได้เงินตรงตามเงื่อนไข
  • เงินต้นแชร์ คือ เงินขั้นต่ำที่ทุกคนที่เล่นแชร์ต้องจ่าย เช่นสมมุติว่าวงแชร์กำหนดให้เงินต้นคือ 1000 บาท แสดงว่าสมาชิกทุกคนในวงจะต้องลงเงินไปรวมในกองกลาง 1000 บาท
  • เปียแชร์ คือ การที่ลูกแชร์คนใดคนหนึ่งจะต้องได้รับเงินกองกลางที่ทุกคนลงไว้ไป วิธีที่นิยมใช้ในการเปียแชร์ที่สุดคือการประมูล นั่นคือใครวางดอกเบี้ยสูงที่สุดในงวดนั้น ๆ ผู้นั้นมีสิทธิ์ที่จะเปียแชร์
  • ดอกแชร์ คือ ดอกเบี้ยที่ลูกแชร์จะต้องจ่ายหากต้องการจะเปีย โดยใครเสนอค่าดอกแชร์สูงที่สุด ก็จะได้เปียเดือนนั้น ๆ ไป ฉะนั้นหากเราร้อนเงิน อยากจะเปีย เราก็จะต้องใส่ดอกเบี้ยให้สูง ๆ เข้าไว้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะได้เปีย
  • หลบแชร์ คือ การที่เราไม่อยากเปียแชร์ ฉะนั้นเราจึงวางดอกเบี้ยต่ำสุด ๆ หรือไม่ใส่ดอกเบี้ยแชร์เลย แต่ก็ต้องแลกมากับว่าเราอาจเป็นคิวสุดท้ายของวงที่จะได้เงิน

วงแชร์ คืออะไร

วิธีการเล่นแชร์ ไม่ให้ผิดกฎหมาย

สำนักงานกิจการยุติธรรม เคยได้ออกมาอธิบายถึงการเล่นแชร์แบบถูกวิธี เพื่อนไม่ให้กลายเป็นวงแชร์ผิดกฎหมาย ซึ่งมีข้อสังเกตุก่อนเล่น 4 ข้อดังนี้

1. ห้ามนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับตั้งแต่ 1 เท่าหรือ 3 เท่าของกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ ไม่น้อยกว่า 200,000 บาท และให้ศาลสั่งหยุดดำเนินการทันที

2. ห้ามโฆษณาหรือประกาศชี้ชวนให้ประชาชนทั่วไปเข้าร่วมเล่นแชร์ ฝ่าฝืน : ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

3. ตั้งวงแชร์ได้ แต่ห้าม…

  • ห้ามตั้งวงแชร์รวมกันเกิน 3 วง
  • ห้ามมีสมาชิกทุกวงรวมกันเกิน 30 คน
  • ห้ามมีเงินกองทุนหรือเงินกองกลางต่อ 1 งวดรวมกันเกิน 300,000 บาท
  • ห้ามท้าวแชร์ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างอื่น นอกจากเงินกองกลางการเล่นแชร์เท่านั้น ฝ่าฝืน : – จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
  • การเล่นแชร์จะตกเป็นโมฆะ ไม่มีผลบังคับตั้งแต่ต้น (ตาม ป.พ.พ. มาตรา 150)
  • ท้าวแชร์จะฟ้องเรียกลูกแชร์ให้ชำระค่าแชร์ที่ยังไม่ชำระไม่ได้

4. เช็กข้อมูลของท้าวแชร์ และ สมาชิกร่วมวงแชร์ ก่อนเล่น เช่น ชื่อ-นามสกุล ที่อยู่ อาชีพ ฐานะทางการเงิน บัญชีธนาคาร อาชีพ ฐานะทางการเงิน

วงแชร์ คืออะไร

โดนโกงแชร์ ทำอย่างไรดี ?

กรณีท้าวแชร์หนีหรือโกง

  • มีเจตนาทำวงแชร์ และสมัครใจแล่นแชร์กัน แต่บริหารผิดพลาด : สมาชิกวงแชร์ฟ้องร้องคดีแพ่งเรียกเงินคืนได้
  • ไม่มีเจตนาทำวงแชร์ และหลอกลวงตั้งใจเชิดเงินหนี : สมาชิกวงแชร์แจ้งความดำเนินคดีอาญาฐาน “ฉ้อโกง”

เอกสารหลักฐานที่ต้องเตรียม เมื่อถูกท้าวแชร์โกง

  1. หน้า Facebook , Page , Line ของท้าวแชร์ และคำเชิญชวนที่โพสต์ในออนไลน์
  2. ข้อมูลของท้าวแชร์ เช่น บัตรประชาชน เลขบัญชีธนาคาร เบอร์โทรติดต่อ ที่อยู่
  3. สเตทเมนต์พร้อมไฮไลท์ยอดที่โอนให้ท้าวแชร์ ให้ตรงกับสลิปที่โอนเงินให้
  4. แยกยอดเงินระหว่างเงินส่งแชร์ และเงินที่ได้ดอกในวงแชร์ให้ชัดเจน

กรณีลูกแชร์เปียแชร์แล้วหนี

วงแชร์ : ต้องดำเนินการให้มีการเล่นแชร์ต่อไป

ท้าวแชร์ : ต้องรับผิดชอบสำรองจ่ายแทน และฟ้องร้องคดีแพ่งไล่เบี้ยเงินจากลูกแชร์ที่หลบหนีหรือถ้าตั้งใจจะเชิดเงินตั้งแต่แรก ฟ้องร้องคดีอาญาฐาน “ยักยอกทรัพย์” (ตาม ป.อ. มาตรา 352)

ทั้งนี้วงแชร์ไหนที่โดนโกงแชร์ สามารถแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ที่สถานีตำรวจ, ศูนย์รับแจ้งการเงินนอกระบบ (การเล่นแชร์) สายด่วน 1359 หรือ แจ้งความร้องทุกข์องที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (กรณีมูลค่าความเสียหายเกินกว่า 5 ล้านบาท)

Facebook: สำนักงานกิจการยุติธรรม

 

baesittichot

นักเขียนสายฮาอารมณ์ดี ไลฟ์สไตล์ เรื่องน่ารู้ทั่วไป ตามติดเทรนด์ฮิตที่ห้ามพลาด อัปเดตข่าวเศรษฐกิจ การเงิน ประสบการณ์งานเขียนมากกว่า 1 ปี ชอบเม้าท์มอย ส่งต่อเรื่องราวน่าสนใจผ่านตัวอักษร ผลงานทุกชิ้นจึงเป็นเหมือน 'เพื่อน' ที่อยากเล่าสิ่ง ๆ ต่างให้คุณได้รู้เป็นคนแรกเสมอ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button