ไลฟ์สไตล์

วันเช็งเม้ง 5 เมษายน 2566 เทศกาลไหว้บรรพบุรุษ หนึ่งในวันสำคัญของชาวจีน

วันเช็งเม้ง 5 เมษายน 2566 หนึ่งในเทศกาลสำคัญของชาวจีน ที่มีขึ้นเป็นประจำทุกปี เพื่อร่วมแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว ถือเป็นอีกวันที่จะเป็นโอกาสดีในการรวมญาติให้ลูกหลานในตระกูลได้มีโอกาสทำความรู้จักกัน วันนี้ The Thaiger จะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับเทศกาลเช็งเม้งให้มากขึ้น พร้อมเผยที่มากับตำนานสุดซึ้งให้ทุกคนได้ทราบ จะมีอะไรบ้างนั้น ถ้าพร้อมแล้วไปอ่านกันได้เลยค่ะ

วันเช็งเม้ง 2566 เทศกาลไหว้บรรพบุรุษที่สำคัญที่สุดของชาวจีน

วันเช็งเม้ง คืออะไร

วันเช็งเม้ง คือ ประเพณีที่สำคัญมากที่สุดของชาวจีน เนื่องจากเป็นประเพณีที่มีการไหว้บรรพบุรุษที่สุสาน ฮวงซุ้ย(แต้จิ๋ว) แต่คนฮกเกี้ยนเรียกว่า บ่องป้าย โดยมีอิทธิพลมาจากลัทธิขงจื๊อที่เน้นเรื่องความกตัญญูเป็นสำคัญ แสดงถึงการมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และสะท้อนให้เห็นถึงความรักใคร่สามัคคีกัน นอกจากนั้นยังทำให้เหล่าเครือญาติได้มาร่วมพิธีกรรมนี้ได้พบปะสังสรรค์กินเลี้ยงกันหลังเสร็จพิธี ถือเป็นการสร้างสายสัมพันธ์กันภายในครอบครัวและเหล่าเครือญาติ

เช็งเม้ง ตรงกับวันไหน

เช็งเม้ง 2566 ตรงกับวันไหน

วันเช็งเม้งในประเทศจีนนั้น จะเริ่มต้นช่วงวันที่ 4 – 5 เมษายน 2566 ไปจนถึงวันที่ 19 – 20 เมษายน 2566 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวถือว่าเข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ ที่อากาศจะเริ่มเข้าสู่ความอบอุ่น มีฝนตกปรอย ๆ มีบรรยากาศสดชื่น ท้องฟ้าใสสว่าง และด้วยบรรยากาศดังกล่าว จึงเป็นที่มาของชื่อ “เช็งเม้ง”

สำหรับประเทศไทย เทศกาลเช็งเม้ง คือ วันที่ 5 เมษายน ของทุกปี และช่วงเวลาในเทศกาลเช็งเม้งมี 7 วัน คือ ระหว่างวันที่ 2 – 8 เมษายน โดยให้นับวันก่อนถึงเทศกาลเช็งเม้ง 3 วัน และเลยไปอีก 3 วัน แต่ในปัจจุบันได้มีการขยายช่วงเวลาเทศกาลนี้ให้เร็วขึ้นอีก 3 สัปดาห์ แต่ในภาคใต้บางพื้นที่ จะจัดเร็วกว่าที่อื่น 1 วัน

เทศกาลไหว้บรรพบุรุษจีน

เทศกาลเช็งเม้งกับตำนานความเชื่อ

ในยุคชุนชิว องค์ชายฉงเอ่อแหงแค้วนจิ้นหนีภัยออกนอกแคว้น ไปมีชีวิตตกระกำลำบากนอกเมือง โดยมีเจี้ยจื่อทุยติดตามไปดูแลรับใช้ เจี้ยจื่อทุยมีจิตใจเมตตาถึงขนาดเชือดเนื้อที่ขาของตนเป็นอาหารให้องค์ชายเสวยเพื่อประทังชีวิต ภายหลังเมื่อองค์ชายฉงเอ่อเสด็จกลับเข้าแคว้นและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นเจ้าผู้ครองแคว้น นาม จิ้นเหวินกง และได้สถาปนาตอบแทนขุนนางทุกคนที่เคยให้ความช่วยเหลือตน แต่ลืมเจี้ยจื่อทุยไป

นานวันเข้าจึงมีคนเตือนถึงบุญคุณเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงต้องการตอบแทนบุญคุณเจี้ยจื่อทุย โดยจัดหาบ้านให้เขาและมารหาให้เข้ามาอยู่อย่างสุขสบายในเมือง ทว่าเจี้ยจื่อทุยปฏิเสธ องค์ชายจึงได้คิดแผนเผาภูเขา โดยหวังว่าเจี้ยจื่อทุยจะพามารดาออกมาจากบ้าน แต่ผลสุดท้ายสองแม่ลูกกลับต้องเสียชีวิตในกองเพลิง

ดังนั้น เพื่อเป็นการรำลึกถึงเจี้ยจื่อทุย จิ้นเหวินกงจึงมีคำสั่งให้วันนี้ของทุกปี ห้ามไม่ให้มีการก่อไฟ และให้รับประทานแต่อาหารสด ๆ และเย็น ๆ จนกลายเป็นที่มาของเทศกาลวันกินอาหารเย็น หรือ เทศกาลหันสือเจี๋ย ซึ่งเป็นวันสุกดิบก่อนวันเช็งเม้ง 1 วัน

ประเพณีวันเช็งเม้ง 2566

ประเพณีปฏิบัติในวันเช็งเม้ง 2566 มีอะไรบ้าง

สำหรับวันเช็งเม้ง นอกจากจะเป็นการรวมญาติกันแล้ว ยังมีประเพณีปฏิบัติประจำเทศกาลอีกด้วย โดยครอบครัวที่ต้องการไหว้บรรพบุรุษ จะต้องจัดของเซ่นไหว้ กระถางธูป รูปถ่าย พร้อมจุดธูกลางแจ้งเพื่อเชิญดวงวิญญาณไปยังแท่นบูชา และต้องไม่ลืมแจ้งเจ้าที่เจ้าทางก่อนล่วงหน้า

การไหว้จะให้ผู้สูงอายุเป็นผู้นำ ซึ่งจะไหว้กันจนกว่าธูปจะหมดและดับลง เมื่อเสร็จแล้ว ก็จะมีการเผากระดาษเงินกระดาษทอง และสิ่งของที่ต้องการมอบให้บรรพบุรุษ ก่อนจะปิดท้ายด้วยการนั่งล้อมวงทานอาหารร่วมกัน เพื่อแสดงความสมานสามัคคีแก่บรรพบุรุษ

สำหรับเครื่องเซ่นไหว้ ยอดนิยมในวันเช็งเม้ง มีดังนี้

  • ธูปและเทียน
  • เสื้อผ้า
  • กระดาษไหว้เจ้า
  • กระดาษไหว้วิญญาณ
  • ผลไม้ 5 หรือ 7 อย่าง
  • ส้ม
  • ซาลาเปา
  • ขนมสาลี่
  • น้ำชา
  • เหล้า
  • ไก่ผสมเครื่องใน
  • ปลาหมึกแห้ง
  • หอยแครง

Wilasinee

นักเขียนที่ Thaiger เชี่ยวชาญข่าวบันเทิงและบทความไลฟ์สไตล์ จบการศึกษาด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จึงรู้ลึกรู้จริงทั้งเรื่องวิชาการและเทรนด์กระแสโซเชียลที่สำคัญ มีประสบการณ์เขียนบทความออนไลน์กว่า 2 ปี งานอดิเรกชอบติดตามข่าวเศรษฐกิจ การลงทุน ติดต่อได้ที่ wilasinee@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button