ข่าว

ภาษาพาที อ่านดราม่าแบบเรียนภาษาไทย แบบทีละหน้า จนเข้าใจการศึกษาไทยยุควิบัติ

ดราม่า แบบเรียนวิชาภาษาไทย ภาษาพาที สื่อการเรียนการสอนที่ทำเกิดประเด็น ไข่ต้มครึ่งซีก สังคมเกิดคำถามถึง กระทวงศึกษาธิการ ประเด็นการศึกษาไทยยุคใหม่ ควรรื้อใหม่หรือไปต่อ ทางออกอยู่ตรงไหน พาไล่อ่านตั้งแต่คำนำยันสารบัญดราม่าลล่าสุดวันนนี้

หากวันนี้ คุณเป็นคนหนึ่งในบุคคลากรที่อยู่ในแวดวงการศึก หรือ สมมติให้เห็นภาพ ถ้าตอนนี้คุณทำงานอยู่ในกระทรวงสาธารณสุข แล้วปรากฏ เห็นเสียงตอบรับจากหนังสือแบบเรียนที่ใช้ชื่อ “ภาษาพาที” แบบเรียนซึ่งกำลังตกเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวาง

Advertisements

โดยเฉพาะบนโลกโลกออนไลน์ ที่ดราม่า “ข้าวคลุกน้ำปลา” กับ ไข่ต้มครึ่งใบ กำลังถูกสังคมตั้งคำถามถึงความเหมาะสมของเนื้อหา กรอบความคิด และอุดมการณ์ด้านต่าง ๆ ที่สอดแทรกมาในบทเรียนซึ่งเผยแพร่บนโลกออนไลน์อยู่ ณ เวลานี้

หน้าปกแบบเรียน วิชาภาษาไทย ภาษา พาที

ก่อนอื่น ขออานุญาตไปทำความรูักกับแบบเรียนภาษาไทยที่กำลังมีประเด็นเดือดนี้กันเสียหก่อน

สำหรับ “ภาษาพาที” เป็นแบบเรียนภาษาไทยที่มุ่งเน้นให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะทางภาษาจากการอ่าน เขียน ฟัง พูดเรื่องที่น่าสนใจ ผสานความเข้าใจและลักษณะภาษาไทย

รวมถึงให้ผู้เรียนได้ตระหนักรับรู้ในความงามของภาษา ภูมิปัญหาทางภาษา กระบวนการคิดและการบูรณาการ เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้ด้วยตนเองและกระตุ้นความสนใจ สามารถพัฒนาทักษะทางภาษาเหมาะกับช่วงวัย

Advertisements

ทั้งนี้ ปัจจุบันแบบเรียนชุดภาษา พาที ถูกใช้เป็นหนังสือภาษาไทยประจำหลักสูตร พ.ศ. 2551 โดยอ้างอิงข้อมูลจากเว็บไซต์กระทรวศึกษาธิการ ที่ได้ให้รายละเอียดไว้ในหัวข้อ “แบบเรียนไทย 6 ยุค ที่คนไทยควรเรียนรู้” โดยเนื้อหาช่วงหนึ่งระบุ แบบเรียนฉบับนี้มีตัวละครในการเดินเรื่องคือ “ใบโบก” ช้างสีฟ้า และ “ใบบัว” ช้างสีส้ม เป็นเพื่อนของเด็กชายภูผา บทที่เด็กๆ ท่องได้ขึ้นใจเป็นอย่างดีคือ มา มาดูใบบัว มา มาดูใบโบก ฯลฯ

สำหรับแบบเรียนนี้ ข้อมูลจากเว็บไซต์ ของศธ. ระบุ มีการพัฒนาสื่อการสอนประกอบได้อย่างน่าสนใจ ทั้งแบบเรียนดิจิทัล การ์ตูนแอนิเมชั่นประกอบบทเรียนแต่ละบท สามารถสืบหาได้จากอินเทอร์เน็ตได้ไม่ยาก

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการให้ทกคนได้ห็นภาพของหนังสือแบบเรียน หรือ ตำราในการเรียนการสอนถ่ายทอดแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม หรือบรรทัดฐานทางสังคม ที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กรู้ด้วย เด็ก ๆ จะมองโลกอย่างไร ชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอพาไปเปิดอ่าน หนังสือเรียนรายวิชาพื้นฐาน ภาษาไย ชุด ภาษาเพื่อชีวิต ภาษาพาที ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทศักราช 2551 โดย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ แบบเรียนภาษาต้นตอของดราม่าทั้งหมดที่ลากยาวมาถึงตอนนี้

แบบเรียนภาษาพาที พิมพ์ครั้งที่ 14 จำนวน 390,000 เล่ม

ให้หลังจากข้อมูลลำดับที่ตีพิมพ์คือครั้งที่สิบสี่ ปี พ.ศ.2563 และจำนวนที่ตีพิมพ์ในรูปแบบหนังสือสี่สีทั้งหมด 283 หน้า เกือบ 4 แสนเล่ม จัดพิมพ์โดย องค์การค้าของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา หรือ (สกสค.)

โดยเริ่มมาด้วยคำนำ ซึ่งบางส่วนได้ใหข้อมูลจุดประสงค์ในการจัดทำสำหรับใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและครูผู้สอนในการจัดระบบกระบวนการสอนรายชิชาพื้นฐาน พ.ศ.2551

สำหรับเนื้อหาตลอดจนหัวข้อสำคัญๆ ทั้งหมดในเล่ม ถัดจากคำนำก็จะเป็นเนื้อหาในส่วน “คำแนะนำสำหรับครูผู้สอน” จำนวนบทที่มีทั้งสิ้น 5 บท โดยเริ่มจากลำดับบทที่ 12 ภาษาจรรโลงใจ – ไปจนถึงบทที่ 16 ในชื่อวิถีไทย โดยต้นตอดราม่าที่ก่อกำเนิดประโยค “ไข่ต้มครึ่งซีก มีโปรตีน 1.75 กรัม” อยู่ที่หน้า 148 ซึ่งเฟซบุ๊กแฟนเพจ มาดามแคชเชียร์ ได้ลงข้อความระบุว่า

“โปรตีนจากไข่ต้มหนึ่งซีก 1.75 กรัม ข้าวคลุกน้ำปลาโซเดียมหนักๆ ผัดผักบุ้งก็มีโซเดียมจากเครื่องปรุงแน่ๆ
#ความสุขอยู่ที่ใจ พอเพียงน้ำตาจะไหล 55555555555″

“FYI, เด็กโตวัย 7-14 ปี ต้องการโปรตีนวันละ 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. สมมติว่าเด็กน้ำหนัก 40 กก.ก็ต้องกินโปรตีน 40 กรัมต่อวัน ป.ล.เรื่องจริงสองคนนี้ไม่มีทางได้อยู่โรงเรียนเดียวกันแน่ๆ โดยเฉพาะระดับประถม หนังสือภาษาพาทีระดับชั้น ป.5 หน้า 148 ค่ะ” ข้อความจากเพจมาดามแคชเชียร์เจ้าของโพสต์ดราม่าไข่ต้มครึ่งซีกคลุกข้าวต้นเรื่อง

ภาษาพาที
ภาพ Facebook @มาดามแคชเมียร์
ภาษาพาที
ภาพ Facebook @มาดามแคชเมียร์

พาเปิดคณะผู้จัดทำท้ายเล่ม แบบเรียน “ภาษา พาที”

ท้ายเล่มของหนังสือแบบเรียนดังกล่าวได้มีการระบุรายนามของคณะผู้จัดทำแบบเรียนดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อหาทั้งหมดดังนี้

คณะผู้จัดทำหนังสือเรียน รายชวิชาพื้นฐาน ภาษาไทย ชุดภาษษเพื่อชีวิต ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

ที่ปรึกษา ศาสตราจารย์กิตตคุณ อมรวิวัฒน์ , ผช.ศตร. กิติยวดี บุญซื่อ เลขาฯ คณะกรรมาการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ประธานกรรมการ รอง.ศตร.ปิตินันธ์ สุทธสาร กรรมการ นางสุชาดา วัยวุฒิ , นางรัตนา ฦาชาฤทธิ์ , รอง.ศตร.จีระพันธุ์ พูลพฒน์ , ผช.ศตร.วัลยา ช้างขวัญยืน , ผช.ศตร. จิตติรัตน์ ทัดเทียมรมย์ , รอง.ศตร.วรรณา สตคมขำ , นางปราณี ปราบริปู กรรมการและเลขานุการ นางธนาภรณ์ กอวัฒนา

ผู้วาดภาพประกอบ : นางสาวลั่นทม นามมนตรี, นายเจิด มหาเกตุ กลุ่มงานวาดภาพ องค์การค้าของ สกสค. ช่วยดำเนินงาน กลุถ่มงานวิชาภาษาศษสตร์ องค์กา่รค้าของ สกสค.

ทั้งนี้ ด้วยความเป็นตำราในการเรียนการสอน ทำให้คำว่า “แบบเรียน” จึงมีหน้าที่ถ่ายทอดแนวคิด ทัศนคติ ค่านิยม หรือบรรทัดฐานทางสังคม ที่ผู้ใหญ่ต้องการให้เด็กรู้ด้วย เด็ก ๆ จะมองโลกอย่างไร และเมื่อต่อมาเกิดเสียงวิจารณ์ถึงความเหมาะสม กระทรวงศึกษาธิการ ก็ออกมารับลูกชี้แจง

โดย นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการสั่งตรวจสอบเนื้อหาในตำราเรียน ภาษาพาที ป.5 ที่เป็นปัญหาแล้ว พร้อมกับยังเตรียมเข้าหารือกับผู้เขียนในการแก้ไขเนื้อหาเพิ่มเติม หลังโดนสังคมวิจารณ์สนั่นหูในเที่ยวล่าสุดนี้.

แบบเรียนภาษาพาที คณะผู้จัดทำ

ประโยชน์จากการใช้งบประมาณที่เพียงพอและเหมาะสม
ภาพ Facebook @MOE360degree

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button