ข่าวไลฟ์สไตล์

ฮือฮา พบซากปลาดึกดำบรรพ์ ฉายาไดโนเสาร์มีชีวิต จ.มุกดาหาร อายุ 393 ล้านปี

ครั้งแรกในประเทศไทย ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ปลาซีลาแคนธ์ ฉายาปลาไดโนเสาร์ที่มีชีวิต อายุประมาณ ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร อายุกว่า 393-382 ล้านปี ข้อจำกัดของกระดูกที่พบชิ้นเดียวทำระบุรายละเอียดไม่ได้มากกว่านี้

เป็นอีกหนึ่งข่าวที่ปักหมุดพัฒนาการด้านข้อมูลความากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมวดหินภูกระดึงของไทย รวถึงการกระจายของสปีชีส์และระบบนิเวศในพื้นที่ดังกล่าวไม่น้อย

สำหรับรายงานเปิดเผย การค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของ “ปลาซีลาแคนธ์” ปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน โดยการค้นพบรั้งนี้เป็นการทำงาร่วมกันของนักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ โดยศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

ที่จากเนื้อหาในรายะละเอียดเกี่ยวกับการค้นพบได้ระบุไว้ว่า ข่าวด่วน! การค้นซากดึกดำบรรพ์ปลาซีลาแคนธ์ครั้งแรกในประเทศไทย

ซีลาแคนธ์ (Coelacanth) เป็นกลุ่มปลาดึกดำบรรพ์ที่ดำรงชีวิตมาตั้งแต่มหายุคพาลีโอโซอิก ในช่วงตอนกลางของยุคดีโวเนียน หรือประมาณ 393-382 ล้านปีที่แล้วและยังคงหลงเหลือมาถึงยุคปัจจุบัน ปลากลุ่มนี้มีลักษณะเด่นคือครีบที่มีลักษณะเป็นพู่เนื้อขนาดใหญ่ 4 ครีบ

ล่าสุด มีรายงานการค้นพบชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ของปลาซีลาแคนธ์ที่บ้านคำพอก อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร ในหมวดหินภูกระดึงตอนบน อายุครีเทเชียสตอนต้น เป็นกระดูกด้านหลังขากรรไกรล่าง รหัสตัวอย่าง PRC 160 นักวิจัยจากศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยาร่วมกับคณะวิจัยชาวต่างชาติ สามารถระบุได้ว่าซากดึกดำบรรพ์ที่พบเป็นปลาซีลาแคนธ์ในกลุ่มมอว์โซนิด แต่ด้วยข้อจำกัดของกระดูกที่พบเพียงชิ้นเดียวจึงไม่สามารถระบุรายละเอียดได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม นี่คือหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ของซีลาแคนธ์ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซีลาแคนธ์กลุ่มมอว์โซนิดเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดในช่วงตอนต้นของมหายุคมีโซโซอิก ในยุคไทรแอสซิกประมาณ 251-201 ล้านปีที่แล้ว ต่อมาเมื่อเปลี่ยนเข้าสู่ในยุคจูแรสซิกตอนปลายประมาณ 163-145 ล้านปีก่อน พบว่าปลากลุ่มนี้เปลี่ยนแหล่งอาศัยไปอยู่ในทะเล และมีการเปลี่ยนแหล่งอาศัยกลับมาอยู่ในแหล่งน้ำจืดเมื่อเข้าสู่ยุคครีเทเชียสราว 145-66 ล้านปีที่แล้ว

ซีลาแคนธ์ของไทยตัวนี้เคยแหวกว่ายอยู่ในแม่น้ำโบราณร่วมกับฉลามน้ำจืดกลุ่มไฮโบดอนต์ (Hybodonts) ปลาน้ำจืดไทยอิกธิส (Thaiichthys buddhabutrensis) เต่ายักษ์บาซิโลคีลิส (Basilochelys macrobios) พญาจระเข้ชาละวัน (Chalawan thailandicus)

นอกจากนี้ยังพบฟอสซิลของไดโนเสาร์กินเนื้อกลุ่มเมเทรียแคนโธซอริดอีกด้วย การค้นพบครั้งนี้จึงเป็นการเพิ่มเติมข้อมูลความหลากหลายทางชีวภาพของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลังในหมดหินภูกระดึงของไทย และเพิ่มข้อมูด้านการกระจายทางบรรพชีวภูมิศาสตร์ของปลาโบราณกลุ่มนี้มากยิ่งขึ้นครับ

ปลาซีลาแคนธ์ รูป
ภาพ Facebook @ศูนย์วิจัยและการศึกษาบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

หมวดหินภูกระดึง คืออะไร ?

สำหรับใครที่เพิ่งอ่านข่าวการค้นพบซากปลาซีลาแคนธ์ จะต้องมีหลายคนไม่น้อยที่สงสัยกับศัพท์แสงทางวิทยาศาสตร์ที่จัดหมวดหมู่ของเจ้าปลาอายุกว่าสามร้อยล้านปีนี้อยู่ในชื่อเดียวกับหัวข้อคำถาม ซึ่งวันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยดังกล่าวให้กันแบบฟรีๆ

โดยอ้างอิงข้อมูลจากเฟซบุ๊กเพจ @Fossil World ระบุ หมวดหินภูกระดึง (Phu Kradung Formation) เป็นหมวดหินล่างสุดของกลุ่มหินโคราช (Khorat Group) มีชั้นหินต้นแบบ (Type Section) อยู่ที่ภูกระดึง จังหวัดเลย ตามเส้นทางเดินเท้าขึ้นภูกระดึงจากเชิงเขาถึงซำแฮก พบกระจายตัวตามขอบแอ่งโคราช และตามแนวเทือกเขาภูพาน

เป็นหมวดหินซึ่งประกอบไปด้วยหินตะกอน จำพวกหินทรายแป้งและหินทรายสีม่วงแดงเป็นหลัก มีสภาพแวดล้อมการสะสมตัวแบบทางน้ำโค้งตวัด (Meandering river) มีที่ราบน้ำท่วมถึง และหนองบึงกระจายอยู่ทั่วไปในภูมิอากาศที่ค่อนข้างกึ่งแห้งแล้ง

สามารถพบซากดึกดำบรรพ์สัตว์ เช่น ไดโนเสาร์ เต่า ปลา จระเข้ หอยน้ำจืด ส่วนใหญ่บ่งบอกว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลาย แต่หลักฐานซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา (ละอองเรณูของพืช) บ่งบอกว่ามีอายุอยู่ในช่วงยุคครีเทเชียสตอนต้น

ดังนั้น หมวดหินนี้น่าจะมีอายุอยู่ในช่วงยุคจูราสสิกตอนปลายถึงครีเทเชียสตอนต้น

.
รายชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังที่พบในหมวดหินภูกระดึง

  1. Chalawan thailandicus (ชื่อเดิม Sunosuchus thailandicus) (จระเข้)
  2. Phu Noi Sinraptorid (ไดโนเสาร์)
  3. Kham Phok Sinraptorid (ไดโนเสาร์)
  4. Hipsilophodontid (ไดโนเสาร์)
  5. Mamenchisaurid (ไดโนเสาร์)
  6. Rhamphorhynchid (เทอโรซอร์)
  7. Stegosaurid (Siamodracon altispinus : ชื่อไม่เป็นทางการ) (ไดโนเสาร์)
  8. (Small Ornithopod can be defined as a new species (heterodontosaurids, hypsilophodontids, dryosaurids, etc.) (ไดโนเสาร์)
  9. Cf. Theriosuchus sp. (จระเข้)
  10. Indosinosuchus potamosiamensis (จระเข้)
  11. Jiaodontus sp. (ปลากระดูกอ่อน)
  12. Heteroptychodus cf. H. kokutensis (ปลากระดูกอ่อน)
  13. Lonchidion sp. (ปลากระดูกอ่อน)
  14. Basilochelys macrobios (เต่า)
  15. Hybodus sp. (ปลากระดูกอ่อน)
  16. Acrodus kalasinensis (ปลากระดูกอ่อน)
  17. Cf. Ptycholepis sp. (ปลากระดูกแข็ง)
  18. Phunoichelys thirakhupti (เต่า)
  19. Kalasinemys prasarttongosothi (เต่า)
  20. Khoratichthys gibbus (ปลากระดูกแข็ง)
  21. Thaiichthys buddhabutrensis (ปลากระดูกแข็ง)
  22. Temnospondyl (สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ)
  23. Ferganoceratodus martini (ปลากระดูกแข็ง)
  24. Isanichthys lertboosi (ปลากระดูกแข็ง)
  25. Isanichthys palutris (ปลากระดูกแข็ง)

 

Pachara

นักเขียนประจำที่ Thaiger จบการศึกษาด้านศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เคยผ่านประสบการณ์ผู้สื่อข่าวกีฬา เริ่มเขียนบทความกับ Thaiger ตั้งแต่ปี 2021 วิ่งกับการอ่านหนังสือ คือ กิจกรรมที่สนใจเป็นพิเศษ ช่องทางติดต่อ pachara@thethaiger.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button