ไลฟ์สไตล์

10 สัญลักษณ์ต้องห้ามจากทั่วโลก ที่ไม่ควรนำมาใช้ พร้อมความหมาย

จดด่วน! 10 สัญลักษณ์ต้องห้าม ที่ถูกแบนจากทั่วโลก เพราะมีความหมายที่สุดโต่งในอดีต สะท้อนความเกลียดชังและความรุนแรงที่ยากจะลบเลือน

พาไปรู้จัก 10 สัญลักษณ์ต้องห้าม ซึ่งมักถูกนำมาใช้แบบผิดความหมาย งานนี้ใครชอบหาซื้อของวินเทจหรือมองหางานศิลปะควรรู้ จะได้ไม่พลาดซื้อเสื้อผ้าหรือของตกแต่ง ที่มีความหมายรุนแรง อาทิ เสื้อลายสวัสดิกะของนาซี และสินค้าที่มีโลโก้ธงจักรวรรดิญี่ปุ่น เนื่องจากใครที่ใช้ของเหล่านี้ อาจถูกมองไม่ดีและโดนโจมตีได้ วันนี้เราเลยถือโอกาส พาทุกท่านไปเช็กลิสต์ สัญลักษณ์แบบไหนที่ถูกแบนและไม่ควรนำมาใช้แบบผิด ๆ มีอะไรบ้าง ไปดูพร้อมกันเลย

Advertisements

เช็กลิสต์ 10 สัญลักษณ์ต้องห้าม และธงที่ไม่ควรนำมาใช้

สัญลักษณ์ต้องห้าม เป็นหนึ่งในเรื่องใกล้ตัวที่หลายคนยังไม่รู้ สังเกตได้ในหลายสถานที่ ที่ยังนำสัญลักษณ์และธงที่มีความหมายรุนแรงในอดีต มาเป็นเครื่องประดับตกแต่ง โดยเราได้รวมสัญลักษณ์ที่ควรเลี่ยงมาให้ได้ศึกษากันทั้งหมด 10 รูปแบบ ดังต่อไปนี้

ธงสวัสดิกะ

1. สวัสดิกะ (Swastika)

สัญลักษณ์โบราณที่พรรคนาซีในเยอรมนีนำมาใช้ มีความเกี่ยวข้องกับความโหดร้ายที่กระทำโดยพวกนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง รวมไปถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวจำนวนกว่า 5 ล้านคน ทำให้มันถูกแบนในหลายประเทศ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความเกลียดชังและความรุนแรงทางเชื้อชาติ โดยหากใครที่ใช้หรือสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสัญลักษณ์นี้ อาจถูกโจมตีจากสังคมอย่างรุนแรงได้

ธงรูน SS
ภาพจาก wikipedia.org

2. อักษรรูน SS

Advertisements

สัญลักษณ์ที่ใช้โดยนาซี SS ซึ่งเป็นองค์กรกึ่งทหารที่รับผิดชอบต่อความโหดร้าย รับคำสั่งโดยตรงจากฮิตเลอร์ และมีบทบาทสำคัญต่อนาซีในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ก่อนที่มันถูกแบนในหลายประเทศ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความเกลียดชังและความรุนแรง

ธงจักรวรรดิญี่ปุ่น
ภาพจาก wikipedia.org

3. ธงจักรวรรดิญี่ปุ่น (Imperial Japanese)

ธงชาติญี่ปุ่นในสมัยจักรวรรดิ์ ซึ่งมีวงกลมสีแดงบนพื้นสีขาว มันถูกแบนในบางประเทศเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความโหดร้าย และความรุนแรงของญี่ปุ่นในช่วงสงคราม ซึ่งเกี่ยวของกับเหตุสังหารหมู่นานกิง และความรุนแรงทางเพศต่าง ๆ ที่พรากชีวิตผู้บริสุทธิ์ไปมากกว่า 300,000 คน

ธง isis
ภาพจาก wikipedia.org

4. ธง ISIS

ธงสีดำที่มีสัญลักษณ์ชาฮาดา ลัทธิอิสลาม ในภาษาอาหรับสีขาว มีความเกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้ก่อการร้าย ISIS (รัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย) และอุดมการณ์ความรุนแรงที่สุดโต่ง

ธง Ku Klux Klan
ภาพจาก wikipedia.org

5. ธงเดอะแคลน หรือคูคลักซ์แคลน (Ku Klux Klan)

ธงที่เกี่ยวข้องกับคูคลักซ์แคลน ถูกใช้โดยกลุ่มผู้นิยมผิวขาวที่มีประวัติความรุนแรงต่อชาวแอฟริกันอเมริกัน และชนกลุ่มน้อยอื่น ๆ โดยทั่วไปแล้วธงจะมีลักษณะคล้ายเครื่องหมายบวกสีขาวบนพื้นสีแดง

ธงสัมพันธมิตร
ภาพจาก wikipedia.org

6. ธงสัมพันธมิตร (Confederate)

ธงที่เกี่ยวข้องกับสมาพันธรัฐอเมริกา ในช่วงสงครามกลางเมืองอเมริกา มักใช้โดยกลุ่มผู้นิยมอำนาจนิยมผิวขาว และหลายคนมองว่าเป็นสัญลักษณ์ของการเหยียดเชื้อชาติและการกดขี่ ซึ่งรวมถึงการสะท้อนความสนับสนุนในการใช้แรงงานทาสคนผิวสี

ธง Anarchist A
ภาพจาก wikipedia.org

7. ผู้นิยมอนาธิปไตย A (Anarchist A)

สัญลักษณ์ที่ใช้โดยกลุ่มผู้นิยมอนาธิปไตย ซึ่งถูกแบนในบางประเทศ เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งทางการเมืองและลัทธิหัวรุนแรง

Black Sun ธง
ภาพจาก wikipedia.org

8. ดวงอาทิตย์สีดำ (Black Sun)

สัญลักษณ์ที่ถูกใช้โดยกลุ่มนีโอนาซี กลุ่มขวาจัด และกลุ่มซูพรีมาซิสต์ผิวขาว มีลักษณะเป็นรูปวงล้อดวงอาทิตย์ และมักถูกใช้เพื่อแสดงความเชื่อมโยงกับมรดกของชาวนอร์ดิกหรือชาวเยอรมัน มันถูกแบนในบางประเทศเนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับความเกลียดชังและความรุนแรง

Hammer and sickle ธง
ภาพจาก wikipedia.org

9. ค้อนเคียว (Hammer and sickle)

สัญลักษณ์ที่ใช้โดยพรรคคอมมิวนิสต์และรัฐสังคมนิยม มันเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของลัทธิคอมมิวนิสต์ ทำให้ถูกแบนในบางประเทศ เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการกดขี่และการละเมิดสิทธิมนุษยชน

Iron Cross นาซี
ภาพจาก wikipedia.org

10. กางเขนเหล็ก (Iron Cross)

กางเขนเหล็ก หรือกางเขนดำ เป็นเครื่องเกียรติยศทางทหาร ที่มีมาตั้งแต่สมัยราชอาณาจักรปรัสเซีย โดยในภายหลังนาซีได้นำมาใช้ ด้วยวิธีการซ้อนสัญลักษณ์สวัสดิกะของนาซีไว้ด้านใน และถูกนิยมชมชอบโดยพวกนีโอนาซีและพวกนิยมอำนาจนิยมผิวขาวอื่น ๆ กระทั่งกลายเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์แห่งความเกลียดชังจวบจนปัจจุบัน เพราะสะท้อนถึงความเกลียดชังและความรุนแรง

ความจริงแล้วในโลกนี้มีสัญลักษณ์และธงต้องห้ามอีกหลายอย่าง ดังนั้นก่อนที่เราจะสวมใส่เสื้อผ้าและซื้อของต่าง ๆ จึงควรตรวจสอบให้ดีว่า มีสัญลักษณ์แห่งความรุนแรงซ่อนอยู่หรือไม่ เพราะหากเราพลาด สิ่งเหล่านั้นอาจทำให้ผู้อื่นมองเราในทางไม่ดีได้ และอีกหนึ่งปัจจัยหลัก ก็เพื่อต่อต้านความรุนแรง และเคารพต่อผู้สูญเสียจากเหตุการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตนั่นเอง.

Eye Chanoknun

นักเขียนประจำ Thaiger จบจากคณะการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีประสบการณ์เขียนงานผ่านเว็บไซต์ด้านความงามและแฟชั่นชื่อดังของไทยมากกว่า 3 ปี ปัจจุบันชื่นชอบการเขียนข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ ซีรีส์ k-pop และไลฟ์สไตล์ เพื่อนำมาบอกเล่าผ่านตัวอักษร ด้วยมุมมองใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ ชวนให้ติดตาม ช่องทางติดต่อ eye@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button