ข่าว

รู้จัก “ซีเซียม 137” คืออะไร สารกัมมันตรังสีอันตราย สัมผัสเดียวถึงตายได้

สืบเนื่องจากข่าววัสดุกัมนตรังสี Cesium-137 หรือ ซีเซียม-137 (Cs-137) หายไปจากโรงไฟฟ้าที่จังหวัดปราจีนบุรี ซึ่งทางด้านบริษัทผู้ครอบครองได้มีการตั้งรางวัลนำจับสูงถึง 50,000 บาท สำหรับผู้ชี้เบาะแสจนนำไปสู่การติดตามวัสดุกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 กลับคืนมาได้

หลายคนอาจสงสัยว่าทำไมวัสดุกัมนตรังสี Cesium-137 ที่หายไปถึงเป็นข่าวเตือนภัยครั้งใหญ่ของจังหวัดปราจีนบุรี วันนี้เดอะไทยเกอร์ไลฟ์สไตล์ขอถือโอกาสพาทุกคนไปทำความรู้จักกับสารซีเซียม-137 หนึ่งในสารกัมมันตรังสีที่เป็นอันตรายต่อชีวิตมนุษย์ชนิดนี้กันให้มากขึ้น

สารกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 คืออะไร

Cesium-137 หรือ ซีเซียม-137 คือ สารไอโซโทปของซีเซียมซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสี ที่มีเลขอะตอมเท่ากับ 55 มีครึ่งชีวิต 30 ปี สลายโดยปล่อยรังสีบีตา และรังสีแกมมา เป็นหนึ่งในผลผลิตการแบ่งแยกนิวเครียส เป็นโลหะอ่อนมาก สีทองเงิน มีจุดหลอมเหลวอยู่ที่ 28.5 องศาเซลเซียส เป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง แต่มักจะจับตัวกับคลอไรด์กลายเป็นผงผลึก

Cesium-137

อันตรายของ ซีเซียม-137 ต่อมนุษย์

ซีเซียม-137 ยังเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งโอกาสที่จะเป็นมะเร็งต้องได้รับสารปนเปื้อน เมื่อได้รับเข้าไปจะกระจายไปทั่วร่างกาย ส่วนใหญ่จะสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อ ตับ และไขกระดูก โดยผู้ที่ได้รับการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีชนิดนี้จะได้รับผลกระทบ 2 กลุ่มอาการ ได้แก่

1. กลุ่มอาการเฉียบพลันจากรังสี (ARS)

สำหรับผู้ที่ได้รับรังสีแบบทั่วร่างกายในขนาดตั้งแต่ 0.7 เกรย์ขึ้นไป โดยเป็นรังสีที่มีแหล่งที่มาจากภายนอกและเป็นชนิดทะลุทะลวงถึงอวัยวะภายใน จะส่งผลต่อร่างกายตามระบบต่าง ๆ ดังนี้

  • อาการทางระบบเลือด (อาการกดไขกระดูก)

มีอาการตั้งแต่คลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร และอาจเสียชีวิตเนื่องจากติดเชื้อในกระแสเลือด แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากภาวะไขกระดูกโดนกดได้ภายใน 2-3 สัปดาห์ หรืออาจนานถึง 2 ปี ทว่าผู้ป่วยที่ได้รับรังสีราวครึ่งหนึ่งมักจะเสียชีวิตในระยะเวลาที่ 60 วัน

  • อาการระบบทางเดินอาหาร

มีอาการคลื่นไส้อาเจียน เบื้ออาหาร ท้องเสีย เซลล์ต้นกำเนิดในไขกระดูกและเยื่อบุทางเดินอาหารถูกทำลาย ทำให้อาจมีไข้ อ่อนเพลีย ขาดน้ำ และอาจเสียจากการติดเชื้อในช่วงเวลา 2 สัปดาห์นับตั้งแต่วันที่ได้รับรังสี

  • อาการทางระบบหัวใจหลอดเลือด หรือ ระบบประสาท

ในกลุ่มอาการนี้มักเกิดแก่คนที่ได้รับสารกัมมันตรังสีซีเซียม-137 มากกว่า 50 เกรย์ โดยช่วงแรกผู้ป่วยจะมีอาการกระวนกระวายไม่รู้ตัว คลื่นไส้และถ่ายเหลวอย่างหนัก รวมถึงมีอาการผิวไหม้ตามมา หลังจากนั้นอาการอาจกลับมาเป็นปกติแต่จะเริ่มถ่ายเหลวอีกครั้ง และอาจมีอาการชัก โคม่า ซึ่งจะทำให้เสียชีวิตภายใน 3 วัน

ซีเซียม-137

2. กลุ่มอาการด้านผิวหนังจากรังสี

สำหรับกลุ่มอาการด้านผิวหนังที่เกิดจากรังสี มักมีสาเหตุมาจากการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีที่ผิวหนังหรือเสื้อผ้า โดยบริเวณที่โดนรังสีจะเกิดการอักเสบแดง อาจทำให้ขนในบริเวณนั้น ๆ หลุดร่วงได้ โดยอาการเหล่านี้อาจจะดีขึ้นในภายหลังหรือแย่ลงจนกระทั่งไปทำลายผิวหนังในส่วนนั้นให้เสียหายถาวร

Cesium-137 คืออะไร

จะเห็นได้ว่าสารกัมมันตรังสีอย่างซีเซียม-137 นั้นเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะมนุษย์อย่างมาก อีกทั้งผู้เชี่ยวชาญยังระบุว่าด้วยเหตุที่สารกัมมันตรังสีชนิดนี้ไม่มีกลิ่นและไม่มีสี จึงอาจทำอันตรายแก่ผู้ที่เข้าใกล้โดยไม่รู้ตัว และเมื่อได้รับสารกัมมันตรังสีในจำนวนมากก็อาจถึงแก่ชีวิตได้

ดังนั้นแล้วหากใครได้พบหรือได้เห็นวัสดุกัมมันตรังสีซีเซียม-137 ก็ไม่ควรเข้าไปใกล้ และหากใครทำงานในสถานที่ที่มีรังสีปนเปื้อน ก็ต้องมีมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากรังสีทุกขณะ เพราะสารกัมมันตรังสีชนิดนี้เป็นอันตรายเกินกว่าที่เราจะจินตนาการได้

ขอบคุณข้อมูลจาก : 1 2

เผยแพร่ครั้งแรกบนเว็บไซต์ Thaiger วันที่ 4 มีนาคม 2566

Mothana

นักเขียนข่าวที่ Thaiger การศึกษาทางด้านภาษา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มีความเชี่ยวชาญด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จึงรับหน้าที่เขียนบทความไลฟ์สไตล์บันเทิง เศรษฐกิจ อยากเป็นสื่อกลางคอยขุดคุ้ยประเด็นตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงใหญ่โตมาเขียนให้ทุกคนได้อ่าน เพราะมีความเชื่อว่าสื่อที่ดีย่อมเป็นหนทางนำผู้อ่านไปสู่งานเขียนที่ดีได้ ติดต่อได้ทาง tangmo@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button