ข่าว

แง๊นๆ ‘ทรงเชงคืออะไร’ เปิดความหมาย วัยรุ่นศัพท์รถซิ่ง

อ่านสาระความรู้วัฒนธรรมสายซิ่ง เผยที่มาความหมาย “ทรงเชง” หรือ “รถทรงเชง” คืออะไร พร้อมอธิบายรูปแบบลักษณะต่าง ๆ ของรถทรงเชง เข้าใจประวัติศาสตร์แห่งความเร็ว ที่มาพร้อมวัฒนธรรมการตกแต่งยานยนต์ร่วมสมัย

ขับรถยนต์อยู่บนถนนตามปกติ แต่จู่ ๆ ก็มีรถมอเตอร์ไซต์ดีไซน์เตียนต่ำ ล้อบาง มาพร้อมกับความเร็วเพรียวลม ขับปาดประกบซ้ายขวา ประชิดตัวรถท้าทายความอันตราย เตรียมทำความรู้จักวิถีสุดล้ำลึกกับความหมายของ ”รถเชง” หรือ “ทรงเชง” ที่วัยรุ่นสายซิ่งนิยมแต่งกันแยะ วันนี้ทีมงาน Thaiger จะขอพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับรูปแบบต่าง ๆ ที่ตรงตามนิยามคำว่า ทรงเชง กับสไตล์ของการแต่งรถในหมู่คนรุ่นใหม่หัวใจนักแข่งบนถนนหลวง ถ้าพร้อมแล้วก็เข้ามาอ่านความหมายของ รถทรงเชง กันได้เลยครับ

ที่มาและความหมาย “รถทรงเชง”

กุญแจสำคัญของนิยามคำว่า “รถทรงเชง” คือความเบาบาง สามารถแบ่งลักษณะออกเป็น 6 ความเบา ซึ่งมีคนบางกลุ่มเชื่อว่าหากแต่งรถมอเตอร์ไซค์ได้ครบตามหลักความเบาทั้ง 6 องค์ประกอบ อาจเพิ่มสมรรถนะเคลื่อนยนต์สู่ความเร็วระดับ God Speed (เร็วจนไปสวรรค์) ได้เลยทีเดียวครับ

หลัก 6 ความเบา “รถทรงเชง”

  1. เบาทั้งคัน ไม่ว่าจะเป็น การเจาะอาร์ม เจาะบังโคลน หรือชิ้นส่วนต่างๆ เพื่อให้รถมีน้ำหนักเบา ลู่ลมมากที่สุด หรือแม้กระทั่งเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ในรถเป็นอลูมิเนียม
  2. โหลดเตี้ย รถประเภทนี้นิยมโหลดเตี้ยทั้งหน้าและหลัง เรียกว่าจะให้เตี้ยที่สุดเท่าที่จะทำได้เลยก็ว่าได้
  3. ยางบาง ใส่ยางบาง หน้าสัมผัสยางน้อย ทั้งล้อหน้าและล้อหลัง
  4. อาร์มย่น คือการเปลี่ยนสวิงอาร์มให้สั้นลงจากของเดิม นิยมเปลี่ยนให้สั้นเพื่อให้ล้อเข้าไปใกล้เครื่องมากที่สุด เพื่อให้ออกตัวได้เร็ว และเวลาแข่งเครื่องจะส่งกำลังมาที่ล้อได้ไว ไม่สูญเสียกำลังเครื่องยนต์
  5. สเต็ปเครื่อง ในสนามจะเป็น ลูก 53 ชักเดิม
  6. ชุดสีครบ ดุมย่อ ท่อย่น และเบาะบางเฉียบ

ทรงเชงคืออะไร รถทรงเชง

“รถทรงเชง” เหมาะกับใคร?

แม้จะมีวิถีการขับขี่และดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์โดดเด่นไม่ซ้ำใคร ทว่าการแต่งรถทรงเชงนั้นใช่ว่าใคร ๆ ก็ขับได้ เพราะทรงเชงเป็นการแต่งรถมอเตอร์ไซค์ที่ไม่เหมาะกับการใช้งานในชีวิตประจำวัน ด้วยความเบาที่ฉีกทุกกฎฟิสิกส์และการขับขี่อย่างปลอดภัย เลยอาจทำให้ผู้ขับขี่และผู้ใช้ถนนคนอื่น ๆ เป็นอันตรายได้ จากลักษณะที่เตี้ยมาก เบาลู่ลม เบาะแข็ง ๆ ทำให้ส่วนใหญ่นิยมใช้งานในหมู่นักบิด ในสนามแข่งขัน (บนถนนหลวง) เท่านั้น อีกทั้งวิถีรถทรงเชงยังมีแนวความคิดที่ล้ำลึก เคารพบูชาการแข่งขัน ความเร็ว ความท้าทาย (แม้จะอันตราย) ที่พวกเขาเชื่อว่าคือเกียรติภูมิอันสูงส่งและควรค่าต่อการยกย่องนั่นเองครับ

อ้างอิง : 1

Thosapol

นักเขียนบทความที่ Thaiger จบการศึกษาจากคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เชี่ยวชาญเรื่องบทความท่องเที่ยว บันเทิง ไลฟ์สไตล์ ผ่านการค้นหาข้อมูลโดยละเอียดพร้อมด้วยประสบการณ์ตรงของตัวเอง งานอดิเรกมีความสนใจในกระแสข่าวรอบตัวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านสุขภาพ สังคม การเมือง และที่สำคัญคือเป็นทาสแมวร้อยเปอร์เซ็นต์ครับ ช่องทางติดต่อ thospol@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button