ข่าวต่างประเทศข่าวธุรกิจ

สหรัฐฯ เปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โครงการริเริ่มระหว่าง USAID และ NASA เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ข่าวประชาสัมพันธ์

ชลบุรี, 24 มกราคม 2023: เอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจําประเทศไทย โรเบิร์ต เอฟ. โกเดค พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์ เจอร์เมน ผู้อํานวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือนาซา ร่วมเป็นประธานเปิดตัวโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SERVIR-Southeast Asia) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างองค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) และองค์การนาซา เพื่อช่วยเหลือประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการปรับตัวและรับมือกับปัญหาสภาพภูมิอากาศข้ามพรมแดนและระดับภูมิภาค รวมถึงลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

โครงการใหม่นี้จะขยายขอบเขตด้านภูมิศาสตร์ของโครงการเซอร์เวียร์และส่งเสริมการมีส่วนร่วมกับองค์กรระดับภูมิภาคเพื่อเพิ่มความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดําเนินงานเพื่อให้มันใจว่าชุมชนและธุรกิจในไทยและอาเซียน ไม่เพียงแต่สามารถปรับตัวเข้ากับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงคุณภาพอากาศ แต่สามารถเติบโตท่ามกลางความท้าทายเหล่านี้” เอกอัครราชทูตโกเดค กล่าว

Advertisements

โครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็ นหนึ่งในห้าศูนย์ระดับโลกภายใต้โครงการเซอร์เวียร์โดยต่อยอดจากความสําเร็จของโครงการเซอร์เวียร์แม่โขง (SERVIR-Mekong) ซึ่งใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีดาวเทียมสาธารณะเพื่อสนับสนุนองค์การระดับภูมิภาค รัฐบาล และชุมชนในการจัดการปัญหาที่เกี่ยวข้องกับสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการเตรียมพร้อมและตอบสนองต่อภัยพิบัติ ความมันคงทางอาหาร การจัดการทรัพยากรน้ำและที่ดิน รวมไปถึงปัญหามลพิษทางอากาศ ตั้งแต่ปี 2557-2565 โครงการเซอร์เวียร์แม่โขงได้พัฒนาเครื่องมือที่ใช้ช่วยวิเคราะห์ตัดสินใจจํานวน 21 รายการ มีผู้ผ่านการอบรบมากกว่า 1,500 คน จัดสรรเงินทุนเพื่อใช้สําหรับพัฒนาโครงการเพิ่มเติม 500,000 เหรียญสหรัฐ ตลอดจนส่งผลให้มีการใช้นโยบาย 4 ประการเพื่อเตรียมความ

พร้อมให้แก่ชุมชนที่อาศัยบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงกว่า 250 ล้านคน ในรับมือกับผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดียิ่งขึ้น

งานเปิดตัวโครงการครั้งนี้จัดขึ้นที่อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศจังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์อวกาศแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นส่วนหนึ่งของสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (GISTDA) ทั้งนี้ เอกอัครราชทูตโกเดค พร้อมด้วย ดร.คาเรน เอ็ม. เซนต์ เจอร์เมน ผู้อํานวยการภาควิทยาศาสตร์พื้นพิภพ องค์การนาซา และนายฮานส์ กุทมัน ผู้อํานวยการบริหาร ADPC ร่วมเยี่ยมชมนิทรรศการเซอร์เวียร์แม่โขง และพบปะกับคณะนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์ (สะเต็ม) รวมถึงการใช้ข้อมูลเทคโนโลยีดาวเทียมแก่เยาวชนและกลุ่มผู้ด้อยโอกาส

ADPC ร่วมมือกับองค์การระดับภูมิภาคที่สําคัญ เช่น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) และคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขง เพื่อดําเนินโครงการเซอร์เวียร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะช่วยต่อยอดความมุ่งมันของรัฐบาลสหรัฐฯ ในการเสริมสร้างภูมิภาคอินโดแปซิฟิกให้เชื่อมโยง ยืดหยุ่น และยั่งยืน

เกี่ยวกับ USAID

องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (United States Agency for International Development – USAID) เป็นองค์กรด้านการพัฒนาระหว่างประเทศที่ขับเคลื่อนให้เกิดผลการพัฒนาผลงานของ USAID เป็นการต่อยอดความสนับสนุนและเอื้ออาทรจากรัฐบาลสหรัฐฯ และชาวอเมริกันที่มีต่อชุมชนในการส่งเสริมให้ชุมชนสามารถปรับตัวและพึ่งพาตนได้อย่างยังยืน สําหรับข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.usaid.gov/asia-regional หรือ @USAIDAsia บน Facebook และ Twitter

Advertisements

เกี่ยวกับ NASA

องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ สหรัฐฯ หรือองค์การนาซา เป็นหน่วยงานส่วนราชการที่มีหน้าที่รับผิดชอบในงานสํารวจโครงการอวกาศเพื่อบุกเบิกอนาคตแห่งการสํารวจโลก การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงสํารวจสภาพอากาศ ดวงอาทิตย์ ระบบสุริยะและขยายความรู้เพื่อประโยชน์ของมนุษยชาติ องค์การนาซามีบุคลากรหลากหลายระดับ ตั้งแต่ระดับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ดําเนินงานตามสัญญาจ้าง สถาบันการศึกษา และภาคีระหว่างประเทศและพันธมิตรเชิงพาณิชย์ นาซาพัฒนาและมอบทุนแก่เทคโนโลยีอวกาศและแบ่งปันข้อมูลเพื่อทําให้ชีวิตของผู้คนทั่วโลกดีขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่ nasa.gov

ไทยเกอร์นิวส์

นำเสนออัปเดตข่าวสารบ้านเมือง ข่าวล่าสุด มั่นใจว่าคุณจะทันทุกสถานการณ์ ไม่ว่า สังคมเศรษฐกิจ การเงิน การเมือง เรื่องร้อนออนไลน์ ดราม่าดารา อัปเดตบันเทิง ซีรีส์ หนัง เพลง ท่องเที่ยว กีฬา ตรวจหวย เลขเด็ด พร้อมเสิรฟ์ทุกเรื่องยาก ๆ ย่อยให้คุณเข้าใจง่าย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ใส่ความเห็น

Back to top button