ข่าว

เผยภาพจำลอง ถ้า “ซีเซียม-137” กระจายพันกิโลเมตร คลุมไทยเกือบทั้งประเทศ

สืบเนื่องจากข่าวกรณีวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 (Cesium-137) สูญหายไปจากโรงไฟฟ้าในจังหวัดปราจีนบุรี และล่าสุดก็ถูกค้นพบในโรงหลอมแห่งหนึ่ง ทางผู้ว่าราชการจังหวัดปราจีนบุรีได้ให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนว่าวัสดุกัมตรังสีซีเซียม-137 นั้นถูกค้นพบในขณะที่โดนหลอมแล้ว กลายเป็นฝุ่นแดงถูกส่งต่อไปยังโรงงานจังหวัดระยอง

เหตุการณ์ดังกล่าวก็ได้มีผู้เชี่ยวชาญออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับความอันตรายของซีเซียม-137 ว่าหากถูกหลอมเผาไหม้ อาจจะทำให้ไอปลิวไปไกลกว่า 1,000 กิโลเมตร

นพ.สมรส พงศ์ละไม แพทย์ประจำศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู โรงพยาบาลกรุงเทพพัทยา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊ก Somros MD Phonglamai ระบุว่า “ถ้า ซีเซียม 137 ถูกหลอมเผาไหม้และกลายเป็นไอ สามารถออกไปได้เป็นหลักร้อยถึงพันกิโลเมตรขึ้นกับลม (เหตุการณ์ที่ Chernobyl พบว่า Cesium-137 ปลิวไปถึงสวีเดน 1,000 กิโลเมตร) และทำร้ายสิ่งมีชีวิตได้ทั้งการสัมผัสโดยตรง การกิน และการหายใจ

Cesium-137 จะสะสมในดิน น้ำ อาหาร ทำให้เกิดผลเสียต่อสัตว์และมนุษย์ ปลา นก ไก่ หมู หมา แมว วัว ฯลฯ อนุภาคบีต้าและรังสีแกมมา จะทำลาย DNA, ทำให้เกิด mutation ถ้าไม่ตายก็เกิดมะเร็งต่อ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไธรอยด์

Cesium 137 มีค่าครึ่งชีวิต 30 ปี ดังนั้นจะใช้เวลาในธรรมาชาติไม่ต่ำกว่า 100 ปีจึงจะสลายหมด คนที่จะได้รับผลกระทบน่าจะหลายแสนและเป็น 100 ปี จะมีคนเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวและไธรอยด์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนในพื้นที่เสี่ยง

คนที่คิดว่าเสี่ยงต่อการสัมผัส Cesium-137 ควรเฝ้าระวังเร่งด่วน เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ผิวหนังไหม้โดยไม่ทราบสาเหตุ

รัฐควรเก็บบันทึกข้อมูลอย่างโปร่งใส มีโอกาสที่คนจะสัมผัสปริมาณมาก ยิ่งคนที่อยู่ใกล้ในระยะ 5-10 เมตร น่าจะอันตรายมาก (ไม่รู้ว่าระยะจริงที่ปลอดภัยเท่าไหร่ เพราะขึ้นกับความเข้มข้นที่เหลืออยู่และ shield ที่ป้องกัน)

รอการประกาศเร่งด่วนอย่างเป็นทางการและโปร่งใสจากหน่วยงานของรัฐอีกทีพรุ่งนี้นะครับ

หมายเหตุ: ข้อมูลเบื้องต้นที่ค้นเอง และไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านปรมาณูนะครับ”

ซีเซียม-137 ถูกหลอม อันตราย
ภาพจาก : Somros MD Phonglamai

ซีเซียม 137 ปลิวกระจายไปได้ไกลแค่ไหน ?

เพจดังอย่าง ตั้งฮกกี่ บะหมี่กวางตุ้ง ได้ออกมาเปิดดเผยภาพจำลองไอจากการหลอมเผาไหม้สารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ที่อ้างอิง ระยะครอบคลุมในรัศมี 1,000 กิโลเมตร โดยภาพจำลองดังกล่าวยังไม่ได้หักลบกับทิศทางลม ผลออกมาว่าไอของซีเซียม-137 จะลอยไปได้ไกลตั้งแต่ภาคเหนือในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงบริเวณพื้นที่ภาคใต้ช่วงจังหวัดกระบี่ รวมไปถึงประเทศเพื่อนบ้านอย่างประเทศลาว ประเทศกัมพูชา และตอนใต้ของประเทศเมียนมาร์อีกด้วย

(หมายเหตุจากกองบรรณาธิการ : ฝุ่นละอองของรัศมีจะพัดไปทิศทางไหนและไกลแค่ไหนขึ้นอยู่กับปริมาณสารและทิศทางลมเป็นปัจจัยสำคัญ ไม่จำเป็นต้องกระจายในลักษะแผ่ออกแบบวงน้ำเสมอไป

***ต้องรอการยืนยันจากหน่วยงานที่รับผิดชออีกครั้ง)

อย่างไรก็ดี จากแถลงล่าสุดของผู้ว่าราชการจังหวัดฯ เมื่อช่วงเที่ยงที่ผ่านมายืนยันว่า ฝุ่นแดงซีเซียม 137 หลอมแบบระบบปิด โรงงานจะเก็บฝุ่นที่หลอมได้ทั้งหมดนำไปขาย ไม่มีการปล่อยสู่สิ่งแวดล้อมภายนอก และตอนนี้ จากาการลงพื้นที่ตรวจโรงงาน ยังไม่ตรวจไม่พบค่าฝุ่นสารกัมมันตรังสีเกินค่ามาตรฐาน

ด้าน ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล แสดงความคิดเห็นผ่านทวิตเตอร์ @manopsi ถึงทิศทางลมพัดในตอนนี้ว่าไปทางกัมพูชาและภาคอีสาน แต่ถ้าเหตุการณ์ ซีเซียม 137 ถูกหลอมช่วงต้นเดือนมีนาคม ที่ลมสงบ อาจจะผสมอกับฝุ่น PM 2.5 ละวนเวียนอยู่ในภาคตะวันออก ภาคกลางและกัมพูชา

“ถ้าดูทิศทางลมพัดจากปราจีนตอนนี้จะไปทางกัมพูชาและภาคอีสาน แต่เหตุการณ์นี้ถ้าเกิดตั้งแต่ต้นเดือนมีนา ช่วงนั้นลมสงบ ละออง Cesium-137 จากเตาหลอมอาจจะผสมกับ PM2.5 วนเวียนในเขตภาคตะวันออก ภาคกลาง และกัมพูชา ไม่ไปไหน”

นอกจากนี้ ศ.นพ.มานพ ยังกล่าวถึงอันตรายและผลกระทบที่เกิดขึ้นหาก ซีเซียม 137 ถูกหลอมไว้ว่า จะมีการปนเปื้อนจำนวนมาก

“1. มีการปนเปื้อนในละอองฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาฟุ้งกระจายในบรรยากาศเป็นวงกว้าง

2. มีการปนเปื้อนในเตาหลอม สายพาน ภาชนะรับโลหะหลอม ตลอดระยะสายการผลิต รวมถึงดิน น้ำ รอบโรงงาน

3. Cesium ปนอยู่ในเนื้อเหล็กที่แปรรูปเป็นเหล็กเส้น เหล็กแผ่น อาจนำไปหลอมต่อเพื่อผลิตในการก่อสร้าง ตึกและสิ่งปลูกสร้างนั้นจะปลดปล่อยรังสีออกมาต่อเนื่อง ใครอยู่ใกล้หรืออาศัยอยู่ในตึกจะรับรังสีเต็ม ๆ

4. การปนเปื้อนจะกระจายออกเป็นวงกว้างตามการนำเหล็กหลอมนั้นไปใช้

5. การกำจัดโลหะหลอมที่ปนเปื้อนจะทำได้ยากมากขึ้นตามขนาดและความแพร่หลายของโลหะปนเปื้อนที่ถูกใช้ เช่นตึกที่ใช้โลหะปนเปื้อนทำเหล็กเส้นอาจต้องปิดทั้งอาคารถาวร เหล็กที่อยู่ในโกดังต้องจัดเก็บในที่ปลอดภัยปิดสนิทรอบด้วยผนังตะกั่ว การฝังใต้ดินทำไม่ได้ เสี่ยงต่อน้ำบาดาล/ผิวดินปนเปื้อน”

Thaiger

The Thaiger นำเสนอข่าวสารล่าสุดและอัปเดตจากทั่วประเทศไทย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button